ระบบติดตามและประเมินผลการฝึกอาชีพ นักศึกษาแบบออนไลน์
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบติดตามและประเมินผลการฝึกอาชีพนักศึกษาแบบออนไลน์ 2) หาคุณภาพของระบบติดตามและประเมินผลการฝึกอาชีพนักศึกษาออนไลน์ และ 3) ประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบติดตามและประเมินผลการฝึกอาชีพนักศึกษาแบบออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยนี้ คือ อาจารย์ นักศึกษา และตัวแทนจากสถานประกอบการ จำานวน 13 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย (X–) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยพบว่า ระบบติดตามและประเมินผลการฝึกอาชีพนักศึกษาแบบออนไลน์ที่พัฒนาขึ้น สามารถนำาไปใช้ในการติดตามและประเมินผลการฝึกอาชีพของนักศึกษาได้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่กำาหนด โดยมีการแบ่งส่วนในการใช้งานได้ 4 ส่วน คือ ผู้ดูแลระบบ อาจารย์ นักศึกษา และสถานประกอบการจากผลการประเมินคุณภาพระบบติดตามและประเมินผลการฝึกอาชีพนักศึกษาแบบออนไลน์ โดยผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด 3 คน พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (X– = 3.90 ,S.D. = 0.23) และผลการประเมินความพึงพอใจระบบติดตามและประเมินผลการฝึกอาชีพนักศึกษาแบบออนไลน์ โดยกลุ่มตัวอย่างจำานวน 13 คน พบว่า
มีค่าเฉลี่ยอยู่ระดับมาก (X– = 4.15, S.D. = 0.58)
Article Details
References
โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. 2560. การวิเคราะห์และออกแบบระบบ. กรุงเทพ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
กิตติ ภักดีวัฒนะกุล และจำาลอง ครูอุตสาหะ. 2547. คัมภีร์ระบบฐานข้อมูล. กรุงเทพฯ : เคทีพีคอมพ์ แอนด์คอนซัลท์.
เจริญศักดิ์ รัตนวราห และฐิสันต์ ทิพย์ศุภธนนท์. 2554. PHP & MySQL WebProgramming ด้วยภาษายอดนิยมที่สุดในยุคนี้. กรุงเทพฯ: บริษัท เน็ตดีไซน์ พับลิชชิ่ง จำากัด.
P. Ammann and J. Offutt. 2008. “Introduction to Software Testing” Cambridge University Press.
ชูศรี วงศ์รัตนะ. 2553. เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพ ฯ :ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุทธิพงษ์ หกสุวรรณ และสุขวสา ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม. การศึกษาผลการใช้ระบบนิเทศฝึกงานออนไลน์. วารสานสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 : 366-376.