MIAP กับการจัดการเรียนรู้ระดับอาชีวศึกษา

Main Article Content

ขจรพงษ์ พู่ภมรไกรภพ

บทคัดย่อ

          การจัดการศึกษาในระดับอาชีวศึกษานั้น มีบทบาทที่สำคัญและมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการพัฒนาประเทศเพื่อให้มีความเจริญก้าวหน้า มีความมั่งคง เพื่อเตรียมความพร้อมในการแข่งขันกับสากลโลกและที่สำคัญเพื่อเป็นการตอบสนองความต้องการในภาคอุตสาหกรรมของประเทศ อันจะส่งผลให้ประชาชนมีวิชาชีพ และประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพดังนั้นการจัดการศึกษาของอาชีวศึกษาจึงมุ่งเน้นการเรียนการสอนในรูปแบบการฝึกทักษะเพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกและลงมือปฏิบัติกับสายงานที่ผู้เรียนสนใจ โดยการจัดการเรียนนั้นจะมีทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ เพื่อให้ผู้เรียนได้ตระหนักถึงการนำทฤษฎีมาใช้ก่อนจะลงมือปฏิบัติจริง และเนื่องจากการจัดการศึกษาในอาชีวศึกษา ในบางครั้งอาจใช้เครื่องมือที่เป็นอันตรายต่อตัวผู้เรียนเอง ดังนั้น ผู้สอนควรมีการดูแลผู้เรียนอย่างใกล้ชิดเพื่อลดปัญหาและอุบัติเหตุต่างๆ ในบทความนี้จะขอกล่าวถึงกระบวนการสอน MIAP model เนื่องจากกระบวนการสอนนี้ครอบคลุมการจัดการเรียนรู้ ตั้งแต่ขั้นสนใจปัญหา ขั้นให้เนื้อหา ขั้นพยายามและขั้นสำเร็จผล MIAP model จึงเป็นกระบวนการสอนที่เหมาะกับการจัดการศึกษาในระดับอาชีวศึกษา เนื่องจากกระบวนการของ MIAP model ในทุกขั้นตอนมุ่งเน้นฝึกทักษะผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นกระบวนการสอนที่ผู้สอนต้องลงมือปฏิบัติจริง เพื่อให้ผู้เรียนได้เห็นกระบวนการหรือขั้นตอนการทดลองหรือปฏิบัติที่ถูกต้อง ช่วยป้องกันอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นได้ กระบวนการสอนนี้ ยังครอบคลุมไปถึงเรื่องการวัดผลในหน่วยการเรียนรู้ต่างๆ อีกด้วย

Article Details

บท
บทความพิเศษ

References

สุราษฎร์ พรมจันทร์. (2554). รูปแบบการฝึกอบรม วิธีดำเนินการวิจัยและการจัดทำรายงานการวิจัยโดยใช้กระบวนการสอรรูปแบบ MIAP สำหรับครูผู้สอนในสถานศึกษา. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม. ปีที่2. ฉบับที่ 1. 29-34.

สุชาติ ศิริสุขไพบูล. (2527). เทคนิคและวิธีการสอนวิชาชีพ. พิมพ์ครั้งที่ 1. 2-3.กรุงเทพมหานคร โรงพิมพ์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

เศกศักดิ์ หุ่นสอาด. (2552). [ออนไลน์]. การทำแผนการสอนด้วย MIAP. [สืบค้นเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2562]. จาก http://oknation.nationtv.tv/blog/sekyicy/2009/01/23/entry-1

สุราษฎร์ พรมจันทร์. (2550). ยุทธวิธีการเรียนการสอนวิชาเทคนิค. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (กันยายน 2560). แผนพัฒนาการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2560-2579. พิมพ์ครั้งที่ 1. จำนวน 1000 เล่ม. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2557). [ออนไลน์]. คู่มือการปฎิบัติงานทะเบียนในสถานศึกษา. [สืบค้นเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2562]. จาก http://bsq2.vec.go.th/document/คู่มืองานทะเบียน%20Final/คู่มือ.pdf

ภานุวัฒน์ ศรีไชยเลิศ. (2560). การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่งแบบผสมผสาน ร่วมกับการจัดแผนการสอนแบบฐานสมรรถนะ ในรายวิชา การบริหารและการบริการอินเทอร์เน็ตสําหรับนักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม. ปีที่ 16. ฉบับที่ 3. 66-74.

ศิริพล แสนบุญส่ง. (2560). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานตามฐานสมรรถนะด้วยกระบวนการเรียน MIAP ระดับปริญญาบัณฑิต. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม. ปีที่ 8. ฉบับที่ 2. 37-46.

เกียรติพงษ์ อุดมธนะธีระ. (2561). [ออนไลน์]. พีระมิดแห่งการเรียนรู้ (Learning Pyramid). [สืบค้นเมื่อวันที่ 16 เมษายน 2562]. จาก https://www.iok2u.com/index.php/article/e-book/171-learning-pyramid