การสร้างชุดทดลองการเขียนโปรแกรมควบคุม การเคลื่อนที่ของบอลสกรู
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างชุดทดลองการเขียนโปรแกรมควบคุมการเคลื่อนที่ของบอลสกรู 2) เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของชุดทดลองการเขียนโปรแกรมควบคุมการเคลื่อนที่ของบอลสกรู และ 3) เพื่อหาความพึงพอใจของผู้เชี่ยวชาญด้านระบบควบคุมที่มีต่อชุดทดลองการเขียนโปรแกรมควบคุมการเคลื่อนที่ของบอลสกรู กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบควบคุม จำานวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้คือ ชุดทดลองการเขียนโปรแกรมควบคุมการเคลื่อนที่ของบอลสกรูที่สร้างขึ้น และแบบประเมินความพึงพอใจของผู้เชี่ยวชาญด้านระบบควบคุมที่มีต่อชุดทดลอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าเฉลี่ย (X) และส่วนเบี่ยงเบน – มาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยในการจัดสร้างชุดทดลองการเขียนโปรแกรมควบคุมการเคลื่อนที่ของบอลสกรู โดยทำาการทดสอบหาประสิทธิภาพ พบว่า สามารถทำางานได้ตามขอบเขตระยะการเคลื่อนที่ที่กำาหนดจำานวน 20 ครั้ง โดยใช้ไดอัลเกจได้อย่างมีประสิทธิภาพและความแม่นยำา 100 เปอร์เซ็นต์ และผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เชี่ยวชาญด้านระบบควบคุมที่มีต่อชุดทดลอง พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ที่ 3.26 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน อยู่ที่ 1.33 จึงสามารถสรุปได้ว่าชุดทดลองการเขียนโปรแกรมควบคุมการเคลื่อนที่ที่สร้างขึ้นสามารถนำาไปใช้งานได้จริง
Article Details
References
Stefan Kozak. (2016). Multidisciplinary Approach and Dual Education in Control Engineering for Mechatronics. International Federation of Automatic Control (IFAC), Science Direct IFAC-Paper On Line. 49-6.
Oleg I. Borisov, Vladislav S. Gromov.et al. (2016). Manipulator Tasks in Robotics Education. International Federation of Automatic Control (IFAC), Science Direct IFAC-Paper On Line. 49-6.
Dache Liliana and Pop Silvia Florina. (2015). Education, Knowledge and Innovation from Mechatronics Perspective. Procedia-Social and Behavioral Sciences 203, p.205-209.
F.A. Candelas, et al. (2015). Experiences on using Arduino for Laboratory Experiments of Automatic Control and Robotics. International Federation of Automatic Control (IFAC), Science Direct IFAC-Paper On Line 48-29.
ไกรสร รวยป้อม และดนัย ทองชวัช. (2556). เครื่องให้อาหารกุ้งอัตโนมัติแบบรางเลื่อน. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก. 6 (1): 63-69
พันศักดิ์ เนระแก. (2558). การออกแบบหุ่นยนต์แบบหยิบและวางที่ใช้ระบบการมองเห็นของเครื่องจักร. ปริญญาวิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต.นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
รวีวรรณ ชินะตระกูล, (2542), [ออนไลน์], วิธีการประมวลผลค่าทางสถิติ, [สืบค้นเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2563], จาก http://service.nso.go.th/statstd/method3_01.html
มงคล เทียนวิบูลย์. (2542). การควบคุมหุ่นยนต์เคลื่อนที่ด้วยล้อที่สามารถเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระ. ปริญญาวิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ณัฐดนัย ตัณฑวิรุฬห์. (2542). การออกแบบและพัฒนาหุ่นยนต์เดินบนระนาบแบบขนาน. ปริญญาวิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คมกฤช อาษากิจ. (2554). การออกแบบระบบควบคุมแบบปรับตัวได้ เพื่อใช้ในการควบคุมแขนกล CRS A255 แบบ 3 แกนให้เคลื่อนที่ตามเส้นทางที่กำาหนด. ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
สันติ หุตะมาน วัชรินทร์ โพธิ์เงิน พรจิต ประทุมสุวรรณและ สมนึก ฮวบเอี่ยม. (2559). การพัฒนาชุดสาธิตการควบคุมแขนกล 1 องศา อิสระ ด้วยวิธี Model-based Portion โดยใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ร่วมกับโปรแกรมแมทแลบ. ในการประชุมวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรมระดับชาติ ครั้งที่ 9. (24 พฤศจิกายน 2559). คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, หน้า 111-116