ภูมิวัฒนธรรมและการเปลี่ยนแปลงของตลาดน้ำในพื้นที่กรุงเทพฯ ฝั่งตะวันตก

Main Article Content

พัทธนันท์ รัตนวรเศวต
พรรณี บัวเล็ก

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงและการดำรงอยู่ของตลาดน้ำในบริเวณพื้นที่รูปเกือกม้า ซึ่งประกอบด้วยสภาพของตลาด ที่ตั้ง และวิถีชีวิตของคนที่อยู่ในพื้นที่ โดยแบ่งตามช่วงเวลานับตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงการรื้อฟื้น 2) เพื่อศึกษาปัจจัยทางสภาพภูมิวัฒนธรรมของพื้นที่กรุงเทพฯ ฝั่งตะวันตกซึ่งมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงและการดำรงอยู่ของตลาดน้ำ การวิจัยนี้ใช้การบูรณาการแบบสหวิทยาการ โดยใช้ความรู้ทางภูมิศาสตร์ร่วมกับประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและมานุษยวิทยา การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ สำรวจเก็บข้อมูลภาคสนามและศึกษาเอกสารเป็นส่วนประกอบ การวิเคราะห์ข้อมูลแบ่งออกเป็น 3 ช่วงเวลา


            ผลการศึกษาพบว่า 1) ช่วงเวลาที่มีการเกิดขึ้นสมัยต้นรัตนโกสินทร์และรุ่งเรืองของตลาดน้ำในพื้นที่กรุงเทพฯ ฝั่งตะวันตก (ทศวรรษ 2410-2490) มาจากภูมิวัฒนธรรมของความเป็นพื้นที่เมืองแห่ง            คูคลอง เครือข่ายการสัญจรทางน้ำที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อกันภายในพื้นที่ ร่วมกับการการสัญจรระบบรางหรือเส้นทางรถไฟที่ทำหน้าที่เชื่อมโยงเศรษฐกิจการค้าภายในกับการค้าภายนอกพื้นที่ 2) ช่วงเวลาการเสื่อมของตลาดน้ำในพื้นที่กรุงเทพฯ ฝั่งตะวันตก (ทศวรรษ 2500-2520) เป็นผลมาจากการตัดถนนทำให้บทบาทของเส้นทางการสัญญจรทางน้ำลดลง การล่มลงและการเลิกทำสวนในพื้นที่จากภาวะซ้ำซากของอุทกภัย รวมถึงคุณภาพของระบบนิเวศที่เคยเหมาะสมต่อการทำสวนเกิดการเปลี่ยนแปลงจากหมู่บ้านจัดสรรที่โอบล้อมเข้ามา ปัจจัยทางภูมิวัฒนธรรมเหล่านี้ส่งผลให้ตลาดน้ำซึ่งสัมพันธ์กับวิถีชีวิตของสังคมชาวสวนในอดีตซบเซาลง 3) การดำรงอยู่ของตลาดน้ำในช่วงเวลาที่มีกการรื้อฟื้น/สร้างใหม่ ในพื้นที่กรุงเทพฯ ฝั่งตะวันตก (ทศวรรษ 2530-2560) มาจากภูมิวัฒนธรรมของพื้นที่ในตำแหน่งที่ตั้งที่สัมพันธ์กับพื้นที่ริมน้ำ ทำให้สามารถสัญจรเข้าถึงได้ทั้งทางบกและทางน้ำ ความแตกต่างของตลาดน้ำในอดีตกับในปัจจุบันเห็นได้จากความจําเป็นของการเดินทางไปตลาด ในอดีตผู้คนในชุมชนเดินทางไปตลาดน้ำเพื่อไปซื้อหรือแลกเปลี่ยนสินค้าตามวิถีชีวิตที่เกิดขึ้นในทุกวัน แต่ในปัจจุบันตลาดน้ำกลายเป็นพื้นที่เพื่อการท่องเที่ยว

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

Chin Wangkaewhiran (2019). TCDC: “Floating Market”, predecessor of shopping centers. Retrieved February 10, 2019, from https://bit.ly /2QZnBBr.

Kiat Kitwakul et al. (1982). Markets in Bangkok: Expansion and Development. (Research Report). Bangkok: Chulalongkorn University.

Kriangkrai Kerdsiri. (2008). Community and cultural landscape. Bangkok: Southeast Asia.

Manuel Castells. (1986). High Technology, World Development, and Structural Transformation: The Trends and the Debate. Alternatives: Global, Local, Political, July 1.

Paiboon Changrern. (1973). Encyclopedia of Sociological Terms. Bangkok: Phrae Pittaya.

Polanyi, Karl. (2016). When the World Turns Up: The Industrial Revolution. Origins of politics and economy in modern times. (Pakwadee Weeraviphatphong, translation). Nonthaburi: same sky. (Original reprint 1994).

Preecha Piampongsant (2018). Green political economy and political ecology. Khon Kaen: Faculty of Humanities and Social Sciences Khon Kaen University

Ratree Topengphat. (2000). Floating Market: The Way of Life of Farmers in the Central Region. Bangkok: Fine Arts Department.

Samran Pholdee and Arhavi Jesamae. (2017). Puranawat Community: Landscape Culture for Local Database Development and Guidelines for Sustainable Tourism. HUSO Journal of Humanities and Social Sciences (Humanities and Social Sciences), 1(12), 52-53.

Srisak Walliphodm. (2014). A guide to the point of view. Meaning of cultural landscape. Education from within and local consciousness. Bangkok: Lek-Prapai Foundation persistence

Sudara Suchachaya. (2020). Photobook of Thonburi 250 years 1767-2017. Bangkok: Lek-Prapai Foundation. Persistence