การบริหารการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นไทย บนความหลากหลายทางวัฒนธรรม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การตั้งถิ่นฐานของชุมชนมีปัจจัยให้พิจารณาได้แก่ สภาพภูมิศาสตร์(พื้นที่) จำนวนประชากร วิถีชีวิต ความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์รวมถึงกลไกควบคุมทางสังคมอื่นๆเช่น ศาสนา ความเชื่อ เป็นต้น กระแสระบบนายทุนและความเป็นสมัยใหม่ สะท้อนให้เห็นบทเรียนการพัฒนาระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ การจัดการและแย่งชิง รวมถึงผลกระทบจากโครงการของรัฐหรือนโยบายของรัฐที่เน้นแต่การพัฒนา ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของผู้คนและส่งผลต่อความเสื่อมและการล่มสลายของความเป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมในแต่ละท้องถิ่น แต่ในความเป็นวัฒนธรรมนั้นจะมีวิวัฒนาการไปอย่างช้าๆ ดังนั้นการสื่อสารทางสังคมที่ดี มีความสำคัญที่ช่วยให้วัฒนธรรมเกิดการถ่ายทอดสืบทอดดำเนินต่อได้ ต้องมีปัจจัยมาเกื้อหนุนเช่น โครงสร้างของสังคม ความเป็นอิสระทางความคิด นโยบายที่ดีของรัฐ ซึ่งการจะพัฒนาท้องถิ่น สังคมหรือแม้แต่ประเทศ ต้องมองทั้งแบบองค์รวมและแบบแยกส่วน(เฉพาะด้าน)จะช่วยทำให้เข้าใจและมองเห็นความจริงได้ชัดเจน โดยเฉพาะส่วนท้องถิ่นที่มีปัจจัยทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม จำเป็นอย่างยิ่งต้องอาศัยคนในท้องถิ่นเป็นผู้ร่วมสร้างคือ ต้องสร้างจากคนใน ไม่ใช่ถูกสร้างจากคนนอกหรือจากข้อกำหนดของรัฐหรือจากประวัติศาสตร์ของรัฐ ต้องทำให้มีความสำนึกร่วมกันสู่การสร้างประชาสังคมในท้องถิ่น จนพัฒนาไปสู่การเกิดสัญญาประชาคม นอกเหนือจากปัจจัยดังกล่าวจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องอิงเรื่องของกฎหมาย การเมืองและการบริหารบ้านเมืองที่ดี รวมถึงแนวทางการปกครองตนเองที่มุ่งเน้นในการพัฒนาวุฒิภาวะของพลเมือง เมื่อพลเมืองมีความรู้ความเข้าใจจะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการพัฒนาทั้งการจัดการตัวตนและท้องถิ่นให้ยั่งยืนได้
Article Details
References
Anek Laothammatas.(2014). The local cause (second edition).Klangpanya Institutes
: Rangsit University.
Jumpol Nimpanich.(2005).Principe of New Public Administration : Sukhothai
Thammathirat Open University.
Office of the Permanent Secretary, Prime Minister Office.(2015). 15 years of
decentralization to Local. Bangkok.
Pakorn Siriprakrob.(2017).Three Paradigms in Administration (Third edition).Bangkok:
Cholalongkorn University.
Robert B.Denhardt. (2004).Theories of Public Organization (fourth edition). Arizona State
University: Wadsworth Group
Sayan Praichanjit.(2003). The Community Archaeology. Bangkok.
Wichitwong Na Pomphet.(2005). Democracy guide of The Pridi’s missive. Bangkok: Pridi Banomyong Institutes.