แนวทางการพัฒนาสื่อสิ่งพิมพ์ เพื่อสร้างความเข้าใจเชิงวัฒนธรรม และกฎระเบียบทางสังคมในบริบทของอารยธรรมล้านนาให้แก่นักท่องเที่ยวจีน : กรณีศึกษาเขตพัฒนาการท่องเที่ยวอารยธรรมล้านนา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการรับรู้ข้อมูลข่าวสารและสื่อการประชาสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยว ในการสร้างความเข้าใจเชิงวัฒนธรรมและกฎระเบียบทางสังคมในบริบทของอารยธรรมล้านนาให้แก่นักท่องเที่ยวจีน เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวจีนที่มีต่อสื่อประชาสัมพันธ์ทางการท่องเที่ยวด้านสื่อสิ่งพิมพ์ และเพื่อสร้างแนวทางในการพัฒนาสื่อสิ่งพิมพ์ที่สามารถให้ข้อมูลด้านวัฒนธรรม และกฎระเบียบทางสังคมในบริบทของอารยธรรมล้านนาให้แก่นักท่องเที่ยวจีน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักท่องเที่ยวชาวจีนที่เดินทางมาท่องเที่ยวในพื้นที่เขตอารยธรรมล้านนา ในจังหวัดเชียงรายและเชียงใหม่ ได้มาจากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 463 คน เครื่องมือที่ใช้ คือแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน t-test, One-way ANOVA และ Chi-Square Test
- ประเภทของสื่อสิ่งพิมพ์ในการสร้างการรับรู้เชิงวัฒนธรรม และกฎระเบียบทางสังคมในบริบทของอารยธรรมล้านนาให้แก่นักท่องเที่ยวจีน พบว่า สื่อสิ่งพิมพ์ที่รับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับสังคม วัฒนธรรมล้านนา คือ แผ่นพับ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร และหนังสือ โดยนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ ไม่เคยได้รับข้อมูลข่าวสารการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับวัฒนธรรมประเพณีล้านนา หรือจังหวัดทางภาคเหนือของไทย และความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับกฎระเบียบทางสังคม และวัฒนธรรมล้านนา อยู่ในระดับไม่รู้
- ความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวจีนที่มีต่อสื่อสิ่งพิมพ์ทางด้านการท่องเที่ยว พบว่า ส่วนใหญ่ทราบข้อมูลการท่องเที่ยวประเทศไทยจากเว็บไซต์ มากที่สุด รองลงมาคือ การบอกต่อ และบริษัททัวร์ ความคิดเห็นต่อสื่อสิ่งพิมพ์ทางด้านการท่องเที่ยว ความคิดเห็นอยู่ระดับเห็นด้วย (ค่าเฉลี่ย 3.91) โดยการมีป้ายประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวชัดเจน ค่าเฉลี่ยมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.11) รองลงมาคือ สื่อสิ่งพิมพ์มีรูปภาพประกอบชัดเจน (ค่าเฉลี่ย 4.02) และมีสีสันสวยงาม น่าสนใจ (ค่าเฉลี่ย 3.96)
- แนวทางในการพัฒนาสื่อสิ่งพิมพ์ที่สามารถให้ข้อมูลด้านวัฒนธรรม และกฎระเบียบทางสังคมในบริบทของอารยธรรมล้านนาให้แก่นักท่องเที่ยวจีน พบว่า ประเภทสื่อสิ่งพิมพ์ตามแหล่งท่องเที่ยวที่ต้องการรับข้อมูลข่าวสาร คือ แผ่นพับ ป้ายประชาสัมพันธ์ และโปสเตอร์ สื่อประชาสัมพันธ์ควรแยกภาษาไทย ภาษาจีน ภาษาอังกฤษ การจัดให้มีป้าย หรือสัญลักษณ์บอกจุดที่พัก ห้องน้ำ ภายในสถานที่ท่องเทียว และควรมีภาพประกอบการอธิบาย ควรมีความหลากหลาย เช่น เว็บไซต์ ระบบมัลติมีเดีย We chat
Article Details
References
Allport, G. W. (1935). Attitudes. In C. M. Murchison (Ed.), Handbook of Social Psychology. Winchester, MA: Clark University Press.
Bloom & Other. (1956). Handbook on formation and summative of student learning. New York: McGraw-Hill.
Chalairat Jirachai Chaowanon (2011). A Study of Attitudes and Public Relations Media Affecting Motives in Admission to Phetchabun Rajabhat University. Research and Development Institute Journal Phetchabun Rajabhat University 13 (2).
Hair, Joseph F., and Others. (1998). Multivariate Data Analysis. Fifth Edition. New Jersey : Practic-Hall International, Inc.
Jarinya Napikul and Warat Mathayomburus. (2012). A Study of Tourism Potential for Tourism Development in Chiang Rai Province. Master's thesis. Phayao: University of Phayao.
Mana Onthuam. (1999). Perception of the role of members of the Tambon Administrative Organization Council: a case study of the Tambon Administrative Organization Council in Ubon Ratchathani Province. Master's thesis, Kasetsart University.
Ministry of Tourism and Sports. (2017). Available from https://www.mots.go.th/news/category/435 Retrieved 18 September 2017.
Muncharee Chotirathiti (2013). Cross-Cultural Adaptation of Thai Students Abroad. (independent research). National Institute of Development Administration.
Parama Satavethin. (1998). Principles of Communication Arts. (2nd edition). Bangkok: Print.
Pavin Ramingwong. (2008). Corporate Identity Design and Production of Printed Media for Sales Promotion. Thesis. Chiang Mai University.
Pornthip Taweepong and Pleumjai Paichit. (2014). Srivijaya cultural tourism media towards attitudes. of Thai tourists. Journal of Management Science Suratthani Rajabhat University. 1(2).
Pornthip Taweepong and Pleumjai Paichit. (2014). Srivijaya cultural tourism media towards attitudes. of Thai tourists. Journal of Management Science Suratthani Rajabhat University. 1(2).
Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). “On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity”
The Royal Institute Dictionary. (2002). Royal Institute Dictionary 1982. Bangkok: Aksorn Charoen Pattana.
Tourism Development Board of the Lanna Civilization Tourism Development Zone. (2015). Tourism Development Action Plan within the Lanna Civilization Tourism Development Zone, B.E. 2016 – 2020. Bangkok.
Wattana Juthawiphat (1999). Development of print media for public relations. (Thesis research). Department of Technology Srinakharinwirot University.