รูปแบบการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนคุณภาพ การจัดการอาชีวศึกษา วิทยาลัยเทคนิคลพบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและแนวการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนคุณภาพการจัดการอาชีวศึกษาวิทยาลัยเทคนิคลพบุรี 2) สร้างรูปแบบการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนคุณภาพการจัดการอาชีวศึกษาวิทยาลัยเทคนิคลพบุรี 3) ทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนคุณภาพการจัดการอาชีวศึกษาวิทยาลัยเทคนิคลพบุรี 4) ประเมินผลการใช้รูปแบบการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนคุณภาพการจัดการอาชีวศึกษาวิทยาลัยเทคนิคลพบุรี ดำเนินการวิจัยเป็น 4 ตอน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน เครือข่ายความร่วมมือ รวม 248 คน ได้มาโดยการเลือกสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) และผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 20 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ผลการวิจัยพบว่า
- สภาพและแนวการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนคุณภาพการจัดการอาชีวศึกษาวิทยาลัยเทคนิคลพบุรี ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง และแนวทางการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือ พบว่า สถานศึกษาควรร่วมกับเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการกำหนดกลยุทธ์การพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือการจัดการอาชีวศึกษา กลไกขับเคลื่อนคุณภาพด้วยเครือข่ายความร่วมมือการจัดการอาชีวศึกษา การขับเคลื่อนคุณภาพด้วยเครือข่ายความร่วมมือ และการประเมินผลการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนคุณภาพการจัดการอาชีวศึกษา
- รูปแบบที่สร้างขึ้นมี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) กลยุทธ์การพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือการจัดการอาชีวศึกษา 2) กลไกขับเคลื่อนคุณภาพด้วยเครือข่ายความร่วมมือการจัดการอาชีวศึกษา 3) การดำเนินงานขับเคลื่อนคุณภาพด้วยเครือข่ายความร่วมมือ 4) การกำกับ ติดตามประเมินผลการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนคุณภาพการจัดการอาชีวศึกษา
- ผลการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนคุณภาพการจัดการอาชีวศึกษาวิทยาลัยเทคนิคลพบุรี กับผู้เข้าร่วมกิจกรรมในการดำเนินการตามโครงการ จำนวน 7 โครงการ มีผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ผลสัมฤทธิ์ของผู้เข้าร่วมโครงการโดยการประเมินตนเองก่อนและหลังเข้าร่วม ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจ เพิ่มขึ้นจากความรู้ ความเข้าใจระดับปานกลาง เป็นระดับมากที่สุด
4. ผลการประเมินการใช้รูปแบบ พบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนจากการใช้รูปแบบ คะแนนเฉลี่ยผลการเรียนหลังใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนใช้รูปแบบ 2) ความสำเร็จของการพัฒนารูปแบบโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบโดยภาพรวมมีความคิดเห็นต่อรูปแบบในด้านความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด 4) มีจำนวนเครือข่ายความร่วมมือจากหน่วยงาน สถานประกอบการเพิ่มขึ้น จำนวน 30 เครือข่าย 5) รางวัลที่ได้จากการดำเนินการตามรูปแบบ ซึ่งผลจากการดำเนินงานตามรูปแบบ ทำให้สถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้เรียนได้รับรางวัล จำนวน 28 รายการ
Article Details
References
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2553). แผนยุทธ์ศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย ปี 2553-2561. กรุงเทพมหานคร : วี.ที.ซี คอมมินิเคชั่น.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2558). การจัดทำแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2560). แผนพัฒนาการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพ. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.
ไสว อุทุม ประเสริฐ ภู่เงิน และปรานีพัน จารุวัฒนพันธ์. (2557). การดำเนินงานเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, ปีที่ 8 ฉบับที่ 2. 235-246.
สรัญญา จุฑานิล. (2556). การบริหารเครือข่ายของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน สำนักงานปฏิบัติการภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิต พัฒนบริหารศาสตร์.
ชูทรัพย์ ภาวงศ์. (2551). การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานในชุมชน. สกลนคร: โรงเรียนบ้านบ่อแก.
พิสิฐ เทพไกรวัล. (2554). การพัฒนารูปแบบเครือข่ายความร่วมมือเพื่อคุณภาพการจัดการศึกษา ในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. (2549). แผนยุทธศาสตร์ปฏิรูปการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต. กรุงเทพฯ : รังสีการพิมพ์.
ชาญทนงค์ บุญรักษา. (2556). การพัฒนารูปแบบการบริหารการใช้ทรัพยากรร่วมกันเพื่อการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรีในสถาบันการอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร.
The World Bank. (2018). Systems Approach for Better Education Results. Washington DC: USA.
สันติ บุญภิรมย์. (2552). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ: บุ๊คพอยท์.
Shaeffer, S. (Ed). (1994). Partnerships and Participation in Basic Education: A Series of Training Modules and Case Study Abstracts for Educational Planners and Mangers. Paris: UNESCO, International Institute for Educational Planning.
นิรุตต์ บุตรแสนลี. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีที่มุ่งเน้นประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาวิจัยวัดผลและสถิติการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
สถาพร โพธิ์หวี. (2560). รูปแบบการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการขับเคลื่อนคุณภาพการจัดการศึกษาวิชาชีพระยะสั้นของวิทยาลัยสารพัดช่างเพชรบูรณ์. เพชรบูรณ์ : วิทยาลัยสารพัดช่างเพชรบูรณ์ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.
Robbins H., & Finley, M. (1998). Why Team Don’t Work. 2nd ed. London: Orient Business.
Norwich and Evans. (2017). Cluster: Inter-school collaboration in meeting special educational Needs in ordinary schools. Retrieved January 11, 2018, from http://www.ebscohot.com
Ribchester, & William J. Edwards. (2007). Co-operation in the countryside: Small primary School Clusters. Retrieved January 15, 2018, from http://www.ebscohot.com.