การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของธรุกิจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นความได้เปรียบทางการแข่งขันและความพึงพอใจ ต่อการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ชาวต่าง ประเทศที่เดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทยปี 2559 จำนวน 200 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้การสัมภาษณ์ แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. นักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 20–29 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรีอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน มีรายได้ต่อเดือน 15,000 - 30,000 บาท สถานภาพโสด มีถิ่นพำนักอยู่ในโซน เอเชีย/แปซิฟิค เช่น จีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลี อินเดีย ออสเตรเลีย เนเธอร์แลนด์ เป็นต้น 2. ความคิดเห็นต่อการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพใน ประเทศไทย พบว่า จุดประสงค์หลักคือเพื่อท่องเที่ยวและพักผ่อนโปรแกรมที่เลือกมีความคุ้มค่า ราคาเหมาะสม มีมาตรฐานการให้บริการ เสียค่าบริการต่ำต่อครั้ง ได้รับข้อมูลข่าวสารจากสื่อสังคมออนไลน์ และหากมีโอกาสจะเดินทางมาใช้บริการในประเทศไทยซ้ำอีก 3. ความพึงพอใจต่อการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจต่อการให้บริการที่ได้มาตรฐาน และบรรยากาศของสถานที่ให้บริการมีความ เหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด การให้ข้อมูลในการเข้าใช้บริการมีความชัดเจน ราคาที่เหมาะสม การคมนาคม ตามสถานที่ต่าง ๆ มีความสะดวก อยู่ในระดับมาก ส่วนความเข้าใจนิยามการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และความ สามารถของผู้ให้บริการด้วยการสื่อสารภาษาอังกฤษ อยู่ในระดับปานกลาง
Article Details
References
ศูนย์สารสนเทศยุทธศาสตร์ภาครัฐ, สำนักงานสถิติแห่งชาติ. 2556. การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ. www.nic.go.th. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2556.
World Economic Forum. 2014. The Travel and Tourism Competitiveness. Switzerland. SSRO-Kundig.
วานิชย์บัญชา. 2546. การวิเคราะห์สถิติ สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศูนย์ข้อมูลกรุงเทพมหานคร. 2556. แหล่งท่องเที่ยวที่นิยมของชาวต่างชาติ. www.bangkok.go.th. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2556.
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. 2546. แผนการตลาดการท่องเที่ยวไทย ปี 2546. กรุงเทพฯ : กองการวางแผนการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.
นิตยาพร เสนปาน. 2549. การศึกษา เรื่อง ความรู้ความเข้าใจ รูปแบบกิจกรรมและแนวโน้มพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรรมของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์. บธม.(การตลาด). กรุงเทพฯ: บัณฑิต วิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อรสุธี มูลละ. 2557. แรงจูงใจของนักท่องเที่ยวนานาชาติเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในกรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา. กรงุเทพฯ: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
สมดี หงส์ไพศาลวิวัฒน์. 2548. โอกาสและกลยุทธ์การตลาดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในประเทศไทย: กรณีศึกษาเฉพาะกลุ่มเอเชียแปซิฟิก ยุโรปและอเมริกา. วารสารบริหารธุรกิจ. (มกราคม – มีนาคม). 28 (105) : 1-26.
ธันยา พรหมบุรมย์. 2558. ปัจจัยที่มีผลต่อประสบการณ์ของนักท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมและสุขภาพในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือ ตอนบน 1 ของประเทศไทย : เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน. ปริญญานิพนธ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย. ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน 2558).