การฟื้นฟูของขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองของนิสิต นักศึกษา ในปี 2563

Main Article Content

จเร นาคทองอินทร์
วัลลภ พิริยวรรธนะ
ธวัช พุ่มดารา
ศิริญญา ศิริญานันท์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยที่ทำให้เกิดการฟื้นฟูของขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองและศึกษาลักษณะการเคลื่อนไหวทางการเมืองของนิสิตนักศึกษาปี 2563 ด้วยการทบทวนวรรณกรรมจากปรากฏการณ์ทางการเมือง พบว่า ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการฟื้นฟู ฯ มาจากได้รับการกล่อมเกลาทางการเมืองที่ทัศนคติต่อต้านการสืบทอดอำนาจของคณะรัฐประหารหลังการรัฐประหาร 2557 ครบรอบ 1 ปี มีจุดต้นเริ่มจากกลุ่มที่ร่วมกันทำกิจกรรมต่าง ๆ  ได้ถูกขยายวงกว้างไปสู่สถานศึกษา ทั้งใน กทม.และในหลายจังหวัดโดยส่งต่อความคิดผ่านสื่อออนไลน์ในทุกรูปแบบเป็นช่องทางสร้างพื้นที่ทางการเมืองเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางการเมืองส่งผลให้เกิดแนวร่วมขึ้นอีกหลากหลายกลุ่มได้รวมกลุ่มกันในเวลาต่อมา  กลายเป็นขบวนการเกิดแนวร่วมในภูมิภาคต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถาบันอุดมศึกษา ที่ไม่เกิดเฉพาะในกรุงเทพฯ สำหรับลักษณะของการเคลื่อนไหว ฯ ใช้รูปแบบ Flash mob ทุกคนเป็นแกนนำ สะท้อนให้เห็นว่าขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองของนิสิตนักศึกษาได้กลับมาฟื้นฟูขึ้นอีกครั้งหลังจากที่ซบเซาไปนานหลายปี สอดคล้องกับทฤษฎีการกล่อมเกลาทางการเมืองที่มีอิทธิพลต่อทัศนะคติ ค่านิยม และทฤษฎีการมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างไม่เป็นทางการ แม้ว่าพลังการเคลื่อนไหวยังมีไม่มากพอที่จะเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเหมือนกับเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ซึ่งมีนิสิตนักศึกษาเข้าร่วมการเคลื่อนไหวฯ มากถึงร้อยละ 80-90 ก็ตาม แต่ประเด็นสำคัญคือข้อเรียกร้องให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญและการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์กลายเป็นโจทย์ปัญหาใหญ่ทางการเมืองที่รัฐไทยต้องเผชิญกับแนวคิดของคนรุ่นใหม่ในยุคดิจิทัลที่ได้รับการกล่อมเกลาทางการเมืองผ่านสื่อออนไลน์ในการแสดงสิทธิในการมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งจะกลายเป็นปัญหารื้อรังเกิดการเผชิญหน้าทางสังคมนำไปสู่ความขัดแย้งที่รุนแรงได้ ถ้าหากรัฐไทยยังพยามปิดกั้นเสรีภาพทางการเมืองด้วยการด้อยค่าพวกเขาว่าเป็นพวกม็อบรับจ้างพวกถูกล้างสมองก็จะส่อให้เห็นถึงความถดถอยของการพัฒนาทางการเมืองของไทย

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

Almond, Gabrial. A. and Powell, G. Bingham.Jr.(1966).Comparative Politics Today : A.

Development Approach. Boston. Little.& Brown.

BBC News.(2020) People's Party pin. Behind the scenes of the ceremony of embedding

the People's Committee 2020 from "Ph.D. Doctor", Khon Kaen Group. (Retrieved from https://www.bbc.com/thai/thailand-54232265)

Easton, David and Dennis, Jack. (1969). Children in the Political System. New York: McGraw – Hil

Ilaw. (2018). The Four Years of the NCPO: Symbols and Inventions of Karma. Challenging

military power." Retrieved from https://freedom.ilaw.or.th/en/ node/574.

Kiengsak Chetpatanavanich, (1998) Timeline of Thai political events, 14 October 1973 to

October. 1976. Bangkok: Foundation for the Social Sciences and Humanities Textbook Project

Kitchaiyakul Inkaew. The dynamics of the environmental movement in people's politics.

Doctorate of Dissertation (Politics) : Ramkhamhaeng University

Matichon Online, (28 July 2563) political sign From running, running, 'Hamtaro', the point of out of politics. (Retrieved from https://www.matichon.co.th/article/news_2283138)

Nithi Nithivirakul. (2018). Democracy Week 2017 project, youth and politics. “Why are

you a student and not going to school?” (Retrieved from https://waymagazine.org/power_of_youth_in_politics/).

Paiboon Sirachumthan. (1996) Rural Restoration Foundation of Thailand under the Royal

Patronage of His Majesty the King. In Wanrak Mingmaneemongkol. (Editor). 80 years, the teacher is sick in life and work. (Pages 101-111).Bangkok: Thammasat University Press.

Prachatai.(2557). coup d'etat 2557 (Retrieved from https://prachatai.com/category %A1-2557)

Prajak Kongkirati.(2548). And then the movement appeared... Politics and culture of students and intellectuals before October 14. Bangkok: Thammasat University Press..

Seksan Sonwa, (2018). Book Review of Theory of Social Movements and Political

Protests, Yala Rajabhat University Journal. Year 13; 2 (May-Aug. 2018). Pages 359-362

Somchai Saenpoom (2019). Students and Political Movements on the 1st Anniversary of

the Coup of General Prayut Chan-ocha. Journal of Faculty of Human Society and Arts. Silpakorn University. Year 12 : 1 pages 1089-1160

Suthachai Yimprasert. (2003). The History of Thai Democracy. Second Edition. Bangkok:

P.Press, 2008.

Thanapong Jitsa-nga. (2015). The political conflict between Pridi Banomyong and Puey

Ungphakorn.Sanya Thammasak and the conservative group during Field Marshal Thanom-Prapas government 1970-1973. Journal of History, Vol. 2, Year 1 (Apr-Sept.)