การศึกษาการบริหารจัดการวัสดุเหลือใช้จากการก่อสร้างที่มีพื้นที่ดำเนินการขนาดใหญ่ : กรณีศึกษาโครงการก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิกส์ อำเภอบางประกง จังหวัดฉะเชิงเทรา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดการวัสดุเหลือใช้จากโครงการก่อสร้างที่มีพื้นที่ดำเนินการขนาดใหญ่ 2) การวางแผนการบริหารจัดการวัสดุเหลือใช้จากโครงการก่อสร้าง โดยทำการศึกษาพื้นที่ของโครงการก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิกส์ อำเภอบางประกง จังหวัดฉะเชิงเทรา ที่ดำเนินการโดยบริษัทประกอบธุรกิจก่อสร้างที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล กลุ่มผู้ให้ข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ได้แก่ บุคลากรที่มีประสบการณ์ในการบริหารงานก่อสร้าง ระดับผู้บริหาร จำนวน 5 คน วิศวกร จำนวน 2 คน ผู้ควบคุมงาน จำนวน 1 คน ช่างเทคนิค จำนวน 1 คน ผู้รับเหมา จำนวน 3 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็น แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้างเป็นคำถามปลายเปิดเกี่ยวกับสภาพการจัดการวัสดุเหลือใช้จากโครงการก่อสร้าง และการวางแผนการบริหารจัดการวัสดุเหลือใช้จากโครงการก่อสร้างที่มีพื้นที่ดำเนินการขนาดใหญ่ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและจำแนกการจัดระบบของข้อมูล
ผลการวิจัย พบว่า วัสดุเหลือใช้จากการก่อสร้างประเภทเหล็ก เกิดการสูญเสียจากการดำเนินงานมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 10 โดยเมื่อคิดเป็นมูลค่ารวมของวัสดุเหลือใช้จากการก่อสร้างทุกประเภทแล้ว มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 15,900,000 บาท และในส่วนของการวางแผนการบริหารจัดการวัสดุก่อสร้าง พบว่า บริษัทได้กำหนดการวางแผนการบริหารจัดการวัสดุก่อสร้าง ออกเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ก่อนการดำเนินงาน มีการจัดทำแผนการดำเนินงาน โดยเริ่มจากการศึกษารายละเอียดของแบบ และทำการถอดแบบโดยวิศวกร เพื่อแจกแจงรายละเอียดของประเภทวัสดุประเมินราคาและความสูญเสียจากการดำเนินงาน 2) ระหว่างการดำเนินงาน มีการมอบหมายความรับผิดชอบให้บุคลากร ทำการจัดซื้อวัสดุ ตรวจรับ จัดเก็บ ควบคุมดูแลรักษา และเบิกจ่ายวัสดุ 3) หลังการดำเนินงาน มอบหมายบุคลากรตรวจคลังพัสดุคงเหลือ ประมาณร้อยละ 10 ซึ่งมีทั้งวัสดุที่สามารถนำไปใช้ต่อได้ และที่เสื่อมสภาพการใช้งาน
Article Details
References
Aksorn Sawasdee. (1999). Cognition and Awareness of Environmental Conservation of High School Students: Case Study in Bangkapi District Bangkok. Master's Degree Thesis, (Social Development) Bangkok: National Institute of Development Administra-tion. Photocopy.
Chatchaphon Songsunthornwong. (2003). Man and the environment. Bangkok: Dan Suttha Printing Co., Ltd.
Chiranuwat Chanjorn. (2002). Study of construction waste management guidelines in the country. (Master's thesis). Department of Civil Engineering Faculty of
Engineering, King Mongkut's University of Technology North Bangkok.
M. Zbašnik-Senegačnik & Ljudmila Koprivec. (2020). Construction Waste as a Resource in a Sustainable Built Environment. GradbeniI Odpadki Kot Surovina V Tra jnostnem Grajenem Okolju : 28 –36.
Nirada Pitchayapanya. (2018). A Study of Waste Management from Construction Scraps in a Project: A Case Study Miyaki Seki Factory. journal of Public Administra-tion Suan Sunandha Rajabhat University. No 1, Issue 3 (September-December 2018). Bangkok.
Pollution Control Department. (2011). Regulations and practices for controlling dust from various types of construction. Air Quality and Noise Management Bureau
Pollution Control Department, Ministry of Natural Resources and Environment
: Bangkok.
Surasak Prinyaratanachai. (2001). Management concepts. Retrieved on June 1, 2013,
from: http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Rec_Man/Teerin_P.pdf.
Thepparit Montkaew & Jongrak Pholprasert. (2020). Scrap management in high-rise building construction projects: a case study of the Ascott Ambassador Sathorn project. Academic Conference Documents., The 25th National Civil Engineer-ing Program, Date 25-17 July 2020, Chonburi.
Udayangani Kulatunga, Dilanthi Amaratunga and Richard Haigh. (2006). Attitudes and perceptions of construction workforce on construction waste in Sri Lanka. Management of Environmental Quality: An International Journal, Vol. 17 No. 1,
pp. 57-72
Vinai Veeravatnanond. (1996). Environmental Education for SustainableDevelopment. Bangkok: Song Siam Co., Ltd.
Wassana Uthaisang. (2016). Awareness Risk Management and Risk Management Implemen-tation of Mahasarakham University personnel. Planning Division, Office of the Presi-dent. 2016.