การพัฒนารูปแบบจัดการเรียนรู้ แบบห้องเรียนกลับด้าน สำาหรับนักศึกษาฝึกอาชีพในสถานประกอบการ

Main Article Content

อาทิตย์ กลีบรัง
มนัสรี สังข์เผื่อน

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านสำาหรับ นักศึกษาฝึกอาชีพในสถานประกอบการ 2) เพื่อประเมินรูปแบบการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านสำาหรับ นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพในสถานประกอบการ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เชี่ยวชาญ จำานวน 3 ท่าน โดยผู้วิจัย ได้เลือกกลุ่มตัวเอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ซึ่งมีประสบการณ์ด้านการรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ด้านการออกแบบการเรียนการสอน และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เครื่องมือที่ใช้วิจัย คือ แบบประเมินความเหมาะ สมของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบนมาตรฐาน


          ผลการวิจัย พบว่า 1) ได้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านที่ประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 คือ สื่อการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ (Online Learning) เป็นส่วนที่ให้เนื้อหา การตั้งคำาถามเพื่อการสืบค้น ข้อมูล และแหล่งข้อมูลในการสืบค้น บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต ส่วนที่ 2 คือ การแลกเปลี่ยน เรียนรู้ (Discussion) เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์จากสถานประกอบการและจากสื่อการเรียน รู้ออนไลน์ผ่านกระบวนการกลุ่ม การนำาเสนอ การอภิปรายสรุปผล โดยมีครูผู้สอนและครูฝึกเป็นผู้ให้คำาแนะนำา ส่วนที่ 3 คือ กระบวนการฝึกอาชีพ (Field work Experiences) เป็นกิจกรรมของผู้เรียนในสถานประกอบการ ซึ่งได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ได้รับองค์ความรู้จากสถานประกอบการ และคำาแนะนำาจากครูฝึกสถานประกอบการ ส่วนที่ 4 คือ ครูผู้สอนและให้คำาชี้แนะ (Facilitators) ให้คำาชี้แนะแนวทางให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ตามจุดประสงค์รายวิชา การวิเคราะห์กิจกรรมให้สอดคล้องกับภาระงานในสถานประกอบการ การกำาหนดกิจกรรมการเรียนรู้ และการเตรียม ปัจจัยสนับสนุนต่างๆ จนสามารถสร้างสรรค์ชิ้นงานโครงงานออกมาได้ 2)


          ผลการประเมินรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ทำาการประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เห็นว่ารูปแบบการ จัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านสำาหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพในสถานประกอบการมีความเหมาะสมใน ระดับมาก (X –) = 4.33, S.D. = 0.49)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สำานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2555.) แนวปฏิบัติเกี่ยวกับหลักสูตรการอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2552.) ห้องเรียนกลับทาง : ห้องเรียนมิติใหม่ในศตวรรษที่ 21. เอกสารประกอบการประชุมผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 ณ ห้องประชุมเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพ่เขต 2 (ส่วน 2) วันที่ 21 พฤษภาคม 2556.

วิจารณ์ พานิช. (2551.) ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับทาง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : เอสอาร์พริ้นติ้งแมสโปรดักส์.

ปิยะวดี พงษ์สวัสดิ์ และณมน จีรัง สุวรรณ. (2558.) การออกแบบรูปแบบการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน โดยใช้กิจกรรม Web Quest เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรมพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. ปีที่ 6 ฉบับที่ 1. 151-158.

กิตติพันธ์ อุดมเศรษฐ์ ปราวีณยา สุวรรณ ณัฐโชติ และอรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง. (2560.) การพัฒนารูปแบบการออกแบบการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้กลับด้านตามกรอบ แนวคิดทีแพคและทฤษฎีขยายความคิดสำหรับครูมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีที่ 19 ฉบับที่ 4. 24-38.

ณมน จีรังสุวรรณ. 2556. หลักการออกแบบและการประเมิน. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร : ศูนย์ผลิตตำราเรียนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.