ศึกษาภาพสะท้อนการคลุมถุงชน สถานภาพและบทบาทสตรีในนิทานพื้นบ้านจีน เรื่อง“ม่านประเพณี” (梁祝) ฉบับเดโช บุญชูช่วย

Main Article Content

กรวิภา โพธิไหม
สราวุฒิ เขียวพฤกษ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพสะท้อนการคลุมถุงชน สถานภาพและบทบาทของสตรีผ่านนิทานพื้นบ้านจีนเรื่อง “ม่านประเพณี” (梁祝) ฉบับเดโช บุญชูช่วย โดยศึกษาภาพสะท้อนของการแต่งงานแบบคลุมถุงชน และ บทบาทของสตรีด้านการศึกษา ดังนี้


ผลการวิจัยพบว่า ภาพสะท้อนการคลุมถุงชนที่ได้ศึกษาผ่านตัวละครผู้เป็นบิดา ซึ่งยังคงมีความคิดที่ยังเป็นการบังคับแต่งงานแบบคลุมถุงชน โดยที่ทั้งสองฝ่ายยังไม่เคยพบกันหรือรู้จักกันมาก่อน บิดาของจู้อิงไถยังคงมีความคิดและวัฒนธรรมแบบปิตาธิปไตยคือการที่ผู้ชายเป็นใหญ่ที่สุดในบ้าน และมีสิทธิ์ในการตัดสินใจทุกอย่าง ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันและเกิดความเอารัดเอาเปรียบเหมือนดังแนวคิดสตรีนิยมแบบรุนแรงที่กล่าวไว้ เรื่อง ม่านประเพณี สะท้อนให้เห็นความเหลื่อมล้ำ หรือความไม่เท่าเทียมกันที่สะท้อนผ่านตัวละครผู้เป็นบุตรสาว คือ จู้อิงไถที่อยากจะเล่าเรียน แต่ด้วยความที่ยุคสมัยนั้นผู้หญิงไม่มีสิทธิ์ในการเล่าเรียนเพราะถือว่าเป็นเรื่องไร้สาระที่ผู้หญิงอยากจะศึกษาเล่าเรียน ผู้หญิงจะมีสิทธิ์แค่เชื่อฟังคำสอนของพ่อและแม่ เพื่อรอวันที่จะออกไปแต่งงานมีครอบครัว ตามที่พ่อและแม่จัดหาให้ งานวิจัยเรื่องนี้นอกจากจะสะท้อนให้เห็นถึงการไร้อิสรภาพในการเลือกคู่ครองด้วยตนเองแล้ว ยังสะท้อนให้เห็นถึงบทบาทของสตรีที่ถูกตีกรอบโดยสังคมอีกด้วย ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การแต่งงานโดยการถูกจับให้คลุมถุงชนนั้น ถึงแม้จะเป็นการแต่งงานที่จะต้องทำตามหน้าที่เพื่อตอบแทนบุญคุณพ่อแม่ แต่ถึงอย่างไรก็ถือว่าเป็นการแต่งงานที่ไม่ถูกต้อง เพราะฉะนั้นการเลือกคู่ครองเองหรือที่เคยพบเจอกันก่อนนั้นจึงถือเป็นสิ่งที่ดีและเหมาะสมที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

ดวงพร รื่นเรืองฤทธิ์ และHuang Guomei, “ภาพสะท้อนชีวิตรักและการแต่งงานของชาวจีนผ่าน
คำสแลงในแต่ล่ะยุค,” วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า (สาขาภาษาจีน), พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, 2561.
นพรัตน์ วงศ์กลธูต, “โฆษณาทางโทรทัศน์กับบทบาทและสถานภาพของสตรีไทย,” วิทยานิพนธ์ วารสาร
ศาสตรมหาบัณฑิตและสื่อสารมวลชน, กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2531.
ไพรินทร์ เชื่อมจิต, บทบาทสตรีต่อการจัดการลุ่มน้ำ, เอกสารวิชาการ, กลุ่มวิจัยต้นน้ำ สำนักอนุรักษ์และ
จัดการต้นน้ำ, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, 2546.
ไพศาล สิทธิลิขิต, “นัยทางการเมืองของการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการแต่งงานในสาธารณรัฐประชาชนจีน:
ค.ศ. 1949-1980,” สารนิพนธ์ (สาขาวิชาประวัติศาสตร์), กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2543.
รติรัตน์ กุญแจทอง และ กนกพร นุ่มทอง, เตือนหญิง: วรรณกรรมสอนสตรีที่ประพันธ์ขึ้นภายใต้
วัฒนธรรมขงจื๊อ, วิทยานิพนธ์ (ภาควิชาภาษาตะวันตก), กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,
2559.
อภิวันทน์ อดุลยพิเชษฏฐ์, สถานภาพและบทบาทของผู้หญิงและผู้ชายในอดีต: ภาพสะท้อนจาก
วรรณกรรมเรื่องขุนช้างขุนแผน, วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชามานุษยวิทยา), กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2544.