การประพันธ์เดี่ยวระนาดเอกเพลงเทวาประสิทธิ์ สองชั้น เพื่อการประกวดเดี่ยวเครื่องดนตรีไทยระดับชาติ สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา

Main Article Content

รณฤทธิ์ ไหมทอง

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางการประพันธ์เพลงเดี่ยวระนาดเอก สำหรับการประกวดเดี่ยวเครื่องดนตรีไทยระดับชาติ ซึ่งเป็นการประกวดเดี่ยวเครื่องดนตรีไทยในเครื่องมือระนาดเอกสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา โดยมีเกณฑ์กำหนดเพลงประเภทสองชั้น ให้ผู้เข้าประกวดเลือกเพื่อนำมาประพันธ์เป็นทางเดี่ยวทั้งสิ้น 3 เพลง ได้แก่ เพลงการเวกเล็ก สองชั้น เพลงครอบจักวาล สองชั้น และเพลงเทวาประสิทธิ์ สองชั้น ในการนี้ผู้ประพันธ์ได้เลือกเพลงเทวาประสทธิ์ สองชั้น มาประพันธ์เป็นทางเดี่ยวสำหรับระนาดเอก เนื่องจากเป็นเพลง 2 ท่อน มีทำนองที่จดจำง่ายและมีสำนวนเพลงโดดเด่นไพเราะ การประพันธ์ทางเดี่ยวได้ใช้กลวิธีพิเศษตามแบบของระนาดเอกทุกประการ ในท่อน 1 เที่ยวแรกได้ใช้กลวิธีการสะบัด การสะเดาะ และการขยี้ เพื่อแสดงถึงการใช้กลวิธีในการบรรเลง ส่วนท่อน 1 เที่ยวกลับใช้กลวิธีการรัวคาบลูกคาบดอกผสมการตีเก็บคู่แปด ท่อน 2 เที่ยวแรก เป็นการแสดงกลวิธีพิเศษโดยการตีรัวทำนองทั้งท่อน ซึ่งถือว่าเป็นเทคนิคที่ยากต่อการบรรเลงสำหรับระดับประถมศึกษาพอสมควร แต่ผู้ประพันธ์ได้คำนึงถึงผู้บรรเลงเป็นหลักจึงได้เลือกใช้สำนวนของการตีรัวทำนองที่ง่ายที่สุดต่อการบรรเลง ในส่วนของท่อน 2 เที่ยวกลับ เป็นการบรรเลงแบบตีคู่แปดทั้งท่อน โดยได้ประพันธ์สำนวนกลอนที่ยากขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง เป็นสำนวนกลอนที่เรียกว่า กลอนฝาก ได้นำมาใช้ในการบรรเลงเพื่อให้มีสำนวนกลอนที่ต่างจากสำนวนกลอนทั่วไป จากการประพันธ์ทางเดี่ยวเพลงเทวาประสิทธิ์ สองชั้น ผู้เข้าประกวดสามารถบรรเลงได้ออกมาเป็นอย่างดี ในการประกวดครั้งนี้ผลปรากฎว่าได้รับรางวัลชนะเลิศเหรียญทอง อันดับที่ 1 ของการประกวดเดี่ยวเครื่องดนตรีไทยระดับชาติ การประกวดเดี่ยวเครื่องดนตรีไทยและขับร้องระดับชาติ “เสริมประสบการณ์สืบสานสังคีตศิลป์ไทย” โครงการ 50 ปี ดนตรีบ้านสมเด็จฯ งานวันคล้ายวันพิราลัยสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ประจำปีพุทธศักราช 2564 และวาระครบรอบ 50 ปี ดนตรีบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

Article Details

บท
บทความทางวิชาการ (Academic Article)
Author Biography

รณฤทธิ์ ไหมทอง , สังกัดวิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

อาจารย์ สังกัดวิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

References

ช่อทิพย์ ภู่มณี. (2564). การถ่ายทอดความรู้การบรรเลงจะเข้ของครูสุธารณ์ บัวทั่ง. วารสารวิจัยราชภัฏ
พระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 16(1), 258.
บุญช่วย โสวัตร. (2531). “คุณค่าของดนตรีไทย” หนังสือที่ระลึกงานไหว้ครูและครอบดนตรี ไทย
ประจำปี ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พงศพิชญ์ แก้วกุลธร และคณะ. (2558). การศึกษาวิธีการประพันธ์ และวิธีการบรรเลงเพลงเดี่ยว
ระนาดเอกของพันโทเสนาะ หลวงสุนทร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 21/(3), 203.
มนตรี ตราโมท. (2538). “การบรรเลงเดี่ยว” ใน สูจิบัตรงานมหกรรมเดี่ยวเพลงไทยชัยมงคง.
กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล กรมศิลปากรและสมาคมนักแต่งเพลงแห่งประเทศไทย.
มนตรี ตราโมท. (2540). ดุริยางคสาส์น. กรุงเทพฯ: ธนาคารกสิกรไทย.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2549). สารานุกรมศัพท์ดนตรีไทย ภาคประวัติและบทร้องเพลงเถา. (พิมพ์ครั้งที่ 4)
กรุงเทพฯ: สนามเสือป่า พระราชวังเขตดุสิต.
สำนักงานปลัดทบวงมหาวิทยาลัย. (2538). สำนักมาตรฐานอุดมศึกษา. เกณฑ์มาตรฐานสาขาวิชา และ
วิชาชีพดนตรีไทย. กรุงเทพฯ: ประกายพรึก.