การเปลี่ยนแปลงการเรียนการสอนปฏิบัติทางดนตรีสู่การจัดการเรียนการสอนออนไลน์จากผลกระทบวิกฤตโควิด-19
Main Article Content
บทคัดย่อ
การจัดการเรียนการสอนออนไลน์เป็นการเปลี่ยนแปลงวิธีการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์วิกฤตโรคระบาด โควิด-19 สาขาวิชาทางดนตรีเป็นสาขาวิชาหนึ่งในระดับอุดมศึกษาที่ต้องปรับเปลี่ยนการจัดการเรียนการสอนจากรูปแบบเดิมเป็นการการในรูปแบบออนไลน์ โดยดำเนินการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ทั้งวิชาทฤษฎีและวิชาปฏิบัติ ซึ่งการเรียนการสอนออนไลน์ หรือการเรียนการสอนผ่านเทคโนโลยีต่าง ๆ ได้มีการดำเนินการในรูปแบบของงานวิจัยอยู่ก่อนวิกฤตโรคระบาด หากแต่การสอนวิชาปฏิบัติต้องอาศัยเครื่องมือ หรืออุปกรณ์สำหรับงานดนตรี (Hardware) และโปรแกรม (Software) ที่มีความเฉพาะทาง เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพเหมาะสมกับสาขาวิชาทางดนตรี อีกทั้งควรมีการพัฒนาการสอนโดยนำเทคโนโลยีอื่น ๆ เข้ามาช่วย เช่น เทคโนโลยีผสานระหว่างโลกแห่งความเป็นจริงและความเสมือนจริง (AR : Augmented reality) เทคโนโลยีการจำลองภาพให้เสมือนจริงแบบ 360 องศา (VR : Virtual reality) ควบคู่กับการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ เพื่อเป็นการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมในศตวรรษที่ 21 และพร้อมรับความเปลี่ยนแปลงตามความผันผวนของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
Article Details
References
กรุงเทพธุรกิจ. (2563). ตามไปดูโควิด-19 จะพลิกโลกการศึกษาอย่างไร. 25 เมษายน 2563. สืบค้นจาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/877251 เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2563.
กอบสุข คงมนัส. (2561). เครื่องมือดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ : วิถีแห่งการศึกษายุคดิจิทัล. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 20 (4), 279 – 290.
จิติยาภรณ์ เชาวรากุล (2563). คุณลักษณะของบัณฑิตตามความต้องการของสถานประกอบการในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 4 (2), 100 – 111.
น้ำมนต์ เรืองฤทธิ์ (2562). การวิจัยและพัฒนารูปแบบการออกแบบการสอนออนไลน์ระบบเปิดสำหรับสถาบันอุดมศึกษารายวิชาด้านครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์. วารสารสาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 11 (4), 950 – 961.
นิรันดร์ แจ่มอรุณ. (2562). การสร้างสื่อวีดิทัศน์เพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองในวิชาปฏิบัติดนตรีไทย : ระนาดเอก 1. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, 24 (3), 16 – 20.
ปริวิศว์ ชูเชิด และ พฤกษ์ภูมิ ธีรานุตร (2561). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง 3G หรือ 4G ในการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 3 (3), 84 – 95.
วิชญ์ บุญรอด. (2563). การพัฒนาแอปพลิเคชันแบบฝึกทักษะการฟังคอร์ดขั้นพื้นฐาน สำหรับนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 22 (1), 204 – 219.
ศุศราภรณ์ แต่งตั้งลำ (2564). สื่อออนไลน์ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกการท่องเที่ยวเชิงอาหารในประเทศไทย. . วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 5 (1), 37 – 56.
อนิรุทธ์ สติมั่น และ ฐาปนีย์ ธรรมเมธา. (2555, มิถุนายน – ตุลาคม). การพัฒนาชุดบทเรียนออนไลน์ เรื่อง วิธีการเรียนการสอนอีเลิร์นนิงสำหรับผู้สอนในสถาบันการศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 10 (1), 91 – 105.
Huang, R.H., Liu, D.J., Tlili, A., Yang, J.F., Wang, H.H., et al. (2020). Handbook on Facilitating Flexible Learning During Educational Disruption: The Chinese Experience in Maintaining Undisrupted Learning in COVID-19 Outbreak. Beijing: Smart Learning Institute of Beijing Normal University.
LadyBee. (2020). BUSINESS HIGHLIGHT INTERVIEW. 9 เมษายน 2563. สืบค้นจาก https://www.thumbsup.in.th/interview-spu-online-course เมื่อวันที่ 13 เมษายน 2563.