ผลกระทบจากการเดินทางท่องเที่ยวเชิงนิเวศในจังหวัดสมุทรสาคร

Main Article Content

ศุศราภรณ์ แต่งตั้งลำ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบจากการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในจังหวัดสมุทรสาคร โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ในการศึกษา คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางท่องเที่ยวเชิงนิเวศในจังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 400 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่อหาข้อสรุปผลกระทบจากการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในจังหวัดสมุทรสาคร


ผลการศึกษา พบว่า ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ ทำให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ และเกิดการกระจายรายได้ไปสู่ท้องถิ่นมากขึ้น ผลกระทบด้านสังคม ทำให้เกิดการตระหนักและหวงแหนคุณค่าของทรัพยากรท่องเที่ยว และเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างนักท่องเที่ยวกับคนในชุมชน ส่วนผลกระทบด้านวัฒนธรรม คนในท้องถิ่นเกิดความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมของตนเองและเกิดการส่งเสริมการผลิตสินค้าและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน ทำให้เกิดความตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นและก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาและปรับปรุงสิ่งแวดล้อมของชุมชน

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2562). สรุปสถานการณ์นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ปี 2562. กรมการท่องเที่ยว.
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2556). โครงการสำรวจข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวเชิงลึก.(รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2544). เข้าใจถิ่น เข้าใจเที่ยว. กรุงเทพฯ: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2544). แผนปฏิบัติการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: กองอนุรักษ์การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.
ชูสิทธิ์ ชูชาติ. (2543). รายงานการวิจัยการใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านในการอนุรักษ์ป่าและระบบนิเวศเพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้งของประเทศไทย. คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฎเชียงใหม่, เชียงใหม่.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. 2542. การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. พิมพ์ครั้งที่ 2. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.
มนัส สุวรรณ. (2539). การท่องเที่ยวกับผลกระทบ.วารสารภูมิศาสตร์.
วันทิกา หิรัญเทศ. (2556). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่างชาติต่อการให้บริการของตำรวจท่องเที่ยวถนนข้าวสาร กรุงเทพมหานคร. วิทยาลัยราชพฤกษ์.
สรวิศ ชัยนาม.(2544). การสร้างเครื่องมือวัดตัวแปรในการวิจัยทางสังคมศาสตร์ : แนวทางสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศรันยา พรมจิโน, ชูเกียรติ ชัยบุญศรี, และ อนุภาค เสาภาคย์. 2558. ผลกระทบของการท่องเที่ยวที่มีต่อชุมชนในอําเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วิทยานิพนธ์ปริญญาตรี, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.