พัฒนาการทำนองเพลงซอปั่นฝ้ายสู่ทำนองเพลงประกอบการแสดงชุดฟ้อนสาวไหม
Main Article Content
บทคัดย่อ
ศิลปะแห่งเสียงดนตรีสู่การแสดงฟ้อนรำพื้นบ้านล้านนา ในภาคเหนือของประเทศไทย ที่ประกอบการแสดงชุดฟ้อนสาวไหม มีความอ่อนช้อย งดงาม มีเอกลักษณะที่โดดเด่น สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้ท่าฟ้อนรำเกิดความสมบูรณ์ คงไม่พ้นเรื่อง ทำนองดนตรี ที่ช่วยสอดประสาน ส่งต่อความรู้สึกทางโสตประสาทให้เกิดความไพเราะ ให้แก่ลีลาท่าฟ้อน ประคับประคองจินตภาพให้เกิดความโดดเด่น ซึ่งส่วนหนึ่ง ทำให้ผู้เขียน มีความสนใจเกี่ยวกับพัฒนาการทางดนตรีพื้นบ้านพื้นเมือง เรื่องราว รูปแบบของทำนองเพลงสาวไหมว่ามีความเป็นมาอย่างไร
การศึกษาทำนองเพลงซอปั่นฝ้ายสู่กระบวนการสร้างสรรค์ประกอบการแสดงชุดฟ้อนสาวไหมฉบับวิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ ครั้งนี้ พบว่า วงดนตรีที่ใช้คือ “วงสะล้อ-ซึง” และพบว่ามีการพัฒนาการปรับปรุงทำนองเพลงออกเป็น 2 ระยะ ดังนี้ 1) ระยะเริ่มต้น ปรับปรุงทำนองโบราณสู่ทำนองซอปั่นฝ้าย ที่เกิดจากพ่อครูไชยลังกา เครือเสน นำเพลงโบราณของภาคใต้ “เพลงชักใบ” มาปรับปรุงทำนองและประพันธ์บทร้องใหม่ที่เกี่ยวกับการปลูกฝ้ายกลายเป็นซอปั่นฝ้ายและได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน 2) ระยะนำซอปั่นฝ้ายปรับปรุงพัฒนาสู่ทำนองสาวไหม โดยเจ้าสุนทร ณ เชียงใหม่ โดยแบ่งพัฒนาการออกเป็น 4 ลำดับ ดังนี้ ลำดับที่ 1 การปรับปรุงวรรคเพลง โดยตัดวรรคเพลงท่อนซ้ำออก จากโน้ตเพลง 3 บรรทัดครึ่ง ให้เหลือเพียง 2 บรรทัดครึ่ง ลำดับที่ 2 การเปลี่ยนเสียง เปลี่ยนโน้ตเสียง “โด” เปลี่ยนเป็นเสียง “ซอล” ลำดับที่ 3 การประพันธ์ทำนองเพลงท่อนที่ 2 ขึ้นใหม่ และลำดับที่ 4 นำล่องแม่ปิงมาใช้เป็นเพลงเชื่อมสำหรับบรรเลงประกอบการแสดงชุดฟ้อนสาวไหม ฉบับวิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่
Article Details
References
บุญธรรม ตราโมท. (2545). คำบรรยายวิชา ดุริยางคศาสตร์ไทย. กรมศิลปากร.
ปราณี วงษ์เทศ. (2525). พื้นบ้านพื้นเมือง. สำนักศิลปวัฒนธรรม 8/2525 ซอยบ้านช่างหล่อ ถนนพรานนก แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ, เรือนแก้วการพิมพ์.
พรประพิตร์ เผ่าสวัสดิ์. (2562). ดนตรีจังหวัดน่าน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: คัลเลอร์ไอเดีย อินโนเวชั่น.
พูนพิศ อมาตยกุล และคณะ. (2526). นามานุกรมศิลปินเพลงไทยในรอบ 200 ปี แห่งกรุง
รัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เพียงแพน สรรพศรี. (2562). การปรับปรุงท่ารำนาฏยศิลป์พื้นบ้าน : ฟ้อนสาวไหม.
วารสารศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 7(1), 108.
รักเกียรติ ปัญญายศ. สำเนียงเพลงล่องแม่ปิง. สัมภาษณ์, วันที่ 10 มีนาคม 2564.
_______. แนวคิดการสร้างสรรค์ทำนองเพลง. สัมภาษณ์, วันที่ 14 กรกฎาคม 2564.
ลำดวน สุวรรณภูคำ. บทซอปั่นฝ้ายฉบับพ่อครูไชยลังกา เครือเสน. สัมภาษณ์, วันที่ 14 กรกฎาคม
2564.
สนั่น ธรรมธิ. (2550). หนังสือชุดล้านนาคดี นาฏดุริยการล้านนา สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, สุเทพการพิมพ์
เอกสารวาทะมุขปาฐะ ดนตรีพื้นบ้านล้านนา. (2544). วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่
สถาบันนาฏดุริยางคศิลป์ กรมศิลปากร.