การจัดทำแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชุมชนด้วยระบบภูมิสารสนเทศ ในชุมชนแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชุมชน และการประยุกต์ใช้ระบบภูมิสารสนเทศในการสร้างแผนที่ท่องเที่ยวชุมชนแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี โดยมีกลุ่มตัวอย่างจากผู้ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวชุมชนแหลมผักเบี้ย 12 ท่าน และประชาชนในชุมชนแหลมผักเบี้ย 20 ท่าน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาเพื่อหาความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย
ผลการศึกษาได้สร้าง วิสัยทัศน์การท่องเที่ยวชุมชนแหลมผักเบี้ย คือ “แหลมผักเบี้ย ต้นทางทราย ปลายทางเกลือ ชุมชนยั่งยืน น่าอยู่น่าเที่ยว ธรรมชาติสมบูรณ์ เกื้อกูลถิ่นวิถี เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน” และได้สร้างยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชุมชนแหลมผักเบี้ย 5 ด้าน คือ 1) การพัฒนาคุณภาพการท่องเที่ยวและกิจกรรมการท่องเที่ยว 2) การพัฒนาศักยภาพบุคลากรในการท่องเที่ยวชุมชนและการต้อนรับที่ดี การมีเครือข่ายการท่องเที่ยวชุมชน 3) การบริหารจัดการการท่องเที่ยวชุมชน เช่น แผนการพัฒนาท่องเที่ยวแบบมีส่วนร่วม 4) การพัฒนาและปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวก การให้บริการ และความปลอดภัยสำหรับนักท่องเที่ยว และ 5) การส่งเสริมการตลาดและประชาสัมพันธ์ การสร้าง MASCOT และพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน และนำมาบูรณาการกับระบบภูมิสารสนเทศสร้างเป็น 2 เส้นทางท่องเที่ยวชุมชน คือ 1) การเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนแหลมผักเบี้ย (พักกายพักใจในแหลมผักเบี้ย) 2) เส้นทางศึกษาวิถีชีวิตประมงชายฝั่งแหลมผักเบี้ย (Unseen แหลมผักเบี้ย)
Article Details
References
Akira Rachawiang. (2018). Development of geographic information systems to promote the tourism industry towards the ASEAN Community. Kanchanaburi Province. Documents from the national academic conference on Rajamangala University of Technology Phra Nakhon and presentation of creative research on business management and digital technology. Bangkok: Rajamangala University of Technology Phra Nakhon.
Natthapat Maneeroj. (2017). Community tourism management, Thai International Tourism Journal, 13(2). 25-46.
Panthip Atthawanit. (2010).Geography of Thai tourism. Bangkok: Ramkhamhaeng University Press.
Pochana Suansri. (2003) Community tourism management guide. Bangkok: Tourism for Life and Nature Project.
Pimrawee Rojrungsat. (2010). Community tourism. Bangkok: Odeon Store Publishing
Ratt Kanpai, Mayuree Watkaew, Pom Kimwangtako and Ketsarin Kongmian.(2019). Innovative executive directors ecotourism of the Laem Phak Bia Environmental Research and Development Project of the royal initiative Ban Laem District Phetchaburi Province. Phetchaburi: Rajabhat Phetchaburi University.
Wanitchaya Langkulkasetrin and Natnares Akasuwan. (2016). Application of information systems. Geography to promote Community tourism: Ko Yo Subdistrict, Mueang Songkhla District Songkhla Province. Documents from the national humanities and social sciences conference. No. 1 Humanities and Social Sciences: Intellectual Power for Sustainable Development. Songkhla: Songkhla Rajabhat University.521-530.
Sasicha Modmontil.(2019).Community tourism. Retrieved 8 June 2021, from
Supinthankarn Ruangwongsa and Nopporn Chueakham. (2022) Participatory development: Sustainable community development. Academic Journal of the Faculty of Humanities and Social Sciences. Phranakhon Rajabhat University, 7 (1).
Office of the Economic Development Board and national society. (2018).Vision and mission. Retrieved 15 October 2018, from http://www.eeco.or.th/about the agency/vision and mission.
Special Area Development Administration for Sustainable Tourism. (2018). Development Process Manual and raise the level of creative tourism activities. Bangkok: Bookplus Publishing Company Limited.
Verka JOVANOVIĆ and Angelina NJEGUŠ. (2013). The Use of GIS in Tourism Supply and WEB portal development, Retrieved 29 April 2020 from https://www.researchgate.net/publication/258889875_The_Use_of_GIS_in_Tourism_Supply_and_WEB_Portal_Development