การศึกษาการสอนดนตรีโรงเรียนระดับประถมศึกษาในพื้นที่ตําบลแพรกหนามแดง

Main Article Content

ปฐมวัส ธรรมชาติ
ชนนาถ มีนะนันทน์
กฤตวิทย์ ภูมิถาวร

บทคัดย่อ

จากที่ผู้วิจัยได้ดำเนินการลงพื้นที่ สัมภาษณ์พูดคุยกับผู้นำชุมชนพบว่าเยาวชนในชุมชน
แพรกหนามแดง ในปัจจุบันนี้เปลี่ยนไป ส่งผลให้เยาวชนเด็กๆนักเรียนในชุมชน ไม่มีกิจกรรม หรือได้ใช้เวลาว่างที่เป็นประโยชน์ในทางสร้างสรรค์  เยาวชนส่วนใหญ่มีความสนใจ กล้าแสดงออก ชอบในกิจกรรมทางด้านดนตรีอยู่แล้ว แต่ขาดโอกาศในการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม วัตถุประสงค์การวิจัยคือ 1) เพื่อศึกษา หลักสูตรการสอนดนตรี ในโรงเรียนระดับชั้นประถมศึกษา พื้นที่ตำบลแพรกหนามแดง 2) เพื่อวิเคราะห์ข้อมูล การจัดการเรียนการสอนดนตรี ในโรงเรียนระดับชั้นประถมศึกษา พื้นที่ตำบลแพรกหนามแดง


          ผลการศึกษาหลักสูตรการสอนดนตรี กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านแพรกหนามแดงและโรงเรียนบ้านคลองสมบูรณ์พบว่าทั้งสองโรงเรียน จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ผลวิเคราะห์ข้อมูลการจัดการเรียนการสอนดนตรีในโรงเรียนระดับชั้นประถมศึกษา พื้นที่ตำบลแพรกหนามแดง พบว่าโรงเรียนทั้ง 2 แห่งมีปัญหาไปในทางเดียวกันแบ่งออกเป็น 2 ด้านดังนี้ 1)  บุคลากรไม่มีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านการสอนดนตรีโดยตรงจึงทำให้ประสิทธิผลในการเรียนการสอนดนตรีลดลง 2) สถานที่จัดการเรียนการสอนไม่เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอนดนตรี รวมถึงขาดอุปกรณ์เครื่องดนตรีที่จะใช้ในการเรียนการสอน

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)
Author Biographies

ปฐมวัส ธรรมชาติ, คณะศิลปกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

อาจารย์ประจำสาขาวิชาดนตรี, คณะศิลปกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

ชนนาถ มีนะนันทน์, คณะศิลปกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา

อาจารย์ประจำสาขาวิชาดนตรี, คณะศิลปกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา

กฤตวิทย์ ภูมิถาวร, คณะศิลปกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

อาจารย์ประจำสาขาวิชาดนตรี, คณะศิลปกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

References

โกวิทย์ ขันธศิริ. (2550). ดุริยางคศิลป์ตะวันตก (เบื้องต้น). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ข้อมูลพื้นฐาน โรงเรียนบ้านคลองสมบูรณ์. (ม.ป.ป.). Data.bopp-Obec.info. Retrieved June 24, 2021, from http://data.bopp-obec.info/emis/schooldata-view.php?School
_ID=1060220605&Area_CODE=0.
ข้อมูลพื้นฐาน โรงเรียนบ้านแพรกหนามแดง. (ม.ป.ป.). Data.bopp-Obec.info. https://data.bopp-obec.info/emis/schooldata-view.php?School_ID=1075580081&Area_CODE=7501.
ชนิตา รักษ์พลเมือง. (2534). พื้นฐานการศึกษา หลักการและแนวคิดทางสังคม. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี จำกัด.
ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์. (2548). การวิจัยทางศิลปะ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2561). สังคีตนิยม ความซาบซึ้งในดนตรีตะวันตก.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. (พิมพ์ครั้งที่ 2ฉ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.
ปริศนา กาญจนกันทร และสุพรรณี ไชยอำพร. (2562). ตัวแบบความสัมพันธ์ในครอบครัวไทยยุคโลกาภิวัตน์. วารสารพัฒนาสังคม, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 21 (2), 164 - 175.
พรรณพัชร์ เกษประยูร. (2562). การเคลื่อนไหวร่างกายในการแสดงนาฏยศิลป์. HUSO Journal of Humanities and Social Sciences, 3 (1), 35-48.
ยงยุทธ ขำคง. (2562). การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษให้มีประสิทธิภาพตามบริบทของสังคมไทย. HUSO Journal of Humanities and Social Sciences, 3 (1), 12-35.
วิจิตร ศรีสอ้าน. (2562). การจัดการศึกษาเพื่อสังคม แนวโน้มในปัจจุบัน. ค้นเมื่อ 18 พฤษภาคม 2563. จาก https://digitallib.stou.ac.th/handle/6625047444/2702.
วิลาสินี วัฒนมงคล. (2561). วิกฤตการศึกษาไทยในยุค 4.0. MBU Education Journal: Faculty of Education Mahamakut Buddhist University, 6 (1), 427-444.
สุกรี เจริญสุข. (2561). การสอนดนตรีเปลี่ยนไปต้องพึ่งตนเอง: คอลัมน์อาศรมมิวสิค. ค้นเมื่อ 18พฤษภาคม 2563 จาก https://www.matichon.co.th/prachachuen/news_926201.
สุภางค์ จันทวานิช. (2559). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2562). Obec.go.th. http://academic.obec.go.th
/newsdetail.php?id=75.
Kelly, S. N. (2009). Teaching music in American society: A social and cultural understand of music education.