การศึกษาลีลาการเรียนรู้ภาษาญี่ปุ่นของนักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่นและการสื่อสาร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

Main Article Content

ภาสพงศ์ ผิวพอใช้

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลีลาการเรียนรู้ภาษาญี่ปุ่นและเปรียบเทียบลีลาการเรียนรู้ภาษาญี่ปุ่นของนักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่นและการสื่อสารในระหว่างชั้นปี คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสอบถามลีลาการเรียนรู้ภาษาญี่ปุ่น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน


            ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่นและการสื่อสาร  คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มีลีลาการเรียนรู้ภาษาญี่ปุ่นแบ่งได้ตามลำดับดังนี้ 1) ลีลาการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Collaborative) 2) ลีลาการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Participant)  3) ลีลาการเรียนรู้แบบพึ่งพา (Dependent) 4) ลีลาการเรียนรู้แบบอิสระ (Independent) 5) ลีลาการเรียนรู้แบบแข่งขัน (Competitive) 6) ลีลาการเรียนรู้แบบหลีกเลี่ยง (Avoidant) และผลการเปรียบเทียบลีลาการเรียนรู้ภาษาญี่ปุ่นของนักศึกษาในแต่ละชั้นปีพบว่า นักศึกษาแต่ละชั้นปีมีลีลาการเรียนรู้ที่เหมือนกันในบางลีลาการเรียนรู้และแตกต่างกันในบางลีลาการเรียนรู้

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

ทิศนา แขมมณี. (2551). ลีลาการเรียน – ลีลาการสอน. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
. (2558). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดการกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 19. กรุงเทพมหานคร : ด่านสุทธาการพิมพ์.
ธิติสรณ์ แสงอุไร. (2556). ความพึงพอใจของบัณฑิตต่อการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นด้านการฟัง และการพูดกับ
ความสอดคล้องกับความต้องการของบริษัทญี่ปุ่นในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาต่างประเทศ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธีรัช ลอมศรีและ TAKATSUKA Naoko. (2557). การส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นโดยใช้อักษรเบรลล์สำหรับนักเรียนผู้พิการทางสายตา : กรณีศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษาเขตภาคกลาง และภาคเหนือ. วารสารเจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ ฉบับที่11.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2538). วิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พันธุ์ศักดิ์ พลสารัมย์. การปฏิรูปการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษา : การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ในระดับ
ปริญญาตรี. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ยุพกา ฟูกุซิม่า กนกพร นุ่มทอง และสร้อยสุดา ณ ระนอง. (2550). ความนิยมในการเรียนภาษาญี่ปุ่นและภาษาจีน
ของนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : แรงจูงใจต่างกันอย่างไร. กรุงเทพมหานคร :
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2553). พจนานุกรมศัพท์ภาษาศาสตร์ (ภาษาศาสตร์ประยุกต์). กรุงเทพมหานคร :
ราชบัณฑิตยสถาน.
วนิดา สุนทร. (2557). การศึกษาความสัมพันธ์ของทัศนคติต่อการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นต่อผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนตามหลักสูตรวิชาภาษาญี่ปุ่นของนิสิตสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น มหาวิทยาลัยนเรศวร.
วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่นศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สมพร โกมารทัต. (2555). รูปแบบการจัดการโปรแกรมภาษาญี่ปุ่นระดับอุดมศึกษาเพื่อธุรกิจท่องเที่ยว. ดุษฎีนิพนธ์ สาขาการจัดการศึกษา วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
. (2548). การเปรียบเทียบวัฒนธรรมการสอนภาษาญี่ปุ่นในฐานะภาษาที่สองระหว่างมหาวิทยาลัยใน
ประเทศไทยกับมหาวิทยาลัยในประเทศญี่ปุ่น. รายงานการวิจัย. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

สิตานันท์ ศรีวรรธนะ. (2556). การศึกษาลีลาการเรียนรู้ของนักศึกษาที่เรียนภาษาไทยในฐานะ ภาษาต่างประเทศ มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์. สารนิพนธ์ ศศ.ม. (การสอนภาษาไทยในฐานะ
ภาษาต่างประเทศ). กรุงเทพมหานคร : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนรินทรวิโรฒ.
อัญชลี ทองเอม และมธุรส จงชัยกิจ. (2555). การพัฒนาฐานความรู้ภาษาไทยระดับอุดมศึกษา. วารสารสุทธิ ปริทัศน์. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
Grasha, A.; & Reichman, S. (1975). Workshop handout of Learning Style. Ohio : Faculty of Research Center, University of Cincinnati.
Grasha, Anthony F. (1995). Practical Application of Psychology. 4th ed. New York : HarperCollins College Publisher,