การบริหารจัดการเรียนรู้แบบบล็อกคอร์ส (Block Course) วิทยาลัยเทคนิคลพบุรี Teaching and learning management base on block course of Lopburi Technical College.

Main Article Content

เรวัช ศรีแสงอ่อน

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและความจำเป็นในการบริหารจัดการเรียนรู้แบบบล็อกคอร์ส (Block Course) วิทยาลัยเทคนิคลพบุรี   2) สร้างรูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้แบบบล็อกคอร์ส (Block Course) และจัดทำคู่มือการบริหารจัดการเรียนรู้แบบบล็อกคอร์ส (Block Course) วิทยาลัยเทคนิคลพบุรี 3) ทดลองดำเนินการบริหารจัดการเรียนรู้แบบบล็อกคอร์ส (Block Course) วิทยาลัยเทคนิคลพบุรี 4) การศึกษาผลการบริหารจัดการเรียนรู้แบบบล็อกคอร์ส (Block Course) วิทยาลัยเทคนิคลพบุรี โดยมีขั้นตอนดำเนินการ ดังนี้ ตอนที่ 1 ศึกษาสภาพและความจำเป็นในการบริหารจัดการเรียนรู้แบบบล็อกคอร์ส (Block Course) วิทยาลัยเทคนิคลพบุรี  โดยการวิเคราะห์เอกสารการศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการเรียนรู้แบบบล็อกคอร์ (Block Course) การสอบถามผู้บริหารและครูผู้สอน จำนวน 155 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ตอนที่ 2 สร้างรูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้แบบบล็อกคอร์ส (Block Course) และจัดทำคู่มือการบริหารจัดการเรียนรู้แบบบล็อกคอร์ส (Block Course) วิทยาลัยเทคนิคลพบุรี โดยการวิเคราะห์ สังเคราะห์จากตอนที่ 1 และการตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้แบบบล็อกคอร์ส (Block Course) วิทยาลัยเทคนิคลพบุรี โดยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) รวมทั้งประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ตอนที่ 3 ทดลองดำเนินการบริหารจัดการเรียนรู้แบบบล็อกคอร์ส (Block Course) วิทยาลัยเทคนิคลพบุรี 4 องค์ประกอบ (8 กิจกรรมย่อย) ดังแผนดำเนินการทดลอง และศึกษาผลการทดลองแต่ละกิจกรรม ตอนที่ 4 ศึกษาผลการบริหารจัดการเรียนรู้แบบบล็อกคอร์ส (Block Course) วิทยาลัยเทคนิคลพบุรี กลุ่มตัวอย่างจากครูผู้สอนแผนกวิชาช่างยนต์ 2563 จำนวน 11 คน และผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาช่างยนต์ จำนวน 92 รวมทั้งสิ้น 103 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบวิเคราะห์ แบบสอบถาม แบบรายงาน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test และการวิเคราะห์เนื้อหา


          ผลการวิจัยพบว่า


  1. สภาพและความจำเป็นในการบริหารจัดการเรียนรู้แบบบล็อกคอร์ส (Block Course) โดยภาพรวมมีสภาพที่คาดหวังในระดับมากที่สุด และสภาพที่เป็นจริงในระดับปานกลาง

  2. รูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้แบบบล็อกคอร์ส (Block Course) ของวิทยาลัยเทคนิคลพบุรี มีองค์ประกอบ 4 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 การวางแผน (Planning) องค์ประกอบที่ 2 การจัดการเรียนรู้ (Doing) องค์ประกอบที่ 3 การตรวจสอบ (Checking) และ องค์ประกอบที่ 4 การปรับปรุงแก้ไข (Action) ผลการประเมินคุณภาพของรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ผลการประเมินคุณภาพของรูปแบบด้านความเหมาะสม โดยรวมมีคุณภาพในระดับมากที่สุด ด้านความเป็นไปได้ โดยรวมมีคุณภาพในระดับมากที่สุด ด้านความเป็นประโยชน์ โดยรวมมีคุณภาพในระดับมากที่สุด

  3. การทดลองดำเนินการบริหารจัดการเรียนรู้แบบบล็อกคอร์ส (Block Course) วิทยาลัยเทคนิคลพบุรี จากข้อมูลการนิเทศ พบว่า ด้านการวางแผน (Planning) อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านการจัดการเรียนรู้ (Doing) อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านการตรวจสอบ (Checking) อยู่ในระดับมากที่สุด และด้านการปรับปรุงแก้ไข (Action) อยู่ในระดับมากที่สุด

  4. ผลการบริหารจัดการเรียนรู้แบบบล็อกคอร์ส (Block Course) วิทยาลัยเทคนิคลพบุรี

                4.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนด้วยการบริหารจัดการเรียนรู้แบบบล็อกคอร์ส


(Block Course) วิทยาลัยเทคนิคลพบุรี พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนระดับ ปวช.3 สาขาวิชาช่างยนต์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 กับภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของปีการศึกษา 2563 มากกว่าปีการศึกษา 2562


                4.2 ความพึงพอใจของครูผู้สอนและผู้เรียน ต่อการบริหารจัดการเรียนรู้แบบบล็อกคอร์ส


(Block Course) วิทยาลัยเทคนิคลพบุรี ภาพรวม พบว่าครูผู้สอนมีความพึงพอใจ ระดับมากที่สุด และผู้เรียนมีความพึงพอใจระดับมากที่สุด      


              4.3 เปรียบเทียบภาระงานครูผู้สอนก่อนและหลังการใช้การบริหารจัดการเรียนรู้แบบบล็อกคอร์ส (Block Course) วิทยาลัยเทคนิคลพบุรี พบว่า ภาระงานครูผู้สอนก่อนและหลังการใช้การบริหารจัดการเรียนรู้แบบบล็อกคอร์ส (Block Course) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และภาระงานของผู้สอนหลังการใช้รูปแบบลดลงก่อนการใช้รูปแบบ


              4.4   ผลการพัฒนาครูสู่ความเป็นครูมืออาชีพ (Hands On) พบว่า ครูผู้สอนมีการพัฒนาสู่ความเป็นครูมืออาชีพ (Hands On) หลังการบริหารจัดการเรียนรู้แบบบล็อกคอร์ส (Block Course) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2562 (2562). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 136 ตอนที่ 57 ก. หน้า 10.

พระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2551 (2551). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 125 ตอนที่ 43 ก หน้า 1-7.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2560). แผนพัฒนาการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2560-2579 . กรุงเทพฯ. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

Heinich. (1985). Instructional media and the new technologies of Instruction.

New York.

ยุพรพรรณ ตันติสัตยานนท์. (2556). การพัฒนาโมดูลการอ่านภาษาอังกฤษธุรกิจที่เน้นจริยธรรมธุรกิจ เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและความตระหนักด้านจริยธรรมทางธุรกิจ สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์. Veridian E-Journal, SU ปีที่ 6 ฉบับที่ 1. 209-223.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การพัฒนาหลักสูตรและการวิจัยเกี่ยวกับหลักสูตร. กรุงเทพฯ: สวิริยศาสน์.

Eisner, E. (1976). Education connoisseurship and criticism: Their form and function in education evaluation. Journal of Aesthetic Education. Vol. 10. No. 3/4. 135-150

สมาน อัศวภูมิ. (2551). การบริหารการศึกษาสมัยใหม่ : แนวคิด ทฤษฎีและการปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 4. อุบลราชธานี : หจก.อุบลกิจออฟเซทการพิมพ์.

รวี จันทะนาม. (2557). รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมที่มีประสิทธิผล ในโรงเรียนขนาด กลาง. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

ดวงกมล แก้วแดง. (2558). [ออนไลน์]. การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียน โดยใช้ระบบ ClassStart รายวิชาการจัดการการปฏิบัติการ สำหรับนักศึกษา Block Course ศูนย์การศึกษานนทบุรี มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ. [สืบค้นเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2562]. จาก http://www.northbkk.ac.th/research/themes.

กัญจน์ นำคำมดี และวันชัย ริจิรวนิช. (2560). รายงานผลการสำรวจผลการศึกษาด้วยการเรียนแบบ Block Course กรณีศึกษา หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสยาม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสยาม.

Merman. (1972). Development Instructional Modular System for Writing Modules. Florida; University of Florida.

ณรงค์ ฤทธิเดช. (2557). ผลการใช้เอกสารประกอบการสอนวิชาการทดลองเครื่องกล (31012003) โดยใช้วิจัยเป็นฐานและบูรณาการแผนการสอนแบบบล็อกคอร์ด (Block Course) ระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขางานเทคนิคยานยนต์วิทยาลัยเทคนิคตรัง.

สถาบันรัชต์ภาคย์. (2554). Block Course System Net Block Course System. กรุงเทพฯ : สถาบันรัชตภาคย์.

ฝ่ายวิชาการวิทยาลัยเทคนิคประจวบคีรีขันธ์. (2560). การศึกษาผลการจัดการเรียนการสอนรูปแบบบล็อกคอร์ส (Block Course). รายงานการศึกษาวิจัย : ประจวบคีรีขันธ์ : วิทยาลัยเทคนิคประจวบคีรีขันธ์.

โรงเรียนสตรีสมุทรปราการ. (2556). สำรวจความคิดเห็นความพึงพอใจของนักเรียนในการร่วมกิจกรรมการเรีนการสอนแบบบล็อกคอร์ส (Block Course). สมุทรปราการ : โรงเรียนสตรีสมุทรปราการ.

นรรัชต์ ฝันเชียร. (2561). [ออนไลน์]. เทคนิคการรับมือกับเด็กนักเรียนในห้องเรียน. [สืบค้นเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2562]. จาก https://www.trueplookpanya.com.