การตัดสินใจซื้อข้าวออร์แกนิค ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการตัดสินใจซื้อข้าวออร์แกนิคและเพื่อเปรียบเทียบการตัดสินใจซื้อข้าวออร์แกนิคของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครจำาแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลและพฤติกรรมการบริโภค
กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริโภคที่ซื้อข้าวออร์แกนิคจากร้านค้าในห้างสรรพสินค้า จำานวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ t-test Independent สถิติความแปรปรวนทางเดียว สถิติไคร์สแคว์ และสถิติ Multiple comparison ด้วยวิธี LSD (Fisher’s Least Significant) ผลการวิจัย พบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 20 - 29 ปี มีสถานภาพโสดมีอาชีพเป็นพนักงานบริษัท มีการศึกษาระดับปริญญาตรี มีรายได้ 10,001 - 20,000 บาท ผู้บริโภคซื้อข้าวออร์แกนิคเพราะมีคุณค่าทางอาหาร ข้าวที่ซื้อมากที่สุดคือ ข้าวไรซ์เบอรี่ และซื้อตามซูเปอร์มาร์เก็ต ข้อมูลที่ต้องการรู้ คือ ประโยชน์ของข้าวออร์แกนิค สื่อที่ได้รับข้อมูลมากที่สุด คือ อินเทอร์เน็ต ส่วนประสมทางการตลาดทั้ง 4 ด้าน (4 P’s) มีผลต่อการตัดสินใจในระดับมาก การทดสอบสมมติฐาน พบว่า เพศ อายุ อาชีพรายได้ เหตุผลในการซื้อ ปริมาณในการซื้อ บรรจุภัณฑ์ ข้อความบนบรรจุภัณฑ์ และช่องทางการจำาหน่ายไม่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อข้าวออร์แกนิค แต่ระดับการศึกษา ตรายี่ห้อมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อข้าวออร์แกนิค ด้านพฤติกรรม พบว่า ราคาข้าวออร์แกนิคไม่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อในด้านปริมาณการซื้อแต่เหตุผลในการซื้อมีอิทธิพลต่อความถี่ในการบริโภคข้าวออร์แกนิค ตรายี่ห้อมีอิทธิพลต่อราคาของข้าวออร์แกนิค บรรจุภัณฑ์มีอิทธิพลต่อปริมาณการซื้อข้าวออร์แกนิค
Article Details
References
รายงานตลาดอาหารโลก. (2558). สถานการณ์ผลิตภัณฑ์อาหารโลกปี 2558. สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2559, จาก http://www.now26.tv
กรีนเน็ท. (2557). ตลาดรวมสินค้าออร์แกร์นิคปี 2557. สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2559, จาก http://greennet.ot.th
ปราโมทย์ ยอดแก้ว. (2560). การพัฒนาตลาดข้าวอินทรีย์ในสังคมไทย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 5 (ฉบับพิเศษ), 406 – 420
บุญชม ศรีสะอาด. (2538). วิธีการทางสถิติสำาหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร:สุวีริยาสาส์น.
สิริพรรณ สุทธิเสงี่ยม และคนอื่นๆ. (2559). พฤติกรรมการซื้อและการตัดสินใจซื้อข้าวออร์แกนิคของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร.(บริหารธุรกิจบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. กรุงเทพมหานคร.
พีรภาว์ ทวีสุข. (2556). อิทธิพลของกลยุทธ์การตลาดและวิถีการดำาเนินชีวิตของผู้ซื้อต่อการประเมินภายหลังการซื้อสินค้าเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทย. (บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต).มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. กรุงเทพมหานคร.
อัญมณี เย็นเปี่ยม และ สยาม อรุณศรีมรกต.(2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อข้าวหอมมะลิอินทรีย์ของผู้บริโภค. (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล. นครปฐม.
จำาเนียร บุญมาก และ จุรีภรณ์ อุทธิ. (2556). การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ข้าวกล้องอินทรีย์ของสหกรณ์เกษตรอินทรีย์เชียงใหม่ จำากัด. วารสารวิชาการและวิจัย มทร. พระนคร, 5 (ฉบับพิเศษ), 38 - 47.