พฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวคุณภาพสูงกลุ่มผู้สูงอายุ จังหวัดสมุทรสงคราม

Main Article Content

ธวัช พุ่มดารา
สุวิตา พฤกษอาภรณ์

บทคัดย่อ

การศึกษา เรื่อง พฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวคุณภาพสูงกลุ่มผู้สูงอายุ จังหวัดสมุทรสงคราม ใช้ระเบียบวิธีแบบผสมผสาน (Mixed Method) ทั้งวิธีการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ  กำหนดวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพทั่วไปของการท่องเที่ยวคุณภาพสูง จังหวัดสมุทรสงคราม 2) ศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวคุณภาพสูงกลุ่มผู้สูงอายุ จังหวัดสมุทรสงคราม และ 3) ศึกษาเงื่อนไขที่เอื้ออำนวยต่อความสำเร็จของของการท่องเที่ยวคุณภาพของนักท่องเที่ยวกลุ่มผู้สูงอายุ จังหวัดสมุทรสงคราม


ผลการศึกษาเชิงปริมาณ พบว่า พฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวคุณภาพสูงกลุ่มผู้สูงอายุ จังหวัดสมุทรสงคราม มีค่าเฉลี่ยอยู่ระดับมาก โดยอันดับที่ 1 คือ ชื่นชอบเที่ยวไปช้า ๆ ไม่เร่งรีบ ชอบที่ไหนอยู่นาน ๆ มีค่าเฉลี่ยอยู่ระดับมาก  อันดับที่ 2 คือ เน้นการท่องเที่ยวระหว่างรุ่นมีค่าเฉลี่ยอยู่ระดับมาก  อันดับที่ 3 คือ ใช้เวลาในการท่องเที่ยวแต่ละครั้งอยู่ในช่วงไม่เกิน 3 วันมีค่าเฉลี่ยอยู่ระดับมาก อันดับที่ 4 คือ เดินทางไปยังสถานที่ที่แปลกใหม่มีค่าเฉลี่ยอยู่ระดับมาก  อันดับที่ 5 คือ ช่วงเวลาการเดินทางท่องเที่ยวมักจะเป็นช่วงวันเสาร์-อาทิตย์มีค่าเฉลี่ยอยู่ระดับมาก  และอันดับที่17 คือ สนใจด้านความงดงามของธรรมชาติและวัฒนธรรมไทยมากที่สุดมีค่าเฉลี่ยอยู่ระดับปานกลาง ตามลำดับส่วน ผลการศึกษาเชิงคุณภาพ พบว่า ส่วนใหญ่แล้วผู้สูงอายุกลุ่มนี้มีวัตถุประสงค์การเดินทางท่องเที่ยวเพื่อพักผ่อน ฟื้นฟู ร่างกาย และจิตใจ โดยใช้ระยะเวลาในการท่องเที่ยว 1-3 วัน นิยมการท่องเที่ยวในช่วงเทศกาล ประเพณี โดยไม่จำกัดว่าจะอยู่ในช่วงฤดูกาลไหนของประเทศ เน้นการท่องเที่ยวที่มีเวลาพักผ่อน ไม่เหนื่อยจนเกินไป  การเดินทางท่องเที่ยวมักจะเดินทางร่วมกับกับบุตรหลาน ญาติ พี่น้อง หรือคนในครอบครัว นิยมกิจกรรมที่ได้ชมธรรมชาติ ทัศนียภาพที่งดงามในทางประวัติศาสตร์ ซึ่งการท่องเที่ยวจะมีบุตรหลาน ญาติ และคนในครอบครัว เป็นผู้ค้นหาข้อมูลและจัดการวางแผนการท่องเที่ยว

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กรวรรณ สังขกร และคณะ. (2558). การบริหารและการจัดการการท่องเที่ยวในภาคเหนือตอนบน เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว).

คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ. (2560). เเผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

จิราวดี รัตนไพฑูรย์ชัย. (26 สิงหาคม 2557). ตลาดนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ: โอกาสใหม่ไทยเติบโตรับ AEC.

หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ Section: ASEAN: 1.

ฉัตรเฉลิม องอาจธานศาล. (2551). การท่องเที่ยวเชิงแนวคิด: ผลิตซ้ำ หรือ นวัตกรรมใหม่. จุลสารวิชาการอิเล็กทรอนิกส์ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, ฉบับที่ 4/2551, 3 – 12

นพพร จันทรนำชู และคณะ. (2559). การพัฒนาผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวสำหรับกลุ่มผู้สูงอายุของผู้ประกอบการท้องถิ่นในภูมิภาคตะวันตกเพื่อการยกระดับการท่องเที่ยวอย่างมีคุณภาพ. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และสำนักงาน

กองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว).

นรินทร์ สังข์รักษา และคณะ. (2559). รูปแบบและพฤติกรรมการท่องเที่ยวที่ไร้ความเร่งรีบของ นักท่องเที่ยวผู้สูงอายุในภูมิภาคตะวันตกของประเทศไทย. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัย หอการค้าไทย, 36(2), 1 - 19.

พัชรี ตันติวิภาวิน. (2557). การเปิดเสรีอาเซียน 2558 ในมิติของทุนทางสังคมของผู้สูงอายุไทย. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 8 (1) (มกราคม-เมษายน 2557), 229.

ณิชมน ภมร และ พัชรี ตันติวิภาวิน. (2563). การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านวัฒนธรรมอาหารพื้นบ้านภาคเหนือตอนบนของไทย. วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์, 6 (2) กรกฎาคม – ธันวาคม 2563), 31.

พิทักษ์ ศิริวงศ์ และคณะ. (2559). แผนงานวิจัยการยกระดับการท่องเที่ยวอย่างมีคุณภาพในภูมิภาคตะวันตกของนักท่องเที่ยวสูงอายุเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน . สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และสำนักงานกองทุน สนับสนุนการวิจัย (สกว).

มนัสสินี บุญมีศรีสง่า. (2557). การพัฒนารูปแบบและกลยุทธ์การตลาดการท่องเที่ยวเชิงรุกในแหล่งท่องเที่ยวที่มีบทเรียนจากความสูญเสีย อุบัติภัย และมรณภัย ในภูมิภาคตะวันตกประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.). (2564). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2563. นครปฐม:สถาบันวิจัยประชากร และสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

มูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุ. (2560). สถานการณ์ผู้สูงอายุในประเทศไทย. สืบค้นจาก https://fopdev.or.th.

ราณี อิสิชันกุล และคณะ. (2552). การวิจัยเรื่องการส่งเสริมการท่องเที่ยวผู้สูงอายุจากทวีปยุโรปสู่ประเทศไทย.

นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วิพรรณ ประจวบเหมาะ (บก.). (2555). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วารัชต์ มัธยมบุรุษ. (2554). แนวทางการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ กรณีศึกษาพื้นที่รอบการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแม่เมาะ จังหวัดลำปาง. การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปี 2554; “การพัฒนาอนาคตชนบทไทย: ฐานรากที่มั่นคงเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน” 27 - 29 มกราคม 2554, 189 - 193.

สมยศ วัฒนากมลชัย และ เยาวลักษณ์ ยิ้มอ่อน. (2553). นักท่องเที่ยวสูงอายุ: กลุ่มเป้าหมายที่มีศักยภาพสำหรับธุรกิจการท่องเที่ยว. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 2(1), 95 - 103.

สามารถ สุวรรณรัตน์ และคณะ. (2558). แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวแบบมีส่วนร่วมระหว่างนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุและชุมชนในแหล่งท่องเที่ยวภาคเหนือตอนบน. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

สุดแดน วิสุทธิลักษณ์ และคณะ. (2556). การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (Creative Tourism Thailand). กรุงเทพฯ:องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน).

Aswin Sangpikul. (2007). Segmenting the Japanese Senior Travel Market: Implications for Thailand’s Tourism Industry. Journal of Hospitality & Tourism, 5(1), 95 -106.

Campbell, C., (2010). Creative Tourism Providing a Competitive Edge. Tourism Insight. Retrieved, from www.insights.org.uk/a

Chiang, L., et al. (2014). A comparative study of generational preferences for trip-planning resources: A case study of international tourists to Shanghai. Quality Assurance in Hospitality and Tourism, 15(1),78- 99.

Cohen, E. (1979). A Phenomenology of Tourist Experiences. Sociology, 13(2), 179-201.

Richards, G. and Raymond, C. (2000). Creative tourism. ATLAS News no. 23: 16 - 20. ISSN 1388-3607.

Kotler, P., and Armstrong, G. (2006). Principles of Marketing. 11th ed. New Jersey: Pearson.

Mengyang, S. and Furong, C. (2009). The researches on senior tourism security service criterions. Tourism Institute of Beijing Union University. P.R.: China.