การจัดการชุมชนบนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของหมู่บ้านหนองหัวลิงในตำบลหนองแสง อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การจัดการชุมชนบนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของหมู่บ้านหนองหัวลิงใน ตำบลหนองแสง อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก
วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1. ศึกษาศักยภาพของชุมชนหมู่บ้านหนองหัวลิงใน ตำบลหนองแสง อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก 2. เสนอแนวทางการพัฒนาการจัดการชุมชนบนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของหมู่บ้านหมู่บ้านหนองหัวลิงใน ตำบลหนองแสง อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการศึกษาจากเอกสาร (Documentary Study) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต ผู้ให้ข้อมูล (Key Informants) ประกอบด้วย ผู้นำชุมชนจำนวน 5 คนและสมาชิกของชุมชน จำนวน 20 คน เมื่อได้ข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์และการสังเกตแล้วนำมา วิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า 1) ศักยภาพของชุมชนหมู่บ้านหนองหัวลิงใน หลักความพอประมาณชาวบ้านมีการดำเนินชีวิตอย่างพอเพียง บริเวณที่อยู่อาศัยของชาวบ้านมีการปลูกผักสวนครัวไว้บริโภคเป็นผักสดที่ปลอดสารพิษ และเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายภายในครัวเรือนอีกด้วย การมีเหตุผลหลักการมีเหตุผลในการตัดสินใจที่จะเลือกผู้นำมาบริหารงานของชุมชน การมีภูมิคุ้มกันที่ดีสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีให้กับชาวบ้านได้มีความรัก หวงแหน รักษาประเพณี วัฒนธรรมของชุมชนให้อยู่คู่กับลูกหลาน เงื่อนไขความรู้มีการบริหารจัดการชุมชน กระบวนการจัดการเรียนรู้ กระบวนการแบ่งสันปันส่วน เงื่อนไขคุณธรรมมุ่งเน้นให้ทุกคนประพฤติปฏิบัติตนเป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรมรักษาความเป็นประชาธิปไตย 2) แนวทางการพัฒนาการจัดการชุมชนบนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง นำหลักการจัดการมาประยุกต์ใช้บริหารงานชุมชนด้านการวางแผนชุมชนให้ความสำคัญในเรื่องการวางแผนด้านการบริหารจัดการภารกิจของชุมชน ด้านการลงมือปฏิบัติทุกคนได้รับมอบหมายหน้าที่แล้วก็จะลงมือปฏิบัติด้วยความเต็มใจต่างมีความสุขที่ได้มาเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมทำกิจกรรมของชุมชน ด้านการตรวจสอบประเมินผลมีดำเนินการติดตามตรวจสอบรายรับ-รายจ่ายทุกเดือน เพื่อให้ชุมชนเกิดสภาพคล่องในการบริหารจัดการงบประมาณ และด้านปรับปรุงและพัฒนาการปรับปรุงสภาพแวดล้อม อาคารสถานที่ รวมไปถึงส่งเสริมให้มีการพัฒนานวัตกรรมใหม่ที่เป็นประโยชน์ให้กับชุมชน
Article Details
References
กรมพัฒนาชุมชน. สำนักเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน. (2554). กระบวนการส่งเสริมระบบการบริหารจัดการชุมชน. พิมพ์ครัง้ ที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน กรมพัฒนาชุมชน.
กรมพัฒนาชุมชน. สำนักเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน (2558). เอกสารฝึกอบรมโครงการสร้างวิทยากรกระบวนการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ปี 2558. กรุงเทพฯ: สำนักเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน กรมพัฒนาชุมชน.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). การจัดการและวางแผนธุรกิจ. กรุงเทพฯ: ศรีสยาม พริ้นท์แอนด์แพคก์.
เจษฎา บุญมาโฮม. (2546). พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน. นครปฐม: กลุ่มวิชาจิตวิทยาและการแนะแนว คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏนครปฐม.
ธนชัย ยมจินดา. (2540). ทฤษฎีองค์การ. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ธันยชนก ปะวะละ. (2561). การพัฒนาชุมชนต้นแบบตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงระดับมั่งมี ศรีสุข: กรณีศึกษาบ้านหนองเผือก อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม. วารสารเกษตรพระวรุณ ปีที่ 15 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2561
ถวิลวดี บุรีกุล. (2548). การมีส่วนร่วมแนวคิดทฤษฎีและกระบวนการ. กรุงเทพฯ: บริษัท พาณิชพระนคร จำกัด.
ประเวศ วะสี. (2542). เศรษฐกิจพอเพียงและประชาสังคม แนวทางพลิกฟื้นเศรษฐกิจสังคม. กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน.
ประดินันท์ อุปรมัย. (2551). สร้างพลังทีมงานตามหลักคิดเศรษฐกิจพอเพียง. นนทบุรี: ศูนย์ฝึกอบรมเทคโนโลยีการพิมพ์แห่งชาติ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ปาริชาติ สถาปิตานนท์. (2549). การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมและการพัฒนาชุมชน : จากแนวคิดสู่ปฏิบัติการวิจัยในสังคมไทย. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
พจนา สวนศรี. (2554). “บทบาทของประชาชนในท้องถิ่นต่อการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ” ในเอกสารการสอนชุดวิชาการจัดการนันทนาการและการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ, พิมพครั้งที่ 5. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
พิชัย มีชัย. (2552). การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน โดยการใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. รายงานการศึกษาอิสระ. คณะเศรษฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
มูลนิธิชัยพัฒนา. (2555). เศรษฐกิจพอเพียง. [ออนไลน์] ได้จาก: http://www.chaipat.or.th/chaipat/index.php
ยุทธนา หาระบุตร. (2553). “ยุทธศาสตร์การนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติระดับครัวเรือนในชุมชนภาคอีสานตอนใต้.” รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2545). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: บริษัท ธรรมสาร จากัด.
ศุภชัย อาชีวะระงับโรค. (2547). Practical PDCA แก้ปัญหาและปรับปรุงเพื่อความสำเร็จ. กรุงเทพฯ: ซีโนดีไซน์.
สมศักดิ์ ขาวลาภ. (2544). ภาวะผู้นำการจูงใจและทีมงาน. กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือสถาบันราชภัฏสวนสุนันทา.
สุเมธ ตันติเวชกุล. (2549). หลักธรรมตามรอยยุคลบาท. กรุงเทพฯ: สุทธาการพิมพ์.
สุรเชษฐ์ ชิระมณ. (2559). การนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ เพื่อเป็นแนวทางในการลดปัญหาหมอกควันที่เกิดจากการเผาในที่โล่ง : กรณีศึกษาเกษตรกรรายย่อยผู้ปลูกข้าวโพดในอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่. เพชรบุรี: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี.
เสน่ห์ จามริก. (2546). เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาที่ยั่งยืน. วรรณกรรมปริทัศน์ที่เกี่ยวข้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มพัฒนากรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง.
เสน่ห์ จุ้ยโต. (2551). องค์การสมัยใหม่. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.
สำนักราชเลขาธิการ. (2550). ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สืบค้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2563 http://www.rdpb.go.th/th/Sufficiency
สำนักงานจังหวัดนครนายก. (2560). ข้อมูลจังหวัดนครนายก สืบค้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2562 http://ww2.nakhonnayok.go.th/content/general
อมลณัฐ ฉัตระตระกูล และ สุรีย์พร ธรรมิกพงษ์. (2551). “การสร้างรูปแบบการบริหารจัดการชุมชนแบบบูรณาการสู่พอเพียงและยั่งยืน ของชุมชนบ้านป่าบง ตำบลตะเบาะ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์.” รายงานการวิจัย โครงการวิจัยแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.
อุดมพร อมรธรรม. (2549). ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พระเจ้าอยู่หัว. กรงเทพฯ: แสงดาว.
Donkwa, K. (2012). “The Development of the Community’s Economy in the Northeast of Thailand”. Suranaree Journal of Science and Technology. 19(3): 215-223.
Jackson E. T. (2004). Community Innovation Through Entrepreneurship: Grantmaking in Canadian Community Economic Development. Journal of the Community Development Society. 35(1): 65-81.