การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน

Main Article Content

ศุภกาญจน์ วิชานาติ

บทคัดย่อ

วิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาวิกฤตการณ์โลกร้อน  2) เพื่อนำเสนอรูปแบบการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน จากการศึกษาพบว่าหลักพุทธธรรมที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้แก้ปัญหาภาวะโลกร้อนได้ คือ หลักอริยสัจ 4 สภาวะโลกร้อนส่งผลกระทบต่อทุกระบบองค์รวมของชีวิต โดยมีแนวโน้มจะทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ จากแบบจำลองการคาดคะเนภูมิอากาศพบว่าในปี พ.ศ. 2544 – 2643 อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกจะเพิ่มขึ้นถึง 1.1 ถึง 6.4 องศาเซลเซียส ซึ่งสาเหตุสภาวะโลกร้อนเกิดจากปริมาณก๊าซเรือนกระจกมีมากเกินค่ามาตรฐานที่เหมาะสม โดยก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์และภัยธรรมชาติ เช่น ภูเขาไฟระเบิด เป็นต้นหากสามารถแก้ที่สาเหตุคือลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสมได้ก็จะทำให้ระบบนิเวศทางธรรมชาติของโลกกลับมามาสู่ภาวะปกติ ระบบองค์รวมของชีวิตสามารถอยู่ร่วมกันได้ด้วยสันติสุขและยั่งยืนวิธีแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนได้อย่างสันติสุขและยั่งยืน คือ หลักอริยสัจ 4 เพราะมีระบบการประยุกต์ที่ชัดเจน ได้แก่ การกำหนดรู้ตามสภาพจริง (ทุกข์) , การกำจัดที่สาเหตุที่ทำให้เกิดสภาวะโลกร้อน (ทุกขสมุทัย), การทำให้ประจักษ์ชัดแจ้งถึงปัญหาสภาวะโลกร้อนหมดไป (ทุกขนิโรธ) และการแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนได้โดยใช้ระบบทางสายกลางหรือมัชฌิมาปฏิปทา (ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา)

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

การศาสนา, กรม. (2525). พระไตรปิฎกฉบับหลวง เล่มที่ 1-45. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา.
นันทนา สาทิตานนท์. (2555). การศึกษาแนวคิด การแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อนตามแนวทางพระพุทธศาสนาเถรวาท.
พุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พระพุทธศาสนา). บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
เดชา จันทร์ศิริ. (2556). การลดภาวะโลกร้อน : ศึกษาเชิงวิเคราะห์ตามหลักกุลจิรัฏฐิติธรรม. กรุงเทพมหานคร :
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล. (2550). โลกร้อนสุดขั้ววิกฤตอนาคตประเทศ. กรุงเทพมหานคร : บริษัท ฐานการพิมพ์ จำกัด.
พงษ์พัฒน์ เรืองประดับ. (2550). บทบาทของกรุงเทพมหานครต่อการลดปัญหาภาวะโลกร้อน. วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร์
มหาบัณฑิต : สาขารัฐศาสตร์. มหาวิทยาลัยรามคำแห.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2554). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพมหานคร :
บริษัท สหธรรมิก จำกัด.
พระธรรมปิฏก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2543). สถานการณ์พุทธศาสนา พลิกหายนะให้เป็นการพัฒนา. พิมพ์ครั้งที่ 3.
กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิพุทธธรรม.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย.ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร :
โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2534). พระไตรปิฎกพร้อมอรรถกถาแปล.ชุด 91 เล่ม. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฎราช
วิทยาลัย.
สมิทธ ธรรมสโรช. (2551). ชื่อเสียงบนเส้นด้าย กับ พิบัติภัยร้ายกรุงเทพฯ. กรุงเทพมหานคร : บริษัท เอ เอ เปเปอร์ แอนด์ สเตชั่นเนอรี่ จำกัด.
สุธาสินี ผากา. (2560). พลังงานทดแทนในสถานการณ์ภาวะโลกร้อน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีส
เทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 11(2) พฤษภาคม-สิงหาคม 2560, 52.
สุภาภรณ์ ครุสารพิศิฐ. (2550). การแสวงหาข่าวสาร ความตระหนักและการมีส่วนร่วมในการลดปัญหาภาวะโลกร้อนของ
ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต : สาขาวิชานิเทศศาสตร์พัฒนาการ.
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน. (มปป.). ลดโลกร้อนด้วยตัวเรา. กรุงเทพมหานคร : กระทรวง
พลังงาน.
อภิชนา สืบสามัคคี. (2550). โลกร้อนปรากฏการณ์ธรรมชาติเข้าขั้นวิกฤติ. กรุงเทพมหานคร : บริษัท ยูโรปาเพรส จำกัด.
อำนาจ ชิดไธสง. (2557). อนาคตของโลกและการแก้ปัญหาโลกร้อน. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกองทุน
สนับสนุนการวิจัย (สกว.).
ภัสรา กัววงศ์ และคณะ. (2555). ภาวะโลกร้อน. สืบค้นเมื่อ 30/01/2561, สืบค้นจาก
https://krupenka.wordpress.com/2013/01/31/ปัญหาภาวะโลกร้อน/
greenpeace . (2018). รายงานสรุปของกรีนพีซเรื่อง รายงานการประเมินฉบับ 3 ของ IPCC (ไฟล์ PDF)
greenpeace . (2018). พิธีสารเกียวโต. สืบค้นเมื่อ 31/01/2561, สืบค้นจาก
http://www.greenpeace.org/seasia/th/campaigns/climate-and-energy/governments/kyoto-protocol/
greenpeace . (2018). อนุสัญญาลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เจตจำนงคุมอุณหภูมิโลกไม่เกิน 2 องศา.
สืบค้นเมื่อ 31/01/2561, สืบค้นจาก http://greennews.agency/?p=15693/
Greenpeace Southeast Asia (Thailand Office). (2010b). Global warming impacts. สืบค้นเมื่อ
30/01/2561, Retrieved from http://www.greenpeace.
org/seasia/th/campaigns/climate-and-energy/impacts/ (in Thai)

IPCC. (1990). Climate Change : The IPCC Scientific Assessment. London : Cambridge
University Press. Intergovernmental Panel on Climate Charge.
IPCC. (2007). Summary for policymakers. สืบค้นเมื่อ 30/01/2561, Retrieved from
https://www.ipcc.ch/pdf/assessment-report/ar4/wg1/ ar4-wg1-spm.pdf
ธนาคารโลก, เพนตากอน: เตือนภัยรุนแรงของโลกร้อน. สืบค้นเมื่อ 30/01/2561, สืบค้นจาก
http://www.greenpeace.org/seasia/th/campaigns/climate-and-energy/impacts/
Suphat Vongvisessomjai. (2010). Effect of global warming in Thailand. Journal of Science and Technology. 32 (4), 431-444, Jul. - Aug. (in Thai)
Thailand Greenhouse Gas Management Organization (Public Organization). (2014). 5 things
“global warming” don’t forget. สืบค้นเมื่อ 30/01/2561, Retrieved from
http://www.tgo.or.th/2015/thai/news_detail.php?id=1417 (in Thai)
Ruengaiam, W. (2011). Global warming. สืบค้นเมื่อ 30/01/2561, Retrieved from
https://www.gotoknow.org/posts/414951 (in Thai)
Why World Hot. (2007). Flood – drought global warming impacts. สืบค้นเมื่อ 30/01/2561,
Retrieved from https://www.whyworldhot.com/ global-warming-effect/drought-and-flood-from-global-warming/ (in Thai)