THE DEVELOPMENT OF PRODUCT OF THE TRICOLOR BATIK GROUP PAK PHANANG DISTRICT, NAKHON SI THAMMARAT PROVINCE
Main Article Content
บทคัดย่อ
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษา 1) สภาพปัจจุบันและปัญหาของกลุ่มผ้าปาเต๊ะสามสี อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช 2) รูปแบบผลิตภัณฑ์ผ้าปาเต๊ะดีไซน์ ของกลุ่มผ้าปาเต๊ะสามสี อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช 3) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าปาเต๊ะดีไซน์ ของกลุ่มผ้าปาเต๊ะสามสี อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ผู้วิจัยได้ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาจากเอกสาร และเก็บข้อมูลภาคสนาม โดยการสังเกต สัมภาษณ์ ประชุมเชิงปฏิบัติการจากกลุ่มประชากรคัดเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ กลุ่มผู้รู้ กลุ่มผู้ปฏิบัติ และกลุ่มผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 46 คน
ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันและปัญหาการพัฒนาของกลุ่มผ้าปาเต๊ะสามสี อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่า 1) ด้านการออกแบบผลิตตภัณฑ์ สมาชิกกลุ่มไม่มีทักษะด้านการออกแบบ การแปรรูปผลิตภัณฑ์ ขาดความวิเคราะห์ของผู้บริโภคทำให้การพัฒนาผลิตภัณฑ์ไม่มีรูปแบบที่หลากหลาย แนวทาง ควรมีวิทยากรในการออกแบบผลิตภัณฑ์ โดยจัดให้มีการอบรมให้ความรู้ เรื่องผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคให้มีความหลากหลาย 2) ด้านการถ่ายทอดภูมิปัญญา ขาดการถ่ายทอดองค์ความรู้ การเพ้นท์ผ้า จากรุ่นสู่รุ่นเนื่องจากไม่รู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ แนวทาง ควรมีการจัดอบรมระยะสั้นให้กับผู้สนใจ และโรงเรียนที่อยู่ภายในอำเภอ 3) ด้านงบประมาณสนับสนุน หน่วยงานของภาครัฐ ไม่มีงบประมาณสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง ที่จะจัดอบรมให้ความรู้เรื่องการออกแบบผลิตภัณฑ์ ทำให้ขาดความต่อเนื่อง แนวทาง หน่วยงานของภาครัฐ ควรมีงบประมาณสนับสนุน จัดวิทยากรมาให้ความรู้เรื่องการออกแบบ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลาย 4) ด้านการตลาด ทางกลุ่มไม่มีความรู้เรื่องการตลาด และไม่ได้สำรวจความต้องการของผู้บริโภค แนวทาง กลุ่มควรมีการสำรวจความต้องการของผู้บริโภค เพื่อจะได้ผลิตผลิตภัณฑ์ให้ตรงตามความต้องการของผู้บริโภค และมีช่องทางการจำหน่ายสินค้า 5) ด้านการประชาสัมพันธ์ กลุ่มไม่มีเครือข่าย ขาดการเชื่อมโยงเที่ดีกับแหล่งผลิตผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ขาดการนำเทคโนโลยีมาใช้ประชาสัมพันธ์สินค้า แนวทาง ควรมีการสร้างเครือข่าย มีการประชาสัมพันธ์ทางสื่อออนไลน์ เช่น เพจFacebook, LINE, TikTok, YouTube เพื่อให้ผู้บริโภครับรู้ข้อมูลข่าวสาร และช่องทางการสั่งซื้อผ่านทางอินเตอร์เน็ต รูปแบบผลิตภัณฑ์ผ้าปาเต๊ะดีไซน์ พบว่า ลวดลายของผ้าปาเต๊ะดีไซน์มีลายดังนี้ 1) ลายนกยูง
2) ลายดอกไม้ 3) ลายพัด 4) ลายใบไม้ และ 5) ลายเถาวัลย์ รูปแบบผลิตภัณฑ์มีเพียง 3 อย่าง ได้แก่ 1) ผืนผ้าปาเต๊ะดีไซน์ 2) พวงกุญแจที่ทำจากผ้าปาเต๊ะ 3) ดอกไม้ทำจากผ้าปาเต๊ะตกแต่งกระเป๋ากระจูด การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าปาเต๊ะดีไซน์ พบว่า มีการประชุมวางแผนร่วมกัน การดำเนินการพัฒนาจากผืนผ้าปาเต๊ะดีไซน์ มาเป็นกระเป๋า 2 แบบ ได้แก่ แบบที่ 1 กระเป๋าอเนกประสงค์ แบบที่ 2 กระเป๋าปากปิ๊กแป๊ก สมาชิกกลุ่มสามารถนำความรู้และทักษะในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ไปสร้างรายได้ สร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อเศรษฐกิจชุมชน
Article Details
References
Amorn Sophonwichetwong. (1997). Introduction to philosophy. Department of Philosophy
Ramkhamhaeng University.
Aporn Thongsaiphon. (2016). Femininity and Batik Design in Paintings. [Master's thesis,
Bansomdejchaopraya Rajabhat University].
Cooper, R. G., & Kleinschmidt, E. J. (1987). New products: What separates winners from
losers?. Journal of Product Innovation Management, 4(3), 169-184.
Natchana Nuanyang. (5 August 2019). Evolution of dress culture from the past to the present in the southern region. [Presentation document]. 2nd National Conference on Humanities and Social Sciences “Humanities and Social Sciences: Social Creation
Innovation” Faculty of Humanities and Social Sciences, Songkhla Rajabhat University.
Retrieved from https://human.skru.ac.th/husoconference/conf/O2.pdf
Piyanit Onoparatvibool. (2010). Creative economy and sufficiency economy: conflict or
harmony?. Journal of Economic and Social, 47(4), 4-5.
Preeyaporn Busaba. (2016). Karen’s Texture Product and design Development Ban Bueng Nur, in Banka Banka District, Ratchaburi Province. Research and development institute, Muban Chombueng Rajabhat University.
Provincial Community Development Office of Nakhon Si Thammarat. (2016). OTOP products
Nakhon Si Thammarat. Retrieved from http://www.nakhonsi.cdd.go.th.
Provincial Community Development Office of Pak Phanang District. (2021). History of Pak
Phanang District. Retrieved from http://www.pakphanangtown.go.th.
Supang Chantavanich. (2014). Qualitative research methods. (22nd ed.). Chulalongkorn
University Press.
Teerasak Unaromlert, Juriwan Chanpla, Thipwan Sukjairungwattana, Samphan Suksai, and
Wassana Malinin. (2015). Developing a model for creating innovation in the wisdom of the Sufficiency Economy to enhance potential In the sustainable competition of community enterprises in the product processing group, lower central provinces (Research report). Silpakorn University.
Wirun Tangcharoen. (1996). Art education (2nd ed.). Odeon Store.
Yupaporn Rupngam. (2002). Participation on Bureaucratic reform of the bureau of the
budget. [Master's thesis, National Institute of Development Administration].