แนวคิดการประดิษฐ์ท่ารำเพลงหน้าพาทย์เสมอของตัวลิง

Main Article Content

ธณาวุฒิ อ้นวงษ์

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาประวัติความเป็นมา และพัฒนาการกระบวน   ท่ารำของเพลงหน้าพาทย์กลุ่มเพลงเสมอของตัวลิง 2) วิเคราะห์ แนวคิด การประดิษฐ์ รูปแบบ และกระบวนท่ารำเพลงหน้าพาทย์เสมอธรรมดา เสมอข้ามสมุทร วานรดำเนิน และเสมอวานร เฉพาะสถานศึกษาในสังกัด สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ และกรมศิลปากร ผู้วิจัยได้ทำการศึกษา และรวบรวมข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง ศึกษากระบวนท่ารำเพลงหน้าพาทย์กลุ่มเพลงเสมอของตัวลิง และรับการถ่ายทอดท่ารำ สัมภาษณ์ผู้มีประสบการณ์ในการสอน และการแสดง


ผลการศึกษาพบว่า เพลงหน้าพาทย์เสมอ คือ เพลงหน้าพาทย์ที่ใช้บรรเลงประกอบกิริยาการเดินทางของตัวละครจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งในระยะใกล้  ซึ่งมีการบรรจุเพลงหน้าพาทย์ไว้ท้ายบทละครและบทโขน โดยเฉพาะโขนลิงในชั้นแรกมีเพลงหน้าพาทย์เสมอที่ใช้ในการแสดงโขน คือ เพลงเสมอ             เรียกกันว่าเสมอธรรมดา และเสมอข้ามสมุทรเพียงเท่านั้น ต่อมามีผู้เชี่ยวชาญด้านนาฏศิลป์ไทยคิดประดิษฐ์เพลงหน้าพาทย์ใช้แทนเพลงเสมอขึ้นใหม่ ได้แก่ 1) เพลงวานรดำเนิน 2) เพลงเสมอวานร                 ซึ่งเพลงหน้าพาทย์เสมอทั้งสองที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่นั้นได้ถูกบรรจุในหลักสูตรการเรียนการสอนนาฏศิลป์ไทยโขนลิง และใช้ในการแสดงโขนทั่วไป  กระบวนท่ารำเพลงหน้าพาทย์กลุ่มเพลงเสมอของตัวลิง แบ่งตามโครงสร้างของท่ารำได้ 3 ช่วง คือ ไม้เดิน ไม้ลา และรัว ซึ่งแต่ละเพลงมีหลักในการปฏิบัติ คือ 1) หน้าทับของไม้กลอง เป็นหลักสำคัญที่ผู้ปฏิบัติท่ารำจะต้องศึกษา และปฏิบัติให้ถูกต้องตามจังหวะของหน้าทับเพลงเสมอ นั้น ๆ 2) ท่ารำ เป็นหลักสำคัญในการปฏิบัติท่ารำที่มีความเชื่อมโยงกับแม่ท่าลิง ซึ่งนำมาใช้กับท่ารำเพลงหน้าพาทย์กลุ่มเพลงเสมอของตัวลิง 3) การเคลื่อนที่ ทิศทางในการรำเพลงหน้าพาทย์กลุ่มเพลงเสมอของตัวลิงมีการเคลื่อนที่ 2 ลักษณะ คือ เคลื่อนที่ไปด้านหน้า และเคลื่อนที่ลงหลัง โดยวิธีการเคลื่อนที่จะใช้การเคลื่อนที่หน้าเสี้ยวสลับซ้าย-ขวาเป็นหลักทั้ง 4 เพลง

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

ธีรภัทร์ ทองนิ่ม. (2555). โขน. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
นิติพงษ์ ทับทิมหิน. (2553). การรำเพลงหน้าพาทย์เสมอในละครพันทาง. กรุงเทพ : คณะศิลปกรรม
ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประสิทธิ์ ปิ่นแก้ว. (ม.ป.ป.). หลัก และวิธีการสอนนาฏศิลป์โขนลิง. วิทยาลัยนาฏศิลปกรุงเทพ
กองศิลปศึกษา กรมศิลปากร.
________. ศิลปินแห่งชาติ ผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทย สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. (ผู้ให้สัมภาษณ์)
ธณาวุฒิ อ้นวงษ์. (ผู้สัมภาษณ์) เมื่อ 18 สิงหาคม 2563.
พรรณพัชร์ เกษประยูร. (2562) การเคลื่อนไหวร่างกายในการแสดงนาฏยศิลป์ Principles of
movement in Thai dance. วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร 3(1), 40-41. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/
husojournalpnru/issue/view/16866
มนตรี ตราโมท. (2531). ศัพท์สังคีต. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ.

สุรัตน์ เอี่ยมสะอาด. อดีตข้าราชการบำนาญ สำนักการสังคีต กรมศิลปากร. (ผู้ให้สัมภาษณ์)
ธณาวุฒิ อ้นวงษ์. (ผู้สัมภาษณ์) เมื่อ 2 ธันวาคม 2563.
อรวรรณ ขมวัฒนา. (2530). รำไทยในศตวรรษที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์
แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.