วิเคราะห์สถานภาพและบทบาทของสตรีที่มีต่อครอบครัว ผ่านตัวละครเอกหญิงในวรรณกรรมจีนฉบับแปลไทย เรื่องบุปผาในกุณฑีทอง (金瓶梅) ฉบับยาขอบ
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้ มุ่งศึกษากลวิธีการนำเสนอตัวละคร และวิเคราะห์สถานภาพและบทบาทของสตรีที่มีต่อครอบครัว ผ่านตัวละครเอกหญิงในวรรณกรรมจีนฉบับแปลไทยเรื่องบุปผาในกุณฑีทอง (金瓶梅) ฉบับยาขอบ ฉบับพิมพ์เผยแพร่ของ สำนักพิมพ์ศรีปัญญา เมื่อ พ.ศ. 2560 โดยศึกษาตัวละครเอกหญิงที่มีสถานภาพและบทบาทชัดเจนจำนวน 3ตัวละคร ได้แก่ (1) พันจินเหลียน (潘金莲) ฉบับของยาขอบเรียกว่า พัวกิมเน้ย หรือ นางบัวคำ (2) หลี่ผิงเอ๋อร์ (李瓶儿) ฉบับของยาขอบเรียกว่า นางลีปัง หรือ ฮวยลีปัง (3) ผังชุนเหมย (庞春梅) ฉบับของยาขอบเรียกว่า นางชุนบ๊วย ผลการวิจัยพบว่า กลวิธีการนำเสนอตัวละคร แบ่งเป็น 2กลวิธี ได้แก่ การบรรยายลักษณะของตัวละครโดยผู้แต่ง และการบรรยายลักษณะตัวละครจากบทสนทนาของตัวละคร ซึ่งทั้ง 2กลวิธีนี้ ผู้แต่งต้องการสื่อให้เห็นถึงลักษณะนิสัย พฤติกรรม รูปร่างหน้าตาของตัวละคร สถานภาพและบทบาทของสตรีที่มีต่อครอบครัว ได้แก่ สถานภาพและบทบาทของภรรยา ผู้แต่งสะท้อนให้เห็นถึงธรรมชาติของมนุษย์ที่มีกิเลสตัณหา ความทะเยอทะยาน ทำให้ตัวละครมีพฤติกรรมที่ผิดศีลธรรม เช่น ฆ่าสามีตนเอง ไม่ซื่อสัตย์ต่อสามี สถานภาพและบทบาทของสาวใช้ สะท้อนให้เห็นถึงบทบาทของผู้หญิงที่มีความเป็นรองผู้ชายในด้านของครอบครัวและสังคม
Article Details
References
โชติ แพร่พันธุ์ (ยาขอบ). (2560). บุปผาในกุณฑีทอง. แปลจาก (เบอร์นาร์ด เมียลล์) โดย พิมพ์ครั้งแรก นนทบุรี : ศรีปัญญา.
นิตยา มาศะวิสุทธิ์ และคณะ. (2556). แนวคิดไทย. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์. (2545). จิตวิทยาครอบครัว. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พัชราวลี จินนิกร. (2559). “การศึกษาภาพลักษณ์ของตัวละครหญิงในวรรณกรรมเรื่องผู้ชนะสิบทิศ,” วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาภาษาไทย), มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี, ประเทศไทย.
ลักขณา สริวัฒน์. (2549). จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน.กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2551). ทฤษฎีจิตวิทยาบุคลิกภาพ. กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน.
ส.สุวรรณ. (2557). วรรณคดีจีน ประวัติและผลงานสะท้านโลก.กรุงเทพฯ: เกลอเรียน.
สุมณฑา บุญวัฒนะกุล. (2550). “ตัวละครหญิงในนวนิยายของบุญเหลือ,” สารนิพนธ์ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต (สาขาวิชาภาษาไทย), มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ, ประเทศไทย.