ภาพลักษณ์องค์กรที่ส่งผลต่อการเลือกซื้อสินค้า จากร้านค้าปลีกสมัยใหม่

Main Article Content

ฉันทนา ปาปัดถา
ดุริยางค์ คมขำ
ชาญชัย เดชอัศวนง

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นของผู้บริโภคภาพลักษณ์องค์กรของร้านค้าปลีก สมัยใหม่ 2) ศึกษาการเลือกซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกสมัยใหม่ 3) เปรียบเทียบเพศ อายุ การศึกษาและอาชีพกับการเลือกซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกสมัยใหม่ และ 4) ศึกษาภาพลักษณ์องค์กรที่ส่งผลต่อการเลือกซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกสมัยใหม่ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 1,200 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{X}) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t-Test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบปกติ (Enter Multiple Regression) ผลการวิจัย พบว่า 1) ความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพลักษณ์องค์กรของร้านค้าปลีกสมัยใหม่อยู่ในระดับมาก 2) การเลือกซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกสมัยใหม่อยู่ในระดับมาก 3) อาชีพต่างกันมีการเลือกซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกสมัยใหม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนเพศ อายุ และการศึกษาต่างกันมีการเลือกซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกสมัยใหม่ไม่แตกต่างกัน และ 4) ภาพลักษณ์องค์กรส่งผลต่อการเลือกซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกสมัยใหม่ มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญที่ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พจน์ ใจชาญสุขกิจ.(2552).การบรหิารภาพลกัษณ์(Corporate Image & Brand Management) เมื่อชื่อเสียงเป็นต้นทุนที่มีมูลค่ามากกว่าทรัพย์สินขององค์กร.สืบค้นจาก http://www.drphot.com/images/journal/2552/brandmarketing52/Article%20Corp%20Image%20Apr%2009.pdf

ธีรวันท์ โอภาสบุตร. (2554). ชื่อเสียงองค์กรมีได้เพียงหนึ่งเดียวหรือมีได้มากกว่าหนึ่งชื่อเสียง. นิเทศสยามปริทัศน์.ปีที่11 ฉบับที่ 12 : 60-85.

วิลาวัณย์ หงษ์สุวรรณ. (2542). กลยุทธ์การสร้างเอกลักษณ์และภาพลักษณ์เครื่องมือสร้างความแตกต่างในยุคการเปลี่ยนแปลงสูง.วารสารนิเทศศาสตร์.ปีที่ 17 ฉบับที่ 4 (ตุลาคม-ธันวาคม)

:43-57.

Gray, E.R., & Balmer, J.M.T. (1998). Managing image and corporate reputation. Long Range Planning. 31(5):695-702.

พูลสุข นิลกิจศรานนท์และปิยะนุช สถาพงศ์ภักดี.(2560).แนวโนม้ธรุกจิ/อตุสาหกรรมปี 2560-62 ธุรกิจร้านค้าปลีกสมัยใหม่.วิจัยกรุงศรี.สืบค้น จาก https://www.krungsri.com/bank/ getmedia/f1e844b6-74af-44df-9ba4-23dc9d0f7427/IO_Modern_Trade_2017_TH.aspx

ศูนย์เศรษฐกิจรายสาขาศูนย์วิจัยเศรษฐกิจธุรกิจและเศรษฐกิจฐานราก.(2561). ธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่.สืบค้นจาก https://www.gsb.or.th/getattachment/ac645eed-95cc-4a8c-abbe-457b71cd962e/IN_trade_61_detail.aspx

ธีรศักดิ์ จินดาบถ.(2555). พฤติกรรมผู้บริโภคและการรับรู้ภาพลักษณ์ร้านค้าปลีกของผู้บริโภคแบ่งตามระดับของร้านคว้าปลีก.วารสารวิทยาการจัดการ.29(1)มกราคม-มิถุนายน,17-29.

ภัทร์จิรา ศรวิชัย.(2557).การรับรู้ภาพลักษณ์ของร้านค้าสะดวกซื้อเซเว่นอีเลฟเว่น(7-Eleven)ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร.การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตวิชาเอก การตลาดคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

จิรารัตน์ จันทวัชรากร อดิลล่า พงศ์ยี่หล้าและมนตรี วีรยางกูร.(2561).ความสัมพันธ์ระหว่างภาพลักษณ์ของร้านค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภคขนาดเล็กกับพฤติกรรมการซื้อสินค้าของผู้บริโภค:การศึกษาเปรียบเทียบร้านค้าปลีกดั้งเดิมกับร้านค้าปลีกสมัยใหม่ในประเทศไทย.วารสารปัญญาภิวัฒน์.10(3)กันยายน-ธันวาคม,42-60.

Phawanthaksa.(2562).แนวโน้มการ เปลี่ยนแปลงของธุรกิจค้าปลีกไทยปี 2019.Smart SME Channel.14 พฤษภาคม 2562.สืบค้นจาก https://www.smartsme.co.th/content/220663

ชื่นสุมล บุนนาค.(2559).ความพึงพอใจในปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าในร้านค้าปลีกดั้งเดิม(โชวห่วย)ในเขตกรุงเทพมหานคร.วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร.13(1)มกราคม-มิถุนายน,66-91.

สุพัตรา ดีเลียบและวิภาวรรณ กลิ่นหอม.(2559).ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อสินค้าในร้านสะดวกซื้อและร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมของผู้บริโภคในเขตอำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช.สืบค้นจาก ttps://www.tci-thaijo.org/index.php/wms/article/download/57746/47806

ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์.(2555).หลักการตลาด.กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ท็อป.

ละออทิพย์ เกิดน้อย.(2555).ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าบริการร้านคว้าปลีกแบบดั้งเดิมในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย.การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิชาเอกธุรกิจระหว่งประเทศ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

Boulding,Kenneth E.(1975).The Image: knowledge inlife andsociety. Michigan: The University of Michigan.

Kotler, P. and Keller. K. (2009). Marketing Management. Pearson Prentice Hall.

Gurthan, Canli., Zeynep., Batra., Rajeev. (2004).When Corporate Image Affects Product Evaluations: The Moderating Role of Perceived Risk. Journal of Marketing Research : 197-205.