BELIEFS, RITUALS, AND THE ROLES OF THE ORIGINAL CITY PILLAR SHRINE IN PAK KLONG OM, NONTHABURI PROVINCE
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประวัติความเป็นมาและความสำคัญของศาลเจ้าพ่อหลักเมืองเดิม ปากคลองอ้อม จังหวัดนนทบุรี 2) วิเคราะห์ความเชื่อ ประเพณี และพิธีกรรมของศาลเจ้าพ่อหลักเมืองเดิม ปากคลองอ้อม จังหวัดนนทบุรี 3) วิเคราะห์สัญลักษณ์ที่ปรากฏภายในศาลเจ้าพ่อหลักเมืองเดิม ปากคลองอ้อม จังหวัดนนทบุรี และ 4) วิเคราะห์บทบาทหน้าที่ของศาลเจ้าพ่อหลักเมืองเดิม ปากคลองอ้อม จังหวัดนนทบุรี งานวิจัยฉบับนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพที่ศึกษาข้อมูลจากเอกสารและใช้วิธีเก็บข้อมูลภาคสนามด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่างวิจัย คือ กลุ่มคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับศาลเจ้าพ่อหลักเมืองเดิม ปากคลองอ้อม จังหวัดนนทบุรี และนักท่องเที่ยวและผู้เลื่อมใสศรัทธา จำนวน 50 คน และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์แล้วนำเสนอผลการศึกษาวิจัยแบบพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า 1) ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองเดิม ปากคลองอ้อม จังหวัดนนทบุรี เป็นสถานที่สำคัญทางศาสนาและวัฒนธรรม เพื่อเป็นศาลประจำเมือง ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยผสมผสานทั้งวัฒนธรรมไทย จีน และศาสนาพราหมณ์ฮินดูเข้าด้วยกัน 2) ความเชื่อต่อเจ้าพ่อศาลเจ้าพ่อหลักเมืองเดิม ปากคลองอ้อม มี 7 ประการ ได้แก่ ความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพ โชคลาภ การขอบุตร การงาน การศึกษา ความปลอดภัยและความรัก ซึ่งความเชื่อเหล่านี้ยังคงปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันและผู้ที่มีความศรัทธาต่อเจ้าพ่อศาลหลักเมืองเดิมนั้นยังได้เข้าร่วมพิธีกรรมต่าง ๆ ในรอบปีของเจ้าพ่อศาลหลักเมืองเดิม ปากคลองอ้อม ซึ่งมี 4 พิธีกรรม ได้แก่ พิธีกรรมในเทศกาลตรุษจีน เทศกาลไหว้พระจันทร์ เทศกาลกินเจ และประเพณีงานสมโภชศาลเจ้าพ่อหลักเมือง 3) สัญลักษณ์ของเครื่องสังเวยและเครื่องบวงสรวงภายในศาลเจ้าพ่อหลักเมืองเดิม ปากคลองอ้อมสะท้อนให้เห็นถึงคติความเชื่อที่หลากหลาย โดยวัตถุเหล่านี้ทำหน้าที่แทนความหมายทางจิตวิญญาณและทำหน้าที่เชื่อมโยงผู้ศรัทธากับระบบความเชื่อที่ศาลเจ้าถือปฏิบัติ และ 4) จากความเชื่อและพิธีกรรมสะท้อนให้เห็นถึงบทบาทสำคัญของศาลเจ้าพ่อหลักเมืองเดิม ปากคลองอ้อม คือ บทบาทด้านจิตใจและสังคม ซึ่งเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจสำหรับผู้ศรัทธา ทำให้เกิดความสบายใจ ความมุ่งมั่นและมีกำลังใจในการต่อสู้กับชีวิต บทบาทด้านการตอบแทนช่วยเหลือสังคม โดยเป็นศูนย์รวมใจสร้างความสามัคคีทั้งภายในและภายนอกชุมชน นำไปสู่การแบ่งปันและสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อสังคม บทบาทด้านเศรษฐกิจ ผู้คนที่มาสักการะจะช่วยสร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชน อีกทั้ง ยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอีกด้วย และบทบาทด้านวัฒนธรรม คือ ศาลหลักเมืองเดิม ปากคลองอ้อม เป็นแหล่งที่มีการสืบทอดและเผยแพร่วัฒนธรรมจีน เพราะชาวบ้านในชุมชนและบริเวณโดยรอบศาลเจ้า รวมถึงผู้ศรัทธายังคงมีการสืบทอดความเชื่อและพิธีกรรมเหล่านี้ให้คงอยู่ในปัจจุบัน และการมีอยู่ของศาลเจ้ายังก่อได้เกิดการผสมผสานทางวัฒนธรรมระหว่างไทยกับจีนได้เป็นอย่างดี
Article Details
References
Achirach Chaiyapodpanich. (2018). Chinese Shrines in Bangkok. Bangkok: Matichon.
Anantasarn, S.& Bunpanyaroj, S. (2017). Belief Systems and Folk Religions. (2nd Edition). Bangkok: Ramkhamhaeng University Press.
Anuman Rajadhon. (1989). Collection of Customs and Traditions. Bangkok: Kurusapa Publishing Organization.
Arunphak, K. (2010). Shrines: Chinese Shrines in Bangkok. Bangkok: Museum Press.
Boontam, D. (2014). A Trip Around the Oam River, Nonthaburi Province. Retrieved June 18, 2024, from http://www.thaistudies.chula.ac.th/2018/09/29/ชวนเที่ยวแม่น้ำอ้อม-จัง/
Geertz, C. (2000). Available Light: Anthropological Reflections on Philosophical Topics. Princeton: Princeton University Press.
Kaewthep, K. (2017). Tools for Community Culture Work and Ritual Media Studies. 2nd Edition. Bangkok: Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre.
Nilsanguandecha, J. (January-June 2018). Chinese Shrines: Places of Faith in Thai Society. In Journal of Language and Culture, Issue 1, pp. 45-70.
Phunwong, T. (2013). History of Phuket City. Bangkok: Odeon Store.
Plengprachaya, W. (2017). Ancient Beliefs: Wisdom for Mindful Living. Bangkok: Europa Press.
Rabibhadana, A. (2008). Culture as Meaning: The Theory and Methods of Clifford Geertz. Bangkok: Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre (Public Organization).
Runra, P. (2014). Suat Nopphakhro ritual: Dynamism of an invented tradition in present thai society. Doctor of Philosophy Thesis, Thai Language, Faculty of Arts, Chulalongkorn University.
Sakulsueb, P. (2022). "water" in the regime of Thai traditions and rituals. Doctor of Philosophy Thesis, Folklore, Naresuan University, Phitsanulok,
Sakunasin, L. (2013). Beliefs and Traditions: Birth, Marriage, Death. Bangkok: Proud Press.
Sujjaya, S. (Editor). (2006). Rituals, Legends, Folktales, and Songs: The Role of Folklore in Thai Society. (2nd Edition). Bangkok: Academic Publishing Project, Faculty of Arts, Chulalongkorn University.
Suthamdee, A. (2015). Folkloristics. Bangkok: Bansomdejchaopraya Rajabhat University.
Suwannamalee, Jantana. (1986). Malai. Bangkok: Odeon Store.
Wiratchaniphawan, N. (1989). Spirit Medium: Its Role in Contemporary Society, A Case Study in Mueang District, Chachoengsao Province. Master’s thesis in Arts, Silpakorn University.