งานสร้างสรรค์นวัตกรรมเครื่องดนตรีไทย รางระนาดเอก วัสดุเรซิ่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานสร้างสรรค์นวัตกรรมเครื่องดนตรีไทย รางระนาดเอก วัสดุเรซิ่น เป็นงานวิจัยสร้างสรรค์ที่ต้องการให้เกิดการพัฒนาและสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ด้วยองค์ความรู้ใหม่ที่ทันสมัยและดำรงค์ไว้
ซึ่งศิลปะและวัฒนธรรมและเป็นจุดเริ่มต้นทางความคิดในการใช้วัสดุทดแทนจากธรรมชาติเป็นการดำรงรักษาวัฒนธรรมโดยไม่ทำลายธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เพื่อสร้างงานสร้างสรรค์นวัตกรรมเครื่องดนตรีไทย รางระนาดเอก ด้วยวัสดุเรซิ่น 2) ทดสอบประสิทธิภาพเครื่องดนตรีไทยรางระนาดเอกวัสดุเรซิ่น เป็นการศึกษาลักษณะทั่วไปของรางระนาดเอกที่ทำด้วยไม้และวัสดุเรซิ่น เพื่อนำมาเปรียบเทียบการใช้งานความคงทนและความคุ้มค่าในบริบทต่าง ๆ ของรางระนาดเอก ขั้นตอนและวิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้กระบวนการเก็บข้อมูลจากเอกสาร งานวิจัย หนังสือ ตำรา และ
สื่อต่าง ๆ ที่มีข้อมูลเกี่ยวกับงานสร้างสรรค์ดนตรีไทยและเกี่ยวข้องกับวัสดุเรซิ่น การสัมภาษณ์จากผู้รู้และผู้เชี่ยวชาญด้านวัสดุเรซิ่นและผู้ผลิตเครื่องดนตรีไทยทุก ๆ ประเภท เพื่อเป็นข้อมูลในด้านการผลิตงานสร้างสรรค์ มาวิเคราะห์ข้อมูลซึ่งประกอบไปด้วยขั้นตอนวิธีการผลิตคุณภาพเสียงของรางระนาดเอก
การทดสอบประสิทธิภาพเครื่องดนตรีไทย รางระนาดเอกวัสดุเรซิ่น ผลการวิจัยพบว่าเครื่องดนตรีไทยรางระนาดเอกเรซิ่นเป็นงานสร้างสรรค์ใหม่ในวงการดนตรีไทย ผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์หาวัสดุทดแทนมาใช้ทำรางระนาดเอกไม้ที่ในปัจจุบันหายากขึ้น ในการวิจัยพบปัญหาจากวัสดุเรซิ่น เช่น ความคงทนในการใช้งานเนื่องจาก เรซิ่นที่ใช้พบว่าน้ำหนักมาก การเคลื่อนย้ายค่อนข้างลำบากมีความเปราะบางแตกหักง่าย ไม่ทนต่อความร้อน เมื่อโดนความร้อนจะทำให้ผิดรูปทรงไปจากเดิม ดังนั้นจึงต้องมีการพัฒนาการผลิตรางระนาดโดยการผสมกับวัสดุอื่น ๆ หรืออาจใช้วัสดุเรซิ่นเคลือบเงาที่มีน้ำหนักเบาและมีความคงทนกว่า
งานวิจัยครั้งนี้เป็นงานสร้างสรรค์สร้างความแปลกใหม่ในการสร้างมูลค่าจากการสร้างสรรค์และสามารถสร้างอาชีพใหม่ที่นักดนตรีไทยและผู้ผลิตเครื่องดนตรีไทยสามารถนำไปพัฒนาและเพิ่มคุณค่าให้กับวงการดนตรีไทยได้ต่อไป แนวคิดในการสร้างสรรค์นวัตกรรมเครื่องดนตรีไทยรางระนาดเอกด้วยวัสดุ
เรซิ่น เป็นการสร้างสรรค์รางระนาดเอกจากวัสดุทดแทนการผลิตรางระนาดเอกจากไม้เนื่องจากในปัจจุบันรางระนาดเอกไม้ มีราคาแพง และราคารางระนาดเอกในปัจจุบันมีราคาเพิ่มสูงขึ้นจากอดีตมาก และ
ไม้เริ่มหายากขึ้น การสร้างรางระนาดเอกจากวัสดุเรซิ่นจึงเป็นทางเลือกที่สามารถทำขึ้นทดแทนรางระนาดเอกไม้ได้ จากงานวิจัยครั้งนี้พบว่าคุณภาพเสียงที่เกิดจากการบรรเลงมีคุณภาพเสียงที่ดี ดังและชัดกว่าเสียงของระนาดเอกไม้แต่ไม่ได้หมายความถึงว่าเสียงไพเราะกว่าระนาดเอกไม้เพียงแค่มีเสียงที่ดังและชัดเจนกว่า เท่านั้นเนื่องจากพื้นของรางระนาดเอกที่ทำจากวัสดุเรซิ่นที่เป็นตัวอุ้มเสียงมีความเรียบมากกว่าพื้นรางระนาดเอกไม้ ซึ่งผู้วิจัยพบข้อดีและข้อเสียที่สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดและสร้างสรรค์รางระนาดเอกต่อไปดังนี้
ข้อดี
1.สามารถผลิตรางระนาดเอกได้เร็วขึ้น
- สามารถฝึกช่างผู้ผลิตได้ง่ายกว่าการทำรางระนาดไม้ ซึ่งสร้างอาชีพให้กับชุมชนได้ง่ายกว่าการผลิตรางระนาดเอกไม้
3.มีความสวยงามมากกว่ารางระนาดเอกไม้เมื่อนำไปตกแต่งลวดลายต่อยอดสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับงานศิลปะทางดนตรีไทยได้เป็นอย่างดี
- มีราคาถูกกว่ารางระนาดเอกไม้ วัสดุที่ใช้ผลิตสามารถหาได้ง่ายกว่า
- สามารถลดปริมาณการใช้ทรัพยากรธรรมชาติได้มากช่วยลดการตัดไม้ทำลายป่า
ข้อเสีย
- การผลิตระนาดเอกจากวัสดุเรซิ่นไม่สามารถทำแบบแยกส่วนประกอบออกจากกันได้ เมื่อแตกหักเสียหายจะไม่สามารถนำกลับมาซ่อมให้ดีเหมือนเดิมได้
2. รางระนาดเอกจากวัสดุเรซิ่น มีความเปราะบาง และแตกหักได้ง่าย มีน้ำหนักมากกว่ารางระนาดเอกไม้
Article Details
References
Pavat wasi (2537). Development culture : Bangkok.
Mati panvaraton. (2559) Use of alternative materials. “Fiberglass” : Case studyProduction process and Skull quality soo woo. Journal of the Institute of Culture and Arts Srinakharinwirot University.
Supagon jalurnsukpapa. (2555). Selection of alterials for the construction of Thai music instruments of Manop Kaewpee cha :case study Major xylophone Fiberglass Rail Master of Fine Arts Thesis Department of Anthropology Srinakharinwirot University.
Akvit naThalang ( 2533). Folk wisdom: way of life learning process solving problems of Thai people . Bangkok : wisdom Foundation.
Tylor, E. B.( 1978 ) “ Primitive Culture Vol , 1” in Best John W. Research in Education New delhi : prentice Hall of India, Inc