THE HISTORICAL TOURISM DEVELOPMENT IN NAKHON NAYOK PROVINCE

Main Article Content

วชิรวิทย์ วิชาสวัสดิ์
วัชรินทร์ อินทพรหม
วณิฎา ศิริวรสกุล
วรรณพร บุญญาสถิตย์
พัลยมน สินหนัง
ณัฏฐา เกิดทรัพย์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์โบราณคดี และวัฒนธรรม 2) ปัจจัยที่เหมาะสมสำหรับการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์โบราณคดี และวัฒนธรรม และ 3) รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์โบราณคดี และวัฒนธรรม ของเมืองดงละคร ตำบลดงละคร จังหวัดนครนายก เป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ ด้วยการแจกแบบสอบถาม วิเคราะห์ด้วยสถิติจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน กับการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์เนื้อหาด้วยการตีความ เพื่อสร้างข้อสรุปแบบอุปนัยผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้


  1. ศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์โบราณคดี และวัฒนธรรมตำบลดงละคร มีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญด้านประวัติศาสตร์ โบราณสถานและวัฒนธรรม ที่สำคัญ ได้แก่ วัดมณีวงศ์ เมืองโบราณดงละคร
    วัดดงละคร กลุ่มแม่บ้านทำกระยาสารท หนองหิงหาย วัดคลองโพธิ์ วัดใหม่บำเพ็ญผล และวัดท่าอิฐ

  2. ปัจจัยที่เหมาะสมสำหรับการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์โบราณคดี และวัฒนธรรม ตำบลดงละคร
    5 ด้าน คือ ด้านการบริหารจัดการ ด้านความร่วมมือ ด้านการประชาสัมพันธ์ ด้านจิตสำนึกและการเห็นคุณค่าของโบราณสถาน วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และด้านความเข้มแข็งของชุมชน

  3. รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์โบราณคดี และวัฒนธรรมของเมืองดงละคร ตำบลดงละคร จังหวัดนครนายกที่เหมาะสม มี 2 รูปแบบ คือ 1. การท่องเที่ยวการท่องเที่ยวเชิงพุทธ 2. การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

          4. ข้อเสนอแนะการบริหารจัดการการท่องเที่ยว คือ 1) การบริหารจัดการที่ดี โดยการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกไว้อย่างป็นระบบ มีบุคลากรตามจุดเพื่อตอบคำถามและอธิบายถึงสถานที่และเรื่องราวสำคัญ ๆ
2) การมีส่วนร่วม โดยให้ชุมชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการดูแลวัด สถานที่ท่องเที่ยว เพื่อให้ชาวบ้านมีความรู้สึกการเป็นเจ้าของและมีรายได้เพิ่มขึ้น 3) การประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยว ด้วยการสื่อสารที่หลากหลาย 4) การสร้างจิตสำนึกและการเห็นคุณค่าของโบราณสถาน วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และ 5) การสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม และการสร้างอัตลักษณ์ชุมชนให้ชัดเจน

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

Business Research Division, Export-Import Bank of Thailand. (2012). What is ASEAN Tourism

Standards and How Should Thai Tourism Business Adjust to Comply with It?. Retrieved February 3, 2023, from http://www.exim.go.th/...12/enewsdec2012AEC.

Department of Tourism. (2016). Project for Preparation and Development of Improvement

of Thai Tourism Standards and International Tourism Standards for Fiscal Year 2016 Activity 1 Preparation of Tourism Standards/ ASEAN Tourism Standards International Tourism Standards (Community Based Tourism Standard). Bangkok: Department of Tourism.

Jarima Uparanakruea. (2014). “Bowing to Nine Temples”: Tourism and the Impact on

Cultural Resources (Master of Arts Thesis). Bangkok: Silpakorn University.

Phra Khru Wisutthisilaphiwat (Methaphiwat Tiko). (2015). Model of Temple Development as

a Cultural Tourism Destination. MCU Journal of Humanities Perspective, 1(2), 65-73.

Phra Maha Suriya Masanthia (2015). Research on the Effectiveness of Marketing Strategies

for Promoting the Value of Buddhist Tourism in Royal Temples in Bangkok. Siam University, Bangkok. Burapha Business Review, 10(1) January-June, 46-56.

Phra Munin Munintho (Kongchandee). (2018). Tourism Management of Buddhist Temples

in Bang Phli District, Samut Prakan Province (Master of Buddhist Studies Thesis in Buddhist Management). Ayutthaya: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Phra Rapin Phutthisaro. (2016). Dhammayuttika Nikaya in Cambodia: Political and Religious

Relations between Thailand and Cambodia. ASEAN Buddhist Journal, 1(2) July-December.

Phatcharaphon Rittem. (2015). Management Model of Religious and Cultural Tourism in

Temples. Journal of Arts, Ubon Ratchathani University. 11(1), 1-23.