หญ้าแฝก : การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่า อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยเรื่องนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาประวัติความเป็นมาของกลุ่มแม่บ้านหญ้าแฝก อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการพัฒนาผลิตภัณฑ์หญ้าแฝกของกลุ่มแม่บ้านหญ้าแฝก อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง 3) พัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์หญ้าแฝกของกลุ่มแม่บ้านหญ้าแฝก อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ผู้วิจัยได้ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาจากเอกสารและศึกษาในภาคสนาม ด้วยการสังเกต และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มตัวอย่าง
ผลวิจัยพบว่า ภูมิปัญญางานหัตถกรรมหญ้าแฝก เกิดจากการเรียนรู้ ทักษะ และการเข้าร่วมกิจกรรมอบรม พัฒนาผลิตภัณฑ์จากใบหญ้าแฝก ซึ่งจัดโดยการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยกลุ่มหญ้าแฝก อำเภอควนขนุนจังหวัดพัทลุง ได้มาขยายผลการใช้ประโยชน์จากใบหญ้าแฝกใน พ.ศ.2557 มีการสร้างกลุ่มผลิตภัณฑ์จากใบหญ้าแฝก และได้เริ่มผลิตผลิตภัณฑ์ออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยได้ถ่ายทอดความรู้จากนางจินต์ เทพกำเนิด สภาพปัจจุบันและปัญหาการพัฒนาผลิตภัณฑ์หญ้าแฝก พบว่า 1) ด้านการถ่ายทอดความรู้ภูมิปัญญากลุ่มแม่บ้านหญ้าแฝกจะมาทำงานหัตถกรรมจักสานได้ หลังจากทำอาชีพในครอบครัวแล้ว โดยใช้เวลาตอนกลางคืน การถ่ายทอดรุ่นสู่รุ่นยังไม่มีการถ่ายทอด แนวทางที่จะถ่ายทอดควรจะทำเป็นหลักสูตรอบรมระยะสั้นให้กับผู้สนใจ และโรงเรียนที่อยู่ในอำเภอควนขนุนได้เรียนรู้ โดยใช้นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการในเรื่องลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ 2) ด้านการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ สมาชิกกลุ่มไม่มีความรู้ด้านการออกแบบ แนวทางควรมีวิทยากร เข้ามาแนะนำเรื่องการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มีความทันสมัย 3) ด้านการตลาด กลุ่มหญ้าแฝกไม่มีความรู้เรื่องการตลาด ขาดช่องทางการจำหน่าย แนวทางแก้ไขคือ ควรมีช่องทางการจำหน่ายบนเว็บไซต์ มีเบอร์โทรศัพท์ ติดต่อกับลูกค้าทุกเครือข่าย 4) ด้านการสร้างเครือข่าย ไม่มีการสร้างเครือข่ายกับลูกค้าใหม่ ๆ ตามกลุ่มไม่มีผู้มีความรู้ทางด้านระบบการสื่อสารออนไลน์ แนวทางควรสร้างเครือข่ายกับกลุ่มหัตถกรรมอื่น เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ควรมีเพจเป็นของกลุ่ม และมีการสั่งซื้อทางเฟซบุ๊ก
การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์หญ้าแฝก ได้พัฒนาความรู้และทักษะในการออกแบบผลิตภัณฑ์สามารถดำเนินการพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้ 2 รูปแบบคือ รูปแบบที่ 1 กระเป๋าหญ้าแฝกรูปทรง 4 เหลี่ยม รูปแบบที่ 2 คือ กระเป๋าหญ้าแฝกที่นำผลิตภัณฑ์อื่นมาประสม การออกแบบคำนึงถึงความต้องการผู้บริโภค เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น
Article Details
References
Boonrueng Somprajoob. (2010). Wooden Hand Craft of the Central: Studies of local intellectual of manufacturing and developing for commerce [Doctoral Dissertation of Doctoral Degree, Mahasarakham University].
Chartchai Mukseang. (2000). Pattalaung. Ton-Aor 1999.
Eakawit Na Talang. (2005). Southern Wisdom (2nd Edition). Amarin.
Lucknawat Palarat. (2008). Aesthetics. Ramkhamhaeng University Printing House.
Nikom Chompulhong. (1999). Self-Training Manual Creating and Developing course by implying local intellect in field of home economics (Second Edition). Apichart Printing.
Nirand Jomgwutwet. (2007). Community Development Concepts. Rum Thai Press.
Niyapaan (Pholwattana) Wansiri. (1997). Anthropology and Cultural. Faculty of Social Sciences, Thammasat University.
Office of the National Economics and Social Development Council. (2002). Economics and Social Development Plans
Patcharin Sirasoontorn. (2007). Community Operation of Studies: Concept, Technique and Process. Chulalongkorn University Printing House.
Mae Hong Son Primary School. [Thesis of Master Degree, University***]
Seree Pongpitch. (2009). Practical Concept: Local Development Strategy (2nd Edition). Klangpanya.
Siripong Nualkeaw. (1997). Bringing Locals Intellectual to develop local studying course
Silpakorn].
Songkun Chantachorn.(2010).Teaching documents in theory culture and society. Mahasarakham University.
_______. (2009). Advanced cultural qualitative research. Prasan Printing.
Sophon Supaphong. (1998). Sufficiency Economy and Rural Communities. National Graduate Volunteer 9th Edition (2002-2006).
Supang Charnthawanich. (2010). Data Analysis in Qualitative Research (18th Edition). Chulalongkorn University Printing House.
Suttipong Wasusopaphol. (2003). Thai-Lue Woven Fabric: Community Economics for Self-Sustainable. O-dean Store.
Watcharin Jrungjitsoontorn. (2005). Principles and Concepts of Product Design. APP Printing Group.