ละครสร้างสรรค์เพื่อการตระหนักรู้ในตนเองของเยาวชนต่อพฤติกรรมการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยเชิงทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ละครสร้างสรรค์เพื่อการตระหนักรู้ในตนเองของเยาวชนต่อพฤติกรรมการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์และเพื่อศึกษาผลของการจัดกระบวนการเรียนรู้ละครสร้างสรรค์เพื่อการตระหนักรู้ในตนเองของเยาวชนต่อพฤติกรรมการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ โดยมีเยาวชนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยพะเยา จำนวน 40 คน เป็นกลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมอย่างละ 20 คน และใช้แบบสอบถาม Cyber-aggression perpetration and victimization scale (ฉบับภาษาไทย) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ละครสร้างสรรค์ และแบบวัดการตระหนักรู้ในตนเอง เป็นเครื่องมือในการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า การจัดกระบวนการเรียนรู้ละครสร้างสรรค์เพื่อการตระหนักรู้ในตนเองของเยาวชนต่อพฤติกรรมกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์จัดได้ตามแผนกิจกรรมละครสร้างสรรค์ จำนวน 7 ครั้ง ครั้งละ 120 นาที และค่าเฉลี่ยคะแนนการตระหนักรู้ในตนเองก่อนและหลังการทดลองในกลุ่มทดลอง พบว่า คะแนนหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ (p<.01) และค่าเฉลี่ยคะแนนหลังการทดลองของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนการตระหนักรู้ในตนเองของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ (p<.01)
Article Details
References
ชาญวิทย์ พรนภดล (2561). รวมพฤติกรรมใช้อินเทอร์เน็ตที่ไม่ปลอดภัยของเด็กไทย การกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์. [https://today.line.me/th/pc/article]. ไลน์ทูเดย์.
ณัฐรัชต์ สาเมาะ และคณะ (2557). การรับรู้ของเยาวชนต่อการรังแกในพื้นที่ไซเบอร์. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา. 6 (1), 359-362.
ธนาภร สุขยิ่ง. (2553). ผลของการจัดกิจกรรมละครสร้างสรรค์ที่มีต่อความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัย. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการศึกษาปฐมวัย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นภาวรรณ อาชาเพ็ชร. (2560). วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 5(1), 100-106.
บัวขาบ พนมชัยสว่าง. (2558). การเปรียบเทียบคุณภาพของแบบวัดเจตคติต่อวิชาพระพุทธศาสนาของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2 ที่สร้างตามแนวคิดของเทอร์สโตน ลิเคอร์ และออสกูด. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.
บุญชม ศรีสะอาด. (2535). หลักการวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพ ฯ: สุวีริยาสาสน.
บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์. (2561). ไทยอันดับ2 “เด็กรังแกกันในโรงเรียน” พบเหยื่อปีละ 6 แสนคน. สืบค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2562 จาก //www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id= 27485.
ปองกมล สุรัตน์. (2561). การรังแกผ่านโลกไซเบอร์ในมิติสังคมวัฒนธรรม: กรณีศึกษาเยาวชนไทยเจเนอเรชั่น Z. ปริญญานิพนธ์สาขาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์. กรุงเทพฯ. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ปาริชาติ จึงวิวัฒนาภรณ์. (2547). ละครสร้างสรรค์สำหรับเด็ก. กรุงเทพฯ: พัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) จำกัด.
พรชนก ดาวประดับ และกัลยกร วรกุลลัฎฐานีย์. (2561, กันยายน-ธันวาคม). วารสารการสื่อสารและการจัดการ นิด้า. 4(3), 63-78.
พรพรรณ ผิวผาย. (2560). กิจกรรมละครสร้างสรรค์พัฒนาทักษะชีวิตการตระหนักรู้ในตนของเด็กเร่ร่อนศูนย์เด็กก่อสร้างนานาชาติมูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก. หลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาศิลปะการแสดงศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พรรณี ลีกิจวัฒนะ. (2554). การวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ (2561). รวมพฤติกรรมใช้อินเทอร์เน็ตที่ไม่ปลอดภัยของเด็กไทย การกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์. [https://today.line.me/th/pc/article]. ไลน์ทูเดย์.
ไพศาล วรคำ. (2555). การวิจัยทางการศึกษา. มหาสารคาม : ตักสิลาการพิมพ์.
มูลนิธิยุวพัฒน์. (2562). การกลั่นแกล้ง (Bullying) ความรุนแรงในสังคม. สืบค้นเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2562 จาก www.yuvabadhanafoundation.org/th.
เรวัต เงินเย็น. (2558). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความตระหนักรู้ในตนเองของนักเรียนระดับ ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดเชียงราย. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย, ปีที่ 8 ฉบับที่ 18 (ก.ย.-ธ.ค. 2558) หน้า 183-188.
ลิขิต ใจดี. (2562). ละครสร้างสรรค์: กระบวนการเรียนรู้ทางเลือกใหม่ที่สอดคล้องกับทิศทางการศึกษาของชาติ. ประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิชาการระดับชาติ ธีรทัศน์เชิงมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของสังคม. คณะมนุษยศาสตร์และประยุกต์ศิลป์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
วารุณี สอนอินทร์ และคณะ. (2558). ผลของโปรแกรมสร้างการตระหนักรู้และส่งเสริมความมีคุณค่าในตนเองต่อพฤติกรรมป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่นหญิงตอนต้น. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ปีที่ 27 ฉบับที่ 1 (ม.ค.-เม.ย. 2558) หน้า 60-69.
ศราวุฒิ บุญรักษ์. (2562). การศึกษากลวิธีการเรียนรู้ภาษาอังกฤษธุรกิจของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (ก.ค.-ธ.ค. 2562) หน้า 30-50.
ศุภวรรณ ธนุภาพรังสรรค์ และมาลีวัล เลิศสาครศิริ. (2559). ผลของการใช้รูปแบบการฝึกสมาธิโดยบูรณาการสติปัฏฐาน 4 กับ เอสเคที 1 ต่อความสามารถทางสมอง ความตระหนักรู้ในตนเอง และสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนของนักศึกษาพยาบาล. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์. ปีที่ 36 ฉบับที่ 4 (ก.ย.-ธ.ค. 2559) หน้า 13-28.
สมพงษ์ พันธุรัตน์. (2547). การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์สำหรับวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติเพื่อการวิจัย ทางการศึกษา. ขอนแก่น: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Goleman, D. (1998). Working with emotional intelligence. New York: Bantam Books.
Shariff, S. (2008). Cyber-Bullying: Issues and Solutions for the School, the Classroom and the Home. Oxen, United Kingdom: Routledge.
Sritongsuk, K. (2020). CREATIVE DRAMA FOR THE DEVELOPMENT OF PRIMARY-SCHOOL STUDENTS. Fine Arts Journal: Srinakharinwirot University, 24(2), 127-138. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jfofa/article/view/240140.