ความคิดทางการเมืองของคนรุ่นใหม่ (Gen - Z) กับการใช้สิทธิ์เลือกตั้งท้องถิ่น : ศึกษากรณีการเลือกตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดทางการเมืองที่ส่งผลต่อการเลือกตั้งท้องถิ่นและศึกษาปัจจัยที่ส่งผลให้คนรุ่นใหม่ (Gen - Z) ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งท้องถิ่น เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีเครื่องมือการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีช่วงอายุใน Gen – Z ที่มาจากการเลือกแบบเจาะจงจากนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จำนวน 5 คณะ แล้วนำข้อมูลที่รวบรวมได้จากเอกสารต่าง ๆ แบบสัมภาษณ์ การบันทึก การสังเกต มาวิเคราะห์แบบเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ความคิดทางการเมืองของคนรุ่นใหม่ (Gen – Z) ที่ส่งผลต่อการเลือกตั้งท้องถิ่นแสดงให้เห็นได้ใน 3 มิติคือ 1. มิติความคิดทางการเมืองเชิงบวก 2. มิติความคิดทางการเมืองเชิงลบ 3. มิติความคิดทางการเมืองแบบนิ่งเฉย ซึ่งทั้ง 3 มิติดังกล่าวเป็นการสะท้อนความคิดทางการเมืองของคนรุ่นใหม่ที่มีความคิดแตกต่างกัน ซึ่งจากการศึกษายังพบว่าปัจจัยสำคัญ 3 ประการที่ส่งต่อการตัดสินใจให้คนรุ่นใหม่ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งท้องถิ่นคือ 1. ปัจจัยด้านสื่อประชาสัมพันธ์ 2. ปัจจัยด้านการบ่มเพาะทางสถาบัน ซึ่งประกอบด้วย ด้านสถาบันครอบครัวและสถาบันทางการศึกษา 3. ปัจจัยด้านคุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้ง ประกอบด้วยคุณสมบัติด้านการศึกษา, คุณสมบัติด้านความซื่อสัตย์และบุคลิกภาพของผู้สมัครรับเลือกตั้ง
Article Details
References
เฉลิมพล นุชอุดม, และกานดา ผรณเกียรติ์. (2562). เกณฑ์ในการตัดสินใจเลือกผู้แทนระดับท้องถิ่นในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 11(2), 32-44.
ธีระ กุลสวัสดิ์. (2553). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนทางการเมืองของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยในภาคตะวันออก. วารสารการเมือง การบริหารและกฎหมาย, 2(3), 129-159.
เนตรภัทร อ่วมเครือ, และวัลลภ รัฐฉัตรานนท์. (2562). ทัศนคติทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของประชาชนในตำบลบ้านกุ่ม อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี. วารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 6(1), 115.
พสิษฐ์ ไชยวัฒน์, และสติธร ธนานิธิโชติ. (2561). คนรุ่นใหม่ประชาธิปไตยช่วงเปลี่ยนผ่าน.ประชาชน-ความหวังหรือความฝัน. สืบค้นจาก https://prachatai.com/journal.
พระครูวินัยธรอธิษฐ์ สุวฑฺโฒ (สุขพานิช), และ พระใบฎีกาสุชินนะ อนิญฺชิโต (พรหมนิล). (2563). คนรุ่นใหม่กับประชาธิปไตยของไทยในปัจจุบัน. วารสารพุทธสังคมวิทยาปริทรรศน์, 5(2), 99-113.
พิชญ์ พงศ์สวัสดิ์. (2562). อยากเข้าใจคนรุ่นใหม่ก็ต้องถามเขาให้ถูกคำถาม: พิชญ์ พงศ์สวัสดิ์. สืบค้นจากhttps://www.matichon.co.th/columnists/news_1553565.
ยงยุทธ พงศ์ศรี. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปทุมธานี : ศึกษาในห้วงเวลา ปี พ.ศ.2562. งานค้นคว้าอิสระของหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารทางการเมือง. วิทยาลัยสื่อสารการเมือง มหาวิทยาลัยเกริก.
สุภางค์ จันทวานิช. (2561). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 24. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
BBC NEWS online. (2563). แฟลตม๊อบชายแดนใต้ : สำรวจความคิดเยาวชนปลายด้ามขวาน ทำไมออกมาต่อต้านรัฐบาล. สืบค้นจาก https://www.bbc.com/thai/thailand-53711375.