ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจลาออกของพนักงาน บริษัท รักษาความปลอดภัย ยู.พี.พี. อินเตอร์ กรุ๊ป จำกัด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจลาออก เพื่อเปรียบเทียบ การตัดสินใจลาออกของพนักงานจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัย การบริหารงานกับการตัดสินใจลาออกของพนักงานบริษัท รักษาความปลอดภัย ยู.พี.พี. อินเตอร์ กรุ๊ป จำกัด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ พนักงานบริษัท รักษาความปลอดภัย ยู.พี.พี. อินเตอร์ กรุ๊ป จำากัด จำานวน 133 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test ค่า F-test และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า
1. พนักงานส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 42-50 ปี การศึกษาระดับการศึกษามัธยมศึกษา ปีที่ 3 รายได้ระหว่าง 14,001-15,000 บาท สถานภาพโสด และประสบการณ์ทำางานน้อยกว่า 1 ปี
2. พนักงานมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยบริหารโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากคือ ด้านความปลอดภัยรองลงมาคือ ด้านนโยบายและการบริหารงานและด้านความสัมพันธ์กับผู้ร่วมงาน ส่วนด้านที่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลางคือ ด้านเงินเดือนและสวัสดิการ
3. พนักงานมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการตัดสินใจลาออกโดยรวมอยู่ในระดับน้อย เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่พนักงานมีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลางคือ จะลาออกจากงานทันที ถ้าได้งานใหม่ที่ดีกว่า ส่วนข้อที่พนักงานมีความคิดเห็นอยู่ในระดับน้อยคือ ความคิดที่อยากจะเปลี่ยนไปทำางานที่อื่น รองลงมาคือ ตดิตามข่าวประกาศรับสมัครงานตามหน่วยงานหรือคนรู้จักเพื่อหางานใหม่เป็นประจำในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมามีความคิดที่จะลาออกและคิดเกี่ยวกับการลาออกจากบริษัทนี้บ่อยครั้งตามลำดับ
4. พนักงานที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกันมีการตัดสินใจลาออกจากบริษัท รักษาความปลอดภัย ยู.พี.พี. อินเตอร์ กรุ๊ป จำกัด แตกต่างกัน
5. ปัจจัยการบริหารงานมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการตัดสินใจลาออกของพนักงานบริษัทรักษาความปลอดภัย ยู.พี.พี. อินเตอร์ กรุ๊ป จำากัด โดยรวมไม่มีความสัมพันธ์ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านความสัมพันธ์กับผู้ร่วมงาน และด้านเงินเดือนและสวัสดิการ มีความสัมพันธ์ระดับต่ำ ส่วนด้านนโยบายและ การบริหารงาน และด้านความปลอดภัยในการทำงานไม่มีความสัมพันธ์
Article Details
References
ปรีชา เอี่ยมพ่อค้า. (2553). กฎหมายควบคุมการประกอบธุรกิจรักษาความปลอดภัยเอกชน. กรงุเทพมหานคร คณะนิติศาสตร ์มหาวิทยาลัยเกริก.
บริษัท รักษาความปลอดภัย ยู.พี.พี. อินเตอร์ กรุ๊ป จำกัด. สถิติการลาออก (ตั้งแต่ปี 2557-2559). สืบค้นเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2560
วิเชียร เกตุสิงห์. (2538). หลักการสร้างและวิเคราะห์เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพาณิช.
วรรณวิสา ดำรงสกุลวงษ์. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อแนวโน้มการลาออกของพนักงานในอุตสาหกรรมฟอกหนังกรณีศึกษา บริษัท อินเตอร์ไฮค์ จำกัด(มหาชน). บริหารธุรกิ มหาบัณฑิต. บัณฑิตศึกษา. มหาวิทยาลัยเนชั่น.
ศศิ อ่วมเพ็ง. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจลาออกของพนักงานระดับบังคับบัญชา สำนักงานบัญชีกลาง บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด(มหาชน). บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. คณะพาณิยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
บรรเทิง ตัลยารักษ์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อแนวโนม้การลาออกของพนกังานแผนกแม่บ้านของโรงแรมที่บริหารโดยกลุ่มแอคคอร์ในเขตกรุงเทพมหานคร. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.
ธนเดช ทองนิรันดร์. (2555). ปัจจัยที่ส่งผล ต่อความตั้งใจลาออกจากงานของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในเขตนิคมอุตสาหกรรมโรจนะ. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลสุวรรณภูมิ.