THE PRESERVATION AND INHERITANCE OF THE TRADITION OF LUANG PHO KHIAO SUKHOPHUTTHO BHAWAWA, WAT HUAKU SAMUT PRAKAN PROVINCE

Main Article Content

สุกฤตาวัฒน์ บำรุงพานิช

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประวัติความเป็นมาประเพณีแห่ผ้าห่มหลวงพ่อเขียวสุโขพุทโธภควา  2) อนุรักษ์และสืบสานประเพณีแห่ผ้าห่มหลวงพ่อเขียวสุโขพุทโธภควา พื้นที่วิจัยในตำบลศีรษะ
จรเข้น้อย อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ วิธีการศึกษาจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและลงพื้นที่เก็บข้อมูลภาคสนามโดยการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วมการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง การสนทนากับกลุ่มเจ้าอาวาส และผู้เกี่ยวข้องกับวัดกลุ่มองค์การบริหารส่วนตำบลศีรษะจรเข้น้อย กลุ่มผู้นำชุมชน กลุ่มสตรีตำบลศีรษะจรเข้น้อย กลุ่มสภาวัฒนธรรมอำเภอบางเสาธง  กลุ่มชาวบ้านและกลุ่มผู้รู้ท้องถิ่นในอำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ


          ผลการวิจัยพบว่า 1) ประวัติความเป็นมาประเพณีแห่ผ้าห่มหลวงพ่อเขียวสุโขพุทโธภควาเกิดขึ้นใหม่จากแรงศรัทธาของคนในชุมชนศีรษะจรเข้น้อยที่มีต่อองค์หลวงพ่อเขียวสุโขพุทโธภควา ได้มีแนวคิดร่วมกับคนในชุมชนจัดงานประเพณีแห่ผ้าห่มหลวงพ่อเขียวสุโขพุทโธภควา มีการจัดขบวนแห่ผ้าห่มหลวงพ่อเขียวสุโขพุทโธภควาเกิดขึ้นในรูปแบบขบวนเล็ก ๆ แห่ไม่มีรูปแบบที่ชัดเจน 2) การอนุรักษ์และสืบสานประเพณีแห่ผ้าห่มหลวงพ่อเขียวสุโขพุทโธภควา เป็นประเพณีประดิษฐ์เพื่อพัฒนารูปแบบกิจกรรมขบวนแห่ผ้าห่มหลวงพ่อเขียวสุโขพุทโธภควา โดยได้ปรับเปลี่ยนลักษณะบางประการ ให้เหมาะสมกับยุคสมัยมากขึ้น ให้เยาวชนรุ่นหลังไม่หลงลืมประวัติศาสตร์ มีการประดิษฐ์ดนตรีการรำแห่ขบวนผ้าห่มหลวงพ่อเขียวสุโขพุทโธภควา นำจังหวะกลองยาวมาผสมผสานกับทำนองเพลงพม่ากลองยาว มีจังหวะสนุกสนาน มีการประดิษฐ์รำแห่ขบวนผ้าห่มหลวงพ่อเขียวสุโขพุทโธภควา ได้นำท่ารำมาจากท่ารำแม่บทเล็กและได้มีการประดิษฐ์เครื่องแต่งกายประกอบการรำแห่ขบวนผ้าห่มหลวงพ่อเขียวสุโขพุทโธภควา

Article Details

How to Cite
บำรุงพานิช ส. (2024). THE PRESERVATION AND INHERITANCE OF THE TRADITION OF LUANG PHO KHIAO SUKHOPHUTTHO BHAWAWA, WAT HUAKU SAMUT PRAKAN PROVINCE. วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 8(2), 61–76. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/husojournalpnru/article/view/275901
บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

Chanthana Lamsakun. (2007). The creative imagination of Thai dance (Jintanakarn). Bangkok: Arts Program in Theatre, Faculty of Fine and Applied Arts, Thammasat University.

Methawee Siriwong. (2013). Invented tradition and cultural resource management: A case

study of San Don Ta Festival, Amphoe Khunkhan, Si Sa Ket province. [Master’s Thesis, Silpakorn University].

Nipatpong Pumma, & Narongkan Rodsap. (2012). Nostalgia in Thai Tourism Industry [Special issue]. Mekong-Salween Civilization Studies Journal. 3, 47-59.

Pinwadee Srisupan, Yaowalak Apichatvullop, & Kanokwan Manorom. (2011).

Detraditionalization: A transformation of the Bun Bangfai Rocket Festival in the age of globalization. Journal of Mekong Societies, 7(2), 27-48.

Tanawat Nitipaparnan. (2015). The production of cultural space for tourism: A case study of plernwan, Hua-Hin district, Prachuabkirikhan province. [Doctoral dissertation,

Thammasat University].

Wat Huaku. (2010). History documents of Wat Huaku. Bang Sao Thong District, Samut

Prakan Province.

Wimon Damsri. (2014). Royal robes bestowed: Factors and media to promote the continuation of the tradition of parades of robes up to the elements of Nakhon Si Thammarat. Nakhon Si Thammarat: Cultural Centre, Nakhon Si Thammarat Rajabhat University.