ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยว ในการเลือกเดินทางท่องเที่ยวเชิงนิเวศในประเทศไทย

Main Article Content

ศุศราภรณ์ แต่งตั้งลำ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวในการเลือกเดินทางท่องเที่ยวเชิงนิเวศในประเทศไทย โดยใช้วิธีการวิจัยแบบเชิงปริมาณ กลุ่มเป้าหมายที่ในการศึกษา คือนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่เดินทางท่องเที่ยวเชิงนิเวศ จำนวน 400 คน โดยการเลือก แบบบังเอิญ  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถาม มีค่าความเที่ยงตรง ระหว่าง 0.67 - 1.00 และค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.894 วิเคราะห์ข้อมูล ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศตามองค์ประกอบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.50,S.D.=0.77) ด้านที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวมากที่สุด คือ ด้านพื้นที่ ( =4.40,S.D.=0.67) โดยต้องการให้มีความสวยงามของทัศนียภาพและความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติแหล่งท่องเที่ยวมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการจัดการ ( =4.19,S.D.=0.78) โดยต้องการให้มีข้อมูลด้านความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยว เช่น ป้ายหรือสัญลักษณ์เตือนเจ้าหน้าที่ดูแลความปลอดภัยมากที่สุด ลำดับถัดมา คือ ด้านกิจกรรมและกระบวนการ ( = 4.15,S.D.= 0.75) โดยต้องการให้มีความหลากหลายของกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เช่น เดินป่า ดู นก ปลูกต้นไม้ ล่องแพมากที่สุด และด้านการมีส่วนร่วม ( =4.13,S.D.= 0.78) โดยต้องการให้การท่องเที่ยวสามารถสร้างการกระจาย รายได้ให้กับคนในชุมชน เช่น การขายของที่ระลึก การเป็นมัคคุเทศก์ หรือการเป็นวิทยากรมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2558). โครงการสำรวจข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวเชิงลึก.(รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2561). เที่ยวให้รู้เปิดประตูสมอง. กรุงเทพมหานคร : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2561). เเผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติฉบับ ที่2 (พ.ศ.2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก
นรา หัตถสิน และสายรุ้ง ดินโคกสูง. (2561). รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ บ้านแหลมสวรรค์ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่, 10(3), พฤษภาคม-มิถุนายน 2561.
วิมล จิโรจพันธุ์ และคณะ. (2548). การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ. กรุงเทพฯ: แสงดาว.
ศิรินทร์ คีรีเพชร ดวงกมล ปานรศทิพ ธรรมาธิวัฒน์และปัญญา หมั่นเก็บ. (2561). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของชุมชนบ้านคีรีวง อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า ปีที่ 36 ฉบับที่ 13 เดือนมกราคมถึงเมษายน 2561.หน้า 87-98.
Ceballos-Lascurain, H., (1991). Tourism, eco-tourism and protected areas. In Kusler, (ed.) Ecotourism and Resource Conservation. Vol. 1. Eco-tourism and resource conservation project.
Swarbrooke , J. and Homer, S. (1999). Consumer Behavior in Tourism Concepts and Analysis. GB: Butterworth-Heninemann.