การศึกษาและวิเคราะห์นโยบายเส้นทางสายไหมทางทะเลศตวรรษที่ 21 ในมิติการเผยแพร่วัฒนธรรมผ่านสถาบันขงจื่อ เส้นทางสายไหมทางทะเล : ประเทศไทย

Main Article Content

กาญจนา สกุลเพชรอร่าม
ชลธี เสมอเชื้อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์​ยุทธศาสตร์​เส้นทางสายไหม​ทางทะเลของจีน ตามเป้าหมายของนโยบาย “One Belt One Road” ที่ว่าส่งเสริมเศรษฐกิจคือเป้าหมายหลัก ส่งเสริมวัฒนธรรมคือเป้าหมายรอง​ ว่าจะก่อให้เกิดข้อได้เปรียบหรือข้อเสียเปรียบอย่างไรต่อประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์บทบาทหน้าที่ระหว่างสำนักงานส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีนนานาชาติ (Hanban)  และสถาบันขงจื่อ เส้นทางสายไหมทางทะเล ว่ามีความเกี่ยวข้องหรือเชื่อมโยงกันอย่างไร ในมิติของการเผยแพร่วัฒนธรรม โดยการวิจัยในครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ
ใช้วิธีการศึกษาเชิงเอกสาร (Documentary Study) ที่เกี่ยวข้องภายใต้แนวคิดอำนาจเชิงอ่อน (Soft Power) และทฤษฎีการแพร่กระจายทางวัฒนธรรม(Diffusionism)


ผลการวิจัยพบว่า 1) ตามเป้าหมายของนโยบาย “One Belt One Road” ทำให้ประเทศไทยเกิดความได้เปรียบในด้านเศรษฐกิจ กล่าวคือ ประเทศไทยสามารถพัฒนาประเทศให้กลายเป็นศูนย์กลางทางการค้า และการกระจายสินค้าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ง่ายกว่าประเทศ อื่นๆ ในอาเซียน นอกจากนี้ยังทำให้ไทยได้เปรียบในด้านการคมนาคม ด้านทรัพยากรธรรมชาติ ด้านการศึกษาและวัฒนธรรม แต่ทั้งนี้เนื่องด้วยหลายๆ โครงการในประเทศไทยที่จีนเข้ามาลงทุนนั้น ก็มิได้สร้างผลประโยชน์ต่อไทยเสมอไป การศึกษาวิเคราะห์ยุทธศาสตร์ของจีนในครั้งนี้พบว่า ยุทธศาสตร์เส้นทางสายไหมทางทะเลของจีนนั้นทำให้ไทยเสียเปรียบในด้านทรัพยากรธรรมชาติอยู่มากเช่นกัน ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากการลงทุนด้านการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานในไทย อสังหาริมทรัพย์ การทำเหมืองแร่และอื่นๆ ที่ก่อให้เกิดมลพิษและสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติเพิ่มมากขึ้น และในระยะยาวอาจทำให้ไทยนั้นขาดน้ำหนักทางการต่อรองในหลายๆ ด้านที่จีนได้เข้ามาลงทุนและทำหน้าที่เป็นนายทุนใหญ่อีกด้วย ในขณะเดียวกันหากมองในมิติของการเผยแพร่วัฒนธรรมแล้วพบว่า สถาบันขงจื่อ เส้นทางสายไหมทางทะเล ซึ่งเป็นสถาบันหนึ่งด้านการศึกษาที่ถูกนำมาใช้เป็นสื่อกลางในการเผยแพร่วัฒนธรรม ค่านิยม และนโยบายของจีนนี้อาจเป็นข้อเสียเปรียบของไทยที่อาจจะไม่ได้ตั้งตัวเนื่องด้วยการใช้ยุทธศาสตร์การเผยแพร่วัฒนธรรมให้ชาวต่างชาตินั้นจะสามารถค่อยๆ สร้างความเข้าใจ และเผยแพร่ความเป็นจีนไปสู่การยอมรับของชาวต่างชาติได้อย่างช้าๆ และเห็นผลได้มากที่สุดในระยะยาว การเผยแพร่วัฒนธรรมรูปแบบนี้อาจทำให้เกิดการปลูกฝังค่านิยมอันเกิดจากการถูกใช้อำนาจเชิงดึงดูดของจีนเพื่อนำไปสู่การยอมรับความเป็นจีนในสากลหรือแม้แต่ในไทยเอง    


2) จากการศึกษาวิเคราะห์สำนักงานส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีนนานาชาติ (Hanban)  (汉办)  และสถาบันขงจื่อ เส้นทางสายไหมทางทะเลนั้น พบว่าทั้งสองสถาบันนั้นมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอยู่คือ ทั้งสองสถาบันล้วนเป็นสถาบันที่ส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีนและวัฒนธรรม โดยสำนักงาน Hanban นั้นมีหน้าที่ในการสนับสนุนและคอยให้การช่วยเหลือแก่สถาบันขงจื่อ เส้นทางสายไหมทางทะเลในการจัดส่งอาจารย์ผู้สอนภาษาจีนและอาจารย์อาสาสมัครชาวจีนไปสอนภาษาและวัฒนธรรมจีนในสถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัย และโรงเรียนต่างๆ ในไทย ซึ่งสถาบันขงจื่อ เส้นทางสายไหมทางทะเลมีหน้าที่ในการจัดการเรียนการสอนภาษาและวัฒนธรรมจีน ตลอดจนการจัดกิจกรรมเผยแพร่ทางวัฒนธรรมจีนต่างๆ ตามโอกาสและเทศกาลสำคัญ ๆ ของจีนในไทย โดยการเผยแพร่วัฒนธรรมผ่านสถาบันขงจื่อไปยังสถานศึกษาหรือไปยังหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนในไทยนั้นเสมือนเป็นตัวช่วยในการส่งเสริมและพัฒนายุทธศาสตร์ และเป็นการแพร่กระจายทางวัฒนธรรมที่ถูกส่งผ่านกิจกรรมทางสังคม ความคิดหรือวัฒนธรรมเพื่อนำไปสู่ผลสำเร็จตามเป้าหมายของนโยบาย One Belt One Road ได้ง่ายยิ่งขึ้น โดยจีนมุ่งหวังจะนำผลประโยชน์ที่ได้จากการพัฒนานโยบายนี้กลับเข้าไปพัฒนาประเทศจีน เพื่อจะนำพาจีนให้บรรลุเป้าหมาย “China Dream” หรือ “ความฝันจีน” ตามความปรารถนาของประธานาธิบดี สี จิ้นผิง เพื่อแก้ปัญหาภายในประเทศจีนต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล. (2560). ยุทธศาสตร์จีนบนเวทีโลก(ฉบับปรับปรุง). (พิมพ์ครั้งที่1). กรุงเทพมหานคร: ศูนย์พัฒนาหลักนิยมและยุทธศาสตร์ กรมยุทธ
ศึกษาทหารบก.
ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล. (2561). ยุทธศาสตร์จีนบนเวทีโลก เล่ม2 ความเคลื่อนไหวในปี พ.ศ.2560-2561. (พิมพ์ครั้งที่1). กรุงเทพมหานคร: อรุณการพิมพ์. ชลิตา สุนันทาภรณ์. What We Need to Know: One Belt One Road เส้นทางสายไหมทางบกทางทะเลในศตวรรษที่ 21. [Online]. (2017).
Available: https://waymagazine.org/wwntk_onebelt/ [25 กรกฎาคม 2562]
ประภัสสร์ เทพชาตรี. One Belt One Road (OBOR): ผลกระทบต่ออาเซียน. [Online]. (2560).
สาธิต มนัสสุรกุล. “สถาบันขงจื่อ” ซุ่มเงียบแผ่อิทธิพลจีน?. [Online]. (2563).
สุรชาติ บำรุงสุข. (2557). Soft Power. กรุงเทพมหานคร: สถาบันการข่าวกรองสำนักข่าวกรองแห่งชาติ.
สุมาลี สุขดานนท์. (2562). ผลกระทบและแนวโน้มการพัฒนาเส้นทางสายไหมใหม่แห่งศตวรรษที่ 21 [28 กรกฎาคม 2562]
สุพัตรา สุภาพ. (2536). สังคมและวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพาณิช
นิคม บางจริง. (2553). ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวในวิถีชีวิตชาวมอญ อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.
อสิ ม้ามณี. (2555). การใช้ soft power ในการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ : กรณีศึกษาการดำเนินการของทีมประเทศไทยในเนปาล.
กรุงเทพมหานคร: สถาบันการต่างประเทศเทวะวงศ์วโรปการ กระทรวงการต่างประเทศ.
Manager online. https://www.tpa.or.th/tpanews/upload/mag_content/129/ContentFile2520.pdf/ [20 สิงหาคม 2562]
Nye, J. S. JR. (2004). SoftPower:The Means toSuccess in World Politics. New York: BBS Public Affairs. Available:
http://www.drprapat.com/one-belt-one-road-obor-ผลกระทบต่ออาเซียน/ [13 ตุลาคม 2562]
Kaiyin Zhou และคณะ. (2559, มกราคม-มิถุนายน). การจัดการสถาบันขงจื่อแห่งราชอาณาจักไทย. ศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ. 16(1), 153-
163.