การศึกษาศักยภาพและแนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์บ้านกมลา ตำบลกมลา อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การศึกษาศักยภาพและแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ บ้านกมลา ตำบลกมลา อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยว เชิงประวัติศาสตร์บ้านกมลา และวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ บ้านกมลา งานวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยใช้แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม
ผลจากการวิจัยพบว่า ศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์บ้านกมลา ประกอบด้วย แหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้น คือ บ้านร้อยปี มัสยิดบ้านกมลา มัสยิดนูรุ้ลเอี๊ยะห์ซาน (นาคา) มัสยิดผดุงศาสตร์ มัสยิดอัล-บุชรอ สำนักสงฆ์เจริญธรรมกมลา และโพธิ์ม้าประตูสู่กมลา สิ่งเหล่านี้เป็นศักยภาพด้านการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ซึ่งสืบทอดกันมาพร้อมกับการถ่ายทอดเรื่องราวจากประชาชนบ้านกมลา ตำบลกมลา อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต
แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์บ้านกมลา ควรเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างภาคประชาชนและหน่วยงานภาครัฐ โดยให้สอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน การร่วมกันพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์บ้านกมลา ตำบลกมลา อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต ด้วยการบูรณาการการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ในพื้นที่ การจัดการอบรมมัคคุเทศก์ให้แก่บุคคลทั่วไปและเด็กที่สนใจด้านประวัติศาสตร์ การสร้างศูนย์วัฒนธรรมหรือพิพิธภัณฑ์ การให้ชาวบ้านในพื้นที่บ้านกมลาร่วมกันอนุรักษ์และรักษาสถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ด้วยการร่วมกันรักษาสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมการประชาสัมพันธ์ให้แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์บ้านกมลาเป็นที่รู้จักด้วยการติดตั้งป้ายประชาสัมพันธ์ การแนะนำและเชิญชวนให้เข้าถึงพื้นที่ การโฆษณาผ่านช่องทาง การสื่อสารอื่น ๆ เช่น Facebook หรือ Website
Article Details
References
[26 เมษายน 2564]. จาก https://is.gd/9xmVz2.
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2564). ประเภทการท่องเที่ยว. [26 เมษายน 2564].
จาก https://1th.me/X4IHQ.
คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิม
พระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิม
พระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542. (2544). วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์
เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดภูเก็ต. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.
จิตจำนงค์ กิติกีรติ. (2525). การพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ: คุณพินอักษรกิจ.
ฉันทัช วรรณถนอม. (2552). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: สามลดา.
ทนงศักดิ์ คุ้มไข่น้ำ และคนอื่น ๆ. (2534). การพัฒนาชุมชนเชิงปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.
ทศพล กฤตยพิสิฐ. (2537). การมีส่วนร่วมของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เขตหนองจอก ที่มีต่อโครงการ
กิจกรรมการพัฒนาตามแนวทาง บรม และ บวร เพื่อสร้างสรรค์อุดมการณ์แผ่นดินทอง
หนองจอก. กรุงเทพฯ: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย.
ไทยตำบล. (2564). ข้อมูลตำบลกมลา อำเภอกะทู้ ภูเก็ต. [26 เมษายน 2564].
จาก https://is.gd/7Cgj6t.
นันทิยา หุตานุวัตร, ณรงค์ หุตานุวัตร. (2546). การพัฒนาองค์กรชุมชน.
กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์กรมหาชน).
ระพีพรรณ ทองห่อ และคณะ. (2549). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวภายใต้ศักยภาพ และ
ข้อจำกัดของกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยและพัฒนา
มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วรพงศ์ ผูกภู่. (2563). แนวคิดเกี่ยวกับการท่องเที่ยวชุมชน. [25 พฤศจิกายน 2563]
จาก https://1th.me/3vKU3.
ศุศราภรณ์ แต่งตั้งลำ. (2563, กรกฎาคม-ธันวาคม). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวในการเลือกเดินทางท่องเที่ยวเชิงนิเวศในประเทศไทย.
วารสาร HUSO Journal of Humanities and Social Science คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 4(2), 64-79.
ศูนย์ข้อมูลประเทศไทย. (2564). ตำบลกมลา. [26 เมษายน 2564]. จาก https://is.gd/OdcfdX.
สมชาติ จึงสิริอารักษ์. (2555). “แนวคิดและการอนุรักษ์โบราณสถานของไทยจากอดีตสู่ปัจจุบัน”,
ใน เมืองโบราณ, (ปีที่ 38 ฉบับที่ 2 เมษายน-มิถุนายน) หน้า 84-103.
สราวุฒิ เขียวพฤกษ์, วีรภัทร ภคพงศ์พันธุ์, กิตติพันธ์ วงษ์ทองคำ. (2561, มกราคม-มิถุนายน 2561). พฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวจีนต่อการท่องเที่ยววัดพระศรีรัตนศาสดราม. วารสาร HUSO Journal of Humanities and Social Science
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 2(1), 65-89.