แนวทางการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล ของสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
แนวทางการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล ของสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานครเป็นการ วิจัยเชิงสำารวจที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล ของสถาบันการ อาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร และเพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล ของผู้บริหารกับหัวหน้าแผนกวิชา ของสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร ตามแนวคิดการบริหารกิจการ บ้านเมืองและสังคมที่ดี คือ หลักธรรมาภิบาล (Good governance) ซึ่งประกอบด้วยหลักสำาคัญ 6 ประการ คือ หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่า เพื่อประโยชน์ในการปรับปรุง และพัฒนาสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร ให้มีความเจริญก้าวหน้าและ มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา เป็นผู้บริหารและหัวหน้าแผนกวิชา ของวิทยาลัยในสังกัด สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร จำานวน 13 สถานศึกษา รวม 165 คน ประกอบด้วย ผู้บริหาร จำานวน 55 คน และหัวหน้าแผนกวิชา จำานวน 110 คน ผู้ศึกษาได้จัดทำาเครื่องมือเพื่อทำาการศึกษา เป็นแบบสอบถาม มี 3 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 สอบถามข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 เป็นการสอบถามเกี่ยวกับแนวทาง การบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล และตอนที่ 3 แบบสอบถามปลายเปิด เพื่อให้ผู้ตอบได้แสดงความคิดเห็น ขอ้เสนอแนะ และแนวทางในการบรหิารจดัการตามหลกัธรรมาภบิาล ของสถาบนัการอาชวีศกึษากรงุเทพมหานคร สถติิ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t-test
ผลการวิจัย แนวทางการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล ของสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร สรุปได้ดังนี้ 1) แนวทางการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล ของสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ หลักธรรมาภิบาล (Good governance) ซึ่งประกอบด้วย หลักสำาคัญ 6 ประการ คือ ด้านหลักนิติธรรม ด้านหลักคุณธรรม ด้านหลักความโปร่งใส ด้านหลักการมีส่วนร่วม ด้านหลักความรับผิดชอบ และด้านหลักความคุ้มค่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของ ผู้บริหารกับหัวหน้าแผนกวิชาที่มีต่อแนวทางการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล ของสถาบันการอาชีวศึกษา กรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และรายด้านทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านหลักนิติธรรม ด้านหลักความโปร่งใส ด้านหลักความร่วมมือ ด้านหลักความรับผิดชอบ และด้านหลักความคุ้มค่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ยกเว้นด้านหลักคุณธรรม ไม่มีความแตกต่าง
Article Details
References
สมคิด บางโม. (2545). การบริหาร. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2542). การบริหารหลักการทฤษฎีและประเด็นทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ทิพยวิสุทธิ์.
พิทยา บวรวัฒนา. (2546). การบริหารเชิงบูรณาการ. นนทบุรี : สำนักงานข้าราชการพลเรือน.
ลูเธอร์ กูลิค. (2545). ทฤษฎีองค์การ : ฉบับมาตรฐาน. กรุงเทพมหานคร : ธรรมสาร.
นภิาพร อดุรทพิย์ และคณะ. (2554). การบรหิารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำาบลในเขตอำาเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์. บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหาสารคาม.