การศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากับการกระจายตัวของคราบเกลือ ด้วยเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ ในอำเภอขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

วีระยุทธ คชวรรณ
ภัทราพร สร้อยทอง
นฤมล อินทรวิเชียร
ปริญ หล่อพิทยากร

บทคัดย่อ

การศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากับการกระจายตัวของคราบเกลือด้วยเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ อำเภอขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะปฏิสัมพันธ์และลักษณะการกระจายตัวเฉพาะของคราบเกลือกับพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Spectral Signature) จากข้อมูลดาวเทียมแลนด์แซต8 (LANDSAT-8) โดยในการวิจัยครั้งนี้ศึกษาจาก 4 ช่วงคลื่น ได้แก่ ช่วงคลื่นสีน้ำเงิน
สีเขียว สีแดง และอินฟาเรดใกล้ ที่ผ่านกระบวนการปรับแก้เชิงเรขาคณิต กระบวนการปรับแก้เชิงคลื่น (Radiometric Correction) และการแปลงค่าหลักเลข (Digital Number: DN) เป็นค่าสะท้อนพลังงานพื้นผิวโลกที่แท้จริง (Reflectance) และจัดทำแผนที่การกระจายของคราบเกลือผิวดินจากข้อมูลดาวเทียมแลนด์แซต 8 ด้วยการจำแนกแบบ spectral angle mapper


           ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะปฏิสัมพันธ์ที่มีลักษณะเฉพาะตัวของคราบเกลือกับพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ค่าสถิติการสะท้อนพลังงานที่แท้จริงของคราบเกลือ มีค่าการสะท้อนต่ำที่สุดเท่ากับ 0.1710 ในช่วงคลื่นอินฟาเรดใกล้ และมีค่าสูงสุดเท่ากับ 0.3281 ในแถบช่วงคลื่นสีแดง ส่วนการกระจายของคราบเกลือผิวดิน ด้วยการจำแนกแบบ Spectral Angle Mapper พบว่า ตำบลที่พบมากที่สุดคือ ตำบลหนองสรวงมีพื้นที่ 407,231 ตร.ม. คิดเป็นร้อยละ 56.52 ของพื้นที่ที่พบทั้งหมด รองลงมาได้แก่ตำบลโป่งแดง มีพื้นที่ตรวจพบคราบเกลือ 171,511 ตร.ม. คิดเป็นร้อยละ 23.81 ของพื้นที่ที่พบทั้งหมด ตำบลบึงอ้อมีพื้นที่ตรวจพบคราบเกลือ 55,269 ตร.ม. คิดเป็นร้อยละ 7.67 ของพื้นที่ที่พบทั้งหมด ตำบลขามทะเลสอพื้นที่ตรวจพบคราบเกลือ 52,904 ตร.ม. คิดเป็นร้อยละ 7.34 ของพื้นที่ที่พบทั้งหมด และตำบลพันดุง เป็นพื้นที่ที่ตรวจพบคราบเกลือน้อยที่สุดโดยมีพื้นที่ตรวจพบคราบเกลือ 33,550 ตร.ม. คิดเป็นร้อยละ 4.66 ของพื้นที่ที่พบทั้งหมด

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

Arunee Yuwaniyom. (2008). Management of saline soil problems. Bureau of Land Management Research and Development Department of Land Development.

Cambell, B. J., & Wynne., R. H. (2011). Introduction to Remote Sensing. The Guilford Press: New York. Kruse, F. A., Lefkoff, A., Boardman, J., Heidebrecht, K., Shapiro, A., Barloon, P., & Goetz, A. (1993). The spectral image processing system (SIPS)—interactive visualization and analysis of imaging spectrometer data. Remote sensing of environment, 44(2-3), 145-163.

Geo-Informatics and Space Technology Development Agency (Public Organization). (2009). Space Technology and Geo-Informatics textbook. Bangkok: Amarin Printing and Publishing Public Company Limited.

Geo-Informatics and Space Technology Development Agency. (2009). Basic principles of geospatial technology. Bangkok: Geo-Informatics and Space Technology Development Agency (Public Organization), Ministry of Science and Technology.

Jariya Kerdpoka, Natcha Sribua-ngam, Patchara Phanthong, and Sarchana Puchakan. (2019). Application of remote sensing data. To assess soil salinity level in Nakhon Ratchasima Province. (Bachelor of Science degree), Kasetsart University, Bangkok.

Mohajane, M., Essahlaoui, A., Oudija, F., El Hafyani, M., & Cláudia Teodoro, A. (2017). Mapping Forest Species in the Central Middle Atlas of Morocco (Azrou Forest) through Remote Sensing Techniques. ISPRS International Journal of Geo-Information, 6(9), 275.

Phanphit Buangnawa. (2016). Strategies for developing saline soil areas in the Northeast Region. Bangkok: Department of Land Development.

Pichit Ratchaban. (2014). Soil problems in Thailand. Bangkok: Bureau of Soil Survey and Land Use Planning. Department of Land Development.

Rungruang Lertsiriworakul (2005). Managing the effects of rock salt production. Khon Kaen: Department of Geotechnology, Faculty of Technology, Khon Kaen University.

UnitedStates Geological Survey. (2015). Using the USGS Landsat 8 Product. Retrieved from https://www.usgs.gov/landsat-missions/using-usgs-landsat-level-1-data-product