การพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกรตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

Main Article Content

รวิกานต์ อำนวย
รวิกานต์ อำนวย
ศุภินธน์การย์ ระวังวงศา
กนกพิชญ์ วิชญวรนันท์
จันทนา อุดม
สมชาย ราฎร์เจริญ
สมชาย ราฎร์เจริญ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะการทำเกษตรตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2) ศึกษาคุณภาพชีวิตเกษตรกรตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่ตำบลบ้านนา อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก3) สร้างรูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกรตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 4)ทดลองใช้และประเมินผลรูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกรตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่ตำบลบ้านนา อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมระหว่างเชิงปริมาณกับเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง คือ เกษตรกรในพื้นที่ตำบลบ้านนา อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก จำนวน 237 ครัวเรือน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้นำชุมชน ตัวแทนเกษตรกร หน่วยงานภาครัฐ ในพื้นที่ตำบลบ้านนา อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติพรรณนาด้วย จำนวน ร้อยละค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา การจัดกลุ่มตามประเด็นหลัก ประเด็นรอง และสรุปความ  จากผลการวิจัยพบว่า 1) ลักษณะการทำเกษตรและการเกษตรตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้าน การพึ่งพาตนเอง รองลงมาคือ ด้านการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ ด้านการเพิ่มรายได้ และด้านการลดรายจ่าย 2) คุณภาพชีวิตเกษตรกรตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่ตำบลบ้านนา พบว่า ภาพรวมคุณภาพชีวิตเกษตรกรอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านจิตใจ รองลงมาคือ ด้านสุขภาพ ด้านสังคม และด้านเศรษฐกิจ  3) รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกรตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่ตำบลบ้านนา ประกอบไปด้วย (1) ลักษณะการทำเกษตรตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ การลดรายจ่าย การเพิ่มรายได้ การพึ่งพาตนเอง และการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ (2) กระบวนการพัฒนาเกษตรกร มี 4 กระบวนการ คือ การอบรมให้ความรู้ การพัฒนาโดยการฝึกปฏิบัติจริง การพัฒนาเกษตรกรแบบมีส่วนร่วม และการพัฒนาตามเกษตรทฤษฎีใหม่ (3) การพัฒนาเกษตรกรตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ การพึ่งพาตนเองระดับครัวเรือน การรวมกลุ่มในชุมชน และการสร้างเครือข่ายร่วมมือกับองค์กรภายนอก

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

ชุมพลภัทร์ คงธนาจารุอนันต์. (2551). การดำเนินชีวิตและคุณภาพชีวิตตามแนวทางปรัชญา

เศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรในหมู่บ้านหนองมะจับ ตำบลแม่แฝก อำเภอสันทราย

จังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาส่งเสริมการเกษตร). เชียงใหม่:

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ดวงตา สราญรมย์. (2556). การดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงชุมชนบึงบัว ตำบล

ลำผักกูด อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ : วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ

โรจนี พิริยะเวชกุล, ชัชสรัญ รอดยิ้ม, วรวิทย์ ประสิทธิ์ผล, กนกพิชญ์ วชิญวรนันท์, และนพวรรณ ระวังป่า.

(2564). การจัดการชุมชนบนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของหมู่บ้านหนองหัวลิงในตำบลหนอง

แสง อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก. วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย

ราชภัฏพระนคร, 5(2), 35-66.

ปภาดา สุวิโรจน์. (2551). คุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรเทศบาลตำบลบางปู จังหวัด

สมุทรปราการ (การศึกษาอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการ

ปกครองส่วนท้องถิ่น). ขอนแก่น: วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน. (2554). คู่มือการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ.

กรุงเทพฯ: สำนักเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน.

สุเมธ ตันติเวชกุล. (2549). ใต้เบื้องพระยุคลบาท. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน.

สุวรรณา โป๊ะสุวรรณ. (2552). การนำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต

ของข้าราชการกรมสวัสดิการทหารบก. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

The WHOQOL Group. (1994). Development of the WHOQOL: Rationale and

current status. International Journal of Mental Health, 23 (3), 24-5