ความพึงพอใจของผู้สำเร็จการศึกษาที่มีต่อหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต กรณีศึกษา : แขนงวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ สาขาวิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

Main Article Content

พีรญา เชตุพงษ์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้สำเร็จการศึกษาที่มีต่อหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต กรณีศึกษา : แขนงวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ สาขาวิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้สำเร็จการศึกษาแขนงวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ สาขาวิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ประจำปีการศึกษา 2562 จำนวนทั้งสิ้น 29 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


         


ผลการวิจัย พบว่า  ผู้สำเร็จการศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง และเป้าหมายเมื่อสำเร็จการศึกษาต้องการทำงานที่มั่นคง ความพึงพอใจที่มีต่อหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต โดยรวมอยู่ในระดับมาก                      ผู้สำเร็จการศึกษาส่วนใหญ่ได้เสนอแนะเพื่อการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต แขนงวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ คือ ควรปรับปรุงรายวิชาในหลักสูตรให้สอดคล้องทันสมัยตามยุคเทคโนโลยีสารสนเทศเพิ่มขึ้น สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง รองลงมา คือ ตรวจสอบอุปกรณ์การเรียนการสอนให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ มีการเรียนการสอนเชิงกิจกรรมโดยลดเนื้อหาทางวิชาการ ตำราไม่เพียงพอต่อการหาข้อมูล ปรับปรุงสภาพแวดล้อมในห้องเรียน เพิ่มการเรียนโปรแกรมพื้นฐานที่ต้องเอาไปใช้งานจริงให้มากขึ้น นำโปรแกรมสำเร็จรูปมาใช้กับการปฏิบัติงานจริง ควรแจ้งข่าวสารให้นักศึกษาเข้าใจง่าย รวดเร็ว ไม่ยุ่งยากซับซ้อน ห้องเรียนควรมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่อการเรียนการสอนเพิ่มขึ้น เนื้อหาของหลักสูตรไม่ทันสมัยพอเมื่อเปรียบเทียบกับมหาวิทยาลัยอื่น  จัดหาวิทยากรที่มีประสบการณ์จริงมาถ่ายทอดองค์ความรู้เพิ่มขึ้น  สถานที่ทำกิจกรรมไม่เพียงพอต่อนักศึกษา และบางรายวิชาล้าสมัย ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] เกษมะณี การินทร์ และคณะ. การศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีต่อหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. งานวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. 2558.
[2] มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. (ออนไลน์) จาก www.rmutp.ac.th. (20 มีนาคม 2563)

[3] คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. (ออนไลน์) จาก www.bus.rmutp.ac.th.
(20 มีนาคม 2563)
[4] พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์. การศึกษาแนวโน้มเพื่อการวิจัยและพัฒนาการศึกษาสำหรับอนาคต. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. 2549.
[5] สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. ประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษาเรื่อง แนวทางการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ. 2552.
[6] บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สุวีริยาสาส์น. 2545.
[7] วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี. รายงานความพึงพอใจของนักศึกษาปีสุดท้ายที่มีต่อคุณภาพหลักสูตร
หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555) วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี. 2559.
[8] มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. การประเมินเพื่อพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. 2561.