การพัฒนารูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีสู่มาตรฐาน วิทยาลัยการอาชีพกาญจนาภิเษกหนองจอก

Main Article Content

สมพร ชูทอง

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีวิทยาลัย การอาชีพกาญจนาภิเษกหนองจอก (2) สร้างและตรวจสอบรูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีสู่มาตรฐาน วิทยาลัยการอาชีพกาญจนาภิเษกหนองจอก (3) ทดลองใช้รูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาระบบ ทวิภาคีสู่มาตรฐาน วิทยาลัยการอาชีพกาญจนาภิเษกหนองจอก (4) ประเมินรูปแบบการจัดการอาชีวศึกษา ระบบทวิภาคีสู่มาตรฐาน วิทยาลัยการอาชีพกาญจนาภิเษกหนองจอก วิธีวิจัยเป็นแบบผสมผสานระหว่าง การวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณประกอบด้วย ผู้บริหาร ครูฝึก ครูนิเทศ ผู้ประกอบการ ผู้ปกครอง และประธานคณะกรรมการชุมชนในเขตหนองจอกทั้ง 8 เขต จำานวน 80 คน ได้มาด้วยการสุ่มแบบเจาะจง กลุ่มตัวอย่างเชิงคุณภาพประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญที่ประสบผลสำเร็จในด้าน การจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี จำนวน 8 คน ได้มาด้วยการใช้เทคนิคบอลหิมะ (Snowball) เครื่องมือ ที่ใช้ ได้แก่ การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างและการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาผลการวิจัยพบว่า 1. ด้านสภาพการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ของวิทยาลัยการอาชีพกาญจนาภิเษกหนองจอก พบว่า (1) ด้านการวางแผน สถานศึกษาดำเนินการจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีในระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทุกแผนกวิชาแต่การประชาสัมพันธ์ผู้เรียนและผู้ปกครองยังไม่กว้างขวาง นอกจากนี้สถานศึกษายังขาดการจัดระบบการนิเทศติดตามผู้เรียน (2) ด้านการนำไปสู่การปฏิบัติ สถานประกอบการที่ให้ความร่วมมือในการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีขาดมาตรฐานการเรียนรู้ที่ ครอบคลุมและสอดคล้องตามสมรรถนะที่กำหนดตามหลักสูตร (3) ด้านการติดตามการสร้างเครือข่ายความร่วมมือและกำหนดบทบาทหน้าที่ของผู้รับผิดชอบอยู่ในวงจำกัด ขาดการเชื่อมโยงข้อมูลพื้นฐานร่วมกัน ในการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี (4) ด้านการดำเนินงาน สถานประกอบการไม่จ่ายเบี้ยเลี้ยงสวัสดิการ ให้กับผู้เรียนและไม่ได้ประกันการได้งานทำที่แน่นอนภายหลังจบการศึกษา (5) คุณภาพของผู้เรียนด้านความรู้ ขาดการสนใจติดตามความทันสมัยและความก้าวหน้าทางวิชาชีพที่ปฏิบัติงานอยู่จึงไม่สามารถทำงานได้ อย่างมีประสิทธิภาพด้านทักษะเชาว์ปัญญาทำความเข้าใจและประเมินข้อมูลใหม่จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายได้ไม่ดีเท่าที่ควร ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ยังขาดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และการหาแนวทาง การแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม ส่วนด้านทักษะการวิเคราะห์และการสื่อสารไม่สามารถ สื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. การสร้างและตรวจสอบรูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีสู่มาตรฐานวิทยาลัยการอาชีพกาญจนาภิเษกหนองจอก มีปัจจัยสนับสนุนการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีสู่มาตรฐานวิทยาลัยการอาชีพกาญจนาภิเษกหนองจอก ประกอบด้วยปัจจัยสนับสนุน 4 ด้าน คือ (1) ด้านบุคลากรงานอาชีวศึกษาระบบ ทวิภาคี (2) ด้านคุณลักษณะของผู้บริหารงานด้านอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี (3) ด้านการคัดเลือกผู้บริหารงานฝ่ายวิชาการ (4) ด้านคุณลักษณะของครูฝึกและครูนิเทศในสถานประกอบการรูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีสู่มาตรฐาน ได้รับการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญว่าเป็นรูปแบบที่มีประโยชน์และสามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3. การทดลองใช้รูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีสู่มาตรฐาน วิทยาลัยการอาชีพกาญจนาภิเษกหนองจอก ผู้ทรงคุณวุฒิเห็นว่ารูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีสามารถนำไปใช้ ในสถานการณ์จริงได้ เป็นการบูรณาการความรู้ทางทฤษฎีสู่การปฏิบัติจนเกิดเป็นองค์ความรู้ที่ชัดเจนถูกต้องและสามารถนำไปฝึกฝนทักษะการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีในสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม มีผลต่อการยกระดับมาตรฐานการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของสถานศึกษา 4. รูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีสู่มาตรฐาน ได้รับการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ ว่าเป็นรูปแบบที่มีประโยชน์และสามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

วิกร ตัณฑวุฑโฒ. (2554). การฝึกอบรมอาชีพนอกระบบแบบฐานสมรรถนะความเป็นผู้นำทางการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. กรุงเทพฯ: ศูนย์ตำราและเอกสารทางวิชาการ คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณม์หาวิทยาลัย.

สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ. (2558). โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเตรียมความพร้อมการตรวจประเมินคุณภาพ. (กรุงเทพฯ:สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เอกสารอัดสำาเนา).

วรวิทย์ ศรีตระกูล. (2557,เมษายน–มิถุนายน). การพัฒนาการจัดการศึกษาอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีวิทยาลัยเทคนิคหนองคาย. วารสารวิชาการพัฒนาเทคนิคศึกษา. 26(9),104-106.

ศรสีขุ วงศว์จิติร. (2553). การพฒันารปูแบบการบริหารงานวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2546). จิตวิทยาการศึกษา.กรุงเทพฯ:ศูนย์ส่งเสริมกรุงเทพ.