ารซื้อสินค้าซ้ำผ่านช่องทางการตลาดออนไลน์เว็บไซต์ Lazada ของผู้บริโภค ในจังหวัดสมุทรสาคร

Main Article Content

บุญสม รัศมีโชติ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา  1)  ศึกษาปัจจัยการซื้อสินค้าซ้ำผ่านช่องทางการตลาดออนไลน์เว็บไซต์ Lazada ของผู้บริโภคในจังหวัดสมุทรสาคร  2)  เพื่อเปรียบเทียบการซื้อสินค้าซ้ำผ่านช่องทางการตลาดออนไลน์เว็บไซต์ Lazada ของผู้บริโภคในจังหวัดสมุทรสาคร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ ๓) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อผลการซื้อสินค้าซ้ำผ่านช่องทางการตลาดออนไลน์เว็บไซต์ Lazada ของผู้บริโภคในจังหวัดสมุทรสาคร  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้ที่ซื้อสินค้าผ่านช่องทางการตลาดออนไลน์เว็บไซต์ Lazada มากกว่า 1 ครั้ง ในเขตจังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 400 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยด้านแรงจูงใจในการซื้อสินค้าซ้ำผ่านช่องทางการตลาดออนไลน์เว็บไซต์ ในด้านอารมณ์ ผู้บริโภคมีความรู้สึกเพลิดเพลินในการเลือกชมสินค้าจากเว็บไซต์  Lazada  ส่วนด้านเหตุผล ทำให้ประหยัดเวลา  ปัจจัยด้านทัศนคติ ผู้บริโภคคิดว่าสินค้าเว็บไซต์ Lazada มีสินค้าให้เลือกจำนวนมาก มีการแสดงราคาสินค้าและบริการที่หน้าเว็บไซต์อย่างชัดเจน  สามารถเข้าเว็บไซต์ได้สะดวกและ มีข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งถึงลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ   ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อผลการซื้อสินค้าซ้ำผ่านช่องทางการตลาดออนไลน์เว็บไซต์ Lazada พบว่า ปัจจัยด้านแรงจูงใจ ด้านการรับรู้ ด้านทัศนคติ และด้านรูปแบบการดำเนินชีวิต มีความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กังสดาล ศิษย์ธานนท์. (2559). รูปแบบการดำเนินชีวิต รูปแบบการใช้สื่อออนไลน์ และความตั้งใจซื้อสินค้า และ
บริการด้านการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทย. วารสารการสื่อสารและการจัดการ. นิด้า ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-เมษายน 2559).
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2545). การวิเคราะห์สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
จิราภรณ์ เลิศจิระจรัส.(2557). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าและบริการทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในจังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
วรัญญา โพธิ์ไพรทอง. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าจากร้านค้าออนไลน์.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี, หลักสูตร บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต.
วรพรรณ อินวะษา. (2551). พฤติกรรมการซื้อซ้ำเครื่องดื่มชาเขียวโออิชิของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร.
สารนิพนธ บธ.ม. (การตลาด). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นิโลบล ตรีเสน่ห์จิต. (2553). แรงจูงใจ และทัศนคติด้านผลิตภัณฑ์ทีส่งผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อถุงผ้า
ในเขตกรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์ บธ.ม. (การตลาด). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ธัญชนกภรณ์ โตชมบุญ. (2558). ปัจจัยด้านแรงจูงใจที่ส่งผลต่อกระบวนการการตัดสินใจในการประมูลสินค้า
ผ่านสื่อสังคมออนไลน์. จุลนิพนธ์บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจทั่วไป มหาวิทยาลัย ศิลปากร.
ธีรพล สกุลเอกภักดี. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ของลูกค้าและแนวโน้มการซื้อสินค้า:
กรณีศึกษาร้านผ่าม่านในจังหวัดชลบุรี. สาขาวิชา: บริหารธุรกิจ; บธ.ม. (บริหารธุรกิจ)
มหาวิทยาลัยบูรพา.
ปัทมพร คัมภีระ. (2557). พฤติกรรมการซื้อเครื่องสำอางผ่านเว็บไซต์เฟซบุ๊ค ของนักศึกษาหญิง ใน
เขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ.สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ มหาวิทยาลัย
กรุงเทพ.
ปราโมทย์ สถิตย์วรกุล. (2547). ทัศนคติและแนวโน้มการใช้บริการซ้ำของลูกค้าของ สถาบันสอนภาษาอังกฤษ
อีเอฟ อิงลิชเฟิรสต์ ในเขตกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ บธ.ม. (การจัดการ). กรุงเทพฯ : บัณฑิต
วิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พิบูล ทีปะปาล. (2555). การบริหารการตลาด. กรุงเทพฯ: รุ่งเรืองสาส์น การพิมพ์.
มณีรัตน์ รัตนพันธ์. (2558). ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการผ่านช่องทางออนไลน์ ของผู้บริโภคในจังหวัดภาคใต้ตอนล่างประเทศไทย. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

มนัญชยา ปูไฝ. (2558). การศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าและ
บริการผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนเรศวร. วิทยานิพนธ์ปริญญา
บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สุภาวรรณ ชัยทวีวุฒิกุล. (2555). พฤติกรรมการซื้อสินค้าและบริการออนไลน์แบบร่วมกลุ่มกันซื้อบน. เว็บไซต์
ENSOGO ของลูกค้าในเขตกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ บธ.ม. (การตลาด). มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ.
ศิโสภา อุทิศสัมพันธ์กุล. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการซื้อซ้ำธุรกิจออนไลน์ Group Buying. การศึกษาอิสระ.
ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการตลาด). คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อดุลย์ จาตุรงคกุล. (2543). พฤติกรรมผู้บริโภค. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อาลิสา วีระนพรัตน์. (2557). รูปแบบการดำเนินชีวิต ทัศนคติและพฤติกรรมการบริโภคที่มีต่ออาหารธัญพืช ใน
เขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการอุตสาหกรรมศึกษา. ปีที่8 ฉบับที่1 มกราคม-มิถุนายน 2557
(93-103)
DAAT ข้อมูลผู้ใช้อินเทอร์เน็ตของไทย, สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2560, จาก
http://www.thaimobilecenter.com/home/mobile_article_detail.asp?nid=217
LAZADA เว็บช้อปปิ้งออนไลน์สืบค้นเมื่ 20 พฤศจิกายน 2560, จาก http://www.daat.in.th/index.php/daat- internet/