ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ร่วมกับการจัดการเรียนรู้ แบบห้องเรียนกลับด้าน เรื่อง โครงงานเทคโนโลยีสารสนเทศและโปรแกรมภาษาขั้นพื้นฐาน ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

เจตปรียา บุญเสริม
กัลยาณี รจิตรังสรรค์
สุภาณี เส็งศรี
ธงชัย เส็งศรี

บทคัดย่อ

          การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังเรียน 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน รายวิชา คอมพิวเตอร์ 3 เรื่อง โครงงานเทคโนโลยีสารสนเทศและโปรแกรมภาษาขั้นพื้นฐาน  กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนจ่านกร้อง จำนวน 45 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน เรื่อง โครงงานเทคโนโลยีสารสนเทศและโปรแกรมภาษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 6 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3) แบบประเมินพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม ระยะเวลาทดลอง 6 สัปดาห์  สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย( gif.latex?x\bar{} ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)


          ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง โครงงานเทคโนโลยีสารสนเทศและโปรแกรมภาษาขั้นพื้นฐาน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  และ 2) พฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการทำงานกลุ่มอยู่ในเกณฑ์คุณภาพระดับดีมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2561) รายงานการศึกษาไทย พ.ศ.2561. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎา. (2562) [ออนไลน์]. พระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา 2562. [สืบค้นเมื่อวันที่15 กรกฎาคม 2562]. จาก https://www.sesao30.go.th/ law.php?type=act

คณะกรรมการอำนวยการปฏิรูปการศึกษา. (2558) [ออนไลน์]. ศธ. สั่งสพฐ. ลด′จำนวนนักเรียนต่อห้อง-กิจกรรม.[สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2562]. จาก https://www.sanook.com/ campus/1376953/

ขัณธ์ชัย อธิเกียรติ และ ธนารักษ์ สารเถื่อนแก้ว. (มปป) [ออนไลน์]. การสอนแบบทันสมัยและเทคนิควิธีสอนแนวใหม่. [สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2562]. จาก http://regis.skru.ac.th/ RegisWeb/ webpage/addnews/data/2017-07-24_078.pdf

วัชรา เล่าเรียนดี. (2556). ศาสตร์การนิเทศการสอน และการโค้ช การพัฒนาวิชาชีพ : ทฤษฎีกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 12). นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์นครปฐม.

สุภาณี เส็งศรี. (2561) วิธีวิทยาการสอนคอมพิวเตอร์ : สาระเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาระเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) มหาวิทยาลัยนเรศวร คณะศึกษาศาสตร์.

กัลยาณี รจิตรังสรรค์. (2562) การจัดการเรียนการสอน สาระเทคโนโลยี. สัมภาษณ์ 15 กรกฎาคม2562. ณ โรงเรียนจ่านกร้อง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 39

งานทะเบียน โรงเรียนจ่านกร้อง. (2562) สถิตินักเรียนโรงเรียนจ่านกร้อง ปีการศึกษา 2562พิษณุโลก โรงเรียนจ่านกร้อง.

สมจิตร หงส์สา. (2551). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์และเจตคติต่อการเรียนคณิตศาสตร์เรื่องเซต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที¬ 4 โดยการสอนด้วยเทคนิค เอส ที เอ ดี (STAD) กับการสอนปกติ. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (หลักสูตรและการสอน). ลพบุรี : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทพสตรี.