การพัฒนาชุดฝึกอบรมการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ ในการซ่อมบำารุงรักษาภายในอาคาร งานระบบไฟฟ้า ประปา เครื่องปรับอากาศภายในอาคารและระบบสัญญาณเตือนอัคคีภัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างชุดฝึกอบรม เพื่อประเมินคุณภาพชุดฝึกอบรม และประสิทธิภาพ ของชุดฝึกอบรมเรื่องการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ในการบำารุงรักษาภายในอาคารของงานระบบไฟฟ้า ประปา เครื่องปรับอากาศและงานระบบสัญญาณเตือนอัคคีภัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ พนักงานในแผนกช่างซ่อมบำารุงของ บริษัท เดอะ แพลทินัม กรุ๊ป จำากัด (มหาชน) จำานวน 15 คน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่าง แบบเจาะจง (Purposive Sampling)
ผลการวิจัยพบว่า ผลการสร้างชุดฝึกอบรม พบว่า ชุดฝึกอบรม ประกอบด้วย 5 หัวข้อดังนี้
1.การใช้งานมัลติมิเตอร์
2. การใช้งานแคลมป์มิเตอร์
3. การใช้งานเกจวัด
4. การใช้งานประแจเลื่อน
5. การใช้งานสโมคดีเทคเตอร์ ผลการประเมินคุณภาพชุดฝึกอบรมโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า มีความคิดเห็น ในระดับมาก ผลประเมินประสิทธิภาพของชุดฝึกอบรม พบว่า ประสิทธิภาพของชุดฝึกอบรม 86.00/81.43
สูงกว่าเกณฑ์ที่กำาหนดไว้คือ 80/80 และมีคะแนนเฉลี่ยด้านการปฏิบัติ ร้อยละ 91.11 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำาหนด ไว้คือร้อยละ 80 และผู้เข้ารับการอบรมประเมินความคิดเห็นหลังจากฝึกอบรมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
Article Details
References
ปิยะพร อริยขจร. (2556). คลัสเตอร์เครื่องมือเพื่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน กรณีศึกษา : กลุ่มคลัสเตอร์บรรจุภัณฑ์โลหะกรุงเทพฯและปริมณฑล. เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
การไฟฟ้านครหลวง. (2543). การใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย. กรุงเทพมหานคร : วิสปา เอเชีย.
สุรินทร์ เศรษฐมานิต และทาเคโอะ มอริมูระ. (2543.) วิศวกรรมงานท่อภายในอาคารการออกแบบการติดตั้งและการบำรุงรักษากรุงเทพมหานคร : บริษัท ดวงกมลสมัย จำกัด.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปะการศึกษาศาสตร์วิจัย ปีที่ 5 ฉบับที่ 1.7-20.