บทบาทของ สอศ. ภายใต้ร่มเงาของกระทรวงใหม่จะยังเป็นพลังที่สำคัญในการ “สร้างชาติ” ได้อีกต่อไปหรือไม่

Main Article Content

รศ.ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์

บทคัดย่อ

          จากการที่ประเทศไทยมีแผนพัฒนาประเทศ 20 ปี ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2560-64) ซึ่งมีทิศทางพัฒนาประเทศไปในทางสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายของการเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว (Developed Country) ในระยะเวลาไม่ถึง 20 ปี ซึ่งอาจจะสายเกินไปหรือไม่ เป็นประเด็นที่น่าคิดเนื่องจากปัญหาใหญ่ของประเทศไทยคือ จะกลายเป็นประเทศที่ “เกิดน้อยแก่ (เร็ว) มาก” จากงานวิจัยของทีมสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุที่สมบูรณ์ (Completed Aged Society) ในปี พ.ศ 2565 แต่เนื่องจากผู้สูงอายุเหล่านั้นส่วนใหญ่เผชิญกับชะตากรรม “จนตอนแก่” คือ ไม่มีเงินออมเพียงพอที่จะใช้สอยดำรงชีพ ในช่วงวัยสุดท้ายของชีวิต ซึ่งอายุเฉลี่ยของคนไทยยืนยาวขึ้น ผู้ชายมีอายุขัยถึง 73 ปี ผู้หญิง 80 ปี(ข้อมูล พ.ศ.2562) จำเป็นต้องอาศัยการดูแลจากคนที่อยู่ในวัยแรงงาน (15-60 ปี) ซึ่งกำลังขยายตัวลดลงเรื่อย ๆ อันเนื่องมาจากมีเด็กเกิดใหม่น้อยลงเพียงปีละไม่ถึง 7 แสนคน เมื่อเปรียบเทียบกับ 40 ปีที่แล้วมีมากกว่า1.3 ล้านคน

Article Details

บท
บทความพิเศษ