ประสิทธิผลนโยบายป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของผู้สูงอายุในเขตบางเขน กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

รัชต์เขตต์ ตาอ้าย
วณิฎา ศิริวรสกุล

บทคัดย่อ

การค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ประสิทธิผลของนโยบายการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของผู้สูงอายุในเขตบางเขน กรุงเทพมหานคร 2) ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลของนโยบายการป้องกันโรค และ 3) แนวทางในการเพิ่มประสิทธิผลนโยบายการป้องกันโรค
เป็นการวิจัยแบบผสมระหว่างเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพคือแบบสัมภาษณ์ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญทั้งหมดจำนวน 15 คน และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณคือ แบบสอบถาม เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่ได้มาจากการสุ่มอย่างง่ายจากประชากรผู้สูงอายุในเขตบางเขน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน


          ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิผลนโยบายป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ภาพรวม
อยู่ในระดับมาก (  = 3.71) คือ การส่งเสริมให้ผู้สูงอายุดูแลสภาพจิตใจของตนเองไม่ให้เครียด
ออกกำลังกายที่เหมาะสม เลือกทานอาหารที่ร้อนหรือปรุงสุกใหม่ ๆ และครบ 5 หมู่ตามหลักโภชนาการ
มีการจัดระบบบริการสาธารณสุขที่ดี มีการคัดกรองโรค มีวัสดุอุปกรณ์ ยารักษาโรค ให้ข้อมูลประวัติที่เป็นจริง สร้างความเข้มแข็งทางจิตใจ มีการกำหนดมาตรการที่เข้มงวด มีการตรวจเชิงรุก มีการให้บริการวัคซีนป้องกันติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 แก่ผู้สูงอายุอย่างทั่วถึง 2) ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลของนโยบาย            การป้องกันโรค ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (  = 3.71) คือ มีการรับนโยบายมาและนำไปปฏิบัติตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัดและเป็นไปตามแผนการปฏิบัติงาน ได้ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน มีศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข พร้อมนำสู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม มีการสร้างความรู้ความเข้าใจและแนะนำแนวทางการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันควบคุมโรคผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่าง ๆ และมีบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจที่สามารถให้แนวทางปฏิบัติในการป้องกันและรักษาสุขภาพแก่ผู้สูงอายุอย่างเคร่งครัด และ 3) แนวทางในการเพิ่มประสิทธิผลนโยบายการป้องกันโรค พบว่า ควรมีการส่งเสริมและให้ความรู้ด้านการส่งเสริมสุขภาพ
การรักษาพยาบาล การฟื้นฟูสุขภาพ และการป้องกันโรคแก่ผู้สูงอายุ มีการจัดระบบบริการสาธารณสุข
มูลฐาน มีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ให้ผู้สูงอายุอย่างทั่วถึง ที่จะสามารถทำให้ผู้สูงอายุสามารถใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุข

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2562). ข้อมูลเกี่ยวกับไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในประเทศไทย. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/index.php. วันที่สืบค้น 2564, เมษายน 3.

กล้า ทองขาว. (2551). เอกสารประกอบการสอนชุดววิชานโยบายสาธารณะและการวางแผน หน่วยที่ 6 เรื่อง การนำนโยบายไปปฏิบัติ. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

คณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานผู้สูงอายุแห่งชาติ. (2545). แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545 -2564). กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

วรเดช จันทรศร. (2551). การนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: สหายบล็อก.

วรรณภา ศรีธัญรัตน์ และลัดดา ดําริการเลิศ (2553). การจัดการความรู้และสังเคราะห์แนวทางปฏิบัติ ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล: แนวปฏิบัติในการบริการผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: บริษัท สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง จํากัด.

ศรินยา สุริยะฉาย. (2552). การประเมินผลความต้องการจำเป็นในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุใน ตำบลบางไทรป่า อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศุภชัย ยาวะประภาษ. (2552). นโยบายสาธารณะ (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2555). การวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ. เอกสารการศึกษา รัฐประศาสนศาสตร์ อันดับที่ 56. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิต พัฒนบริหารศาสตร์.

สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย. (2554). คู่มือ การดำเนินงาน “ตำบลต้นแบบด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว”. กรุงเทพฯ: สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย.

สิรินทร ฉันศิริกาญจน์. (2552). สื่อสุขภาพ. คู่มือเพื่อสุขภาพ, 5(53), 1-4.

สุรพจน์ วงษ์ใหญ่. (2552). การปรับสมดุลแบบสุขภาพองค์รวม. คณะการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก: htpp://www.rsu.ac.th/oriental_

med/ article12.html. วันที่สืบค้น 2564, มีนาคม 15.

Horn, V. C. E., & Meter, V. D. S. (1976). The implementation of intergovernmental policy. In C. O. Jones, & R. D. Thomas (Eds.), Public Policy Making in a Federal System. California: Sage.

Narirat Jitramontree and Others. (2011). Good Model of Elderly Care in Urban Community. Journal of Nursing Science. Vol. 29 Suppl. 2 July-September 2011, p.67-74.