การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของสมรรถนะดิจิทัลครูอาชีวศึกษาเพื่อรองรับนโยบายประเทศไทย 4.0

Main Article Content

ฉันทนา ปาปัดถา
สรญา เปรี้ยวประสิทธิ์
วิลัยวรรณ์ ตระกูลวงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของสมรรถนะดิจิทัลครูอาชีวศึกษาเพื่อรองรับนโยบายประเทศไทย 4.0 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างครูในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนวน 690 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะดิจิทัลครูอาชีวศึกษา ประกอบ 3 ระดับ ได้แก่ ระดับที่ 1 ทักษะพื้นฐาน ประกอบด้วย 3 ด้าน 17 สมรรถนะหลัก 69 สมรรถนะย่อย มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบระหว่าง .60-.94 ระดับที่ 2 ทักษะขั้นต้นสำหรับการทำงาน ประกอบด้วย 3 ด้าน 19 สมรรถนะหลัก 60 สมรรถนะย่อย มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบระหว่าง .53-.94 และระดับที่ 3 ทักษะประยุกต์สำหรับการทำงาน ประกอบด้วย 3 ด้าน 12 สมรรถนะหลัก 39 สมรรถนะย่อย มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบระหว่าง .88-.96 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2563). กรอบสมรรถนะดิจิทัลสำหรับพลเมืองไทย. กรอบสมรรถนะดิจิทัลสำหรบพลเมืองไทย. สืบค้นจาก https://web.parliament.go.th/assets/portals/1/files/digital_competence_framework_for_thai_citizens.pdf
[2] Europe Commission. (2014). The Digital Competence Framework 2.0. Available from https://ec.europa.eu/jrc/en/digcomp/digital-competence-framework
[3] กณิชชา ศิริศักดิ์. (2559). การวิจัยหลักสูตรวิชาชีพครูเพื่อพัฒนาแนวทางการส่งเสริมสมรรถนะดิจิทัล. วิทยานิพนธ์ตามหลักสูตรปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิยาการวิจัยการศึกษา ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[4] สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2560). เกี่ยวกับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. สืบค้นจาก https://www.vec.go.th/th-เกี่ยวกับสอศ.aspx
[5] มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ. (2561). รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report) โครงการศึกษาการพัฒนากำลังคนด้านดิจิทัล (Digital Manpower) เพื่อรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) และการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC). สืบค้นจาก https://tdri.or.th/wp-content/uploads/2018/09/
[6] รุจเรขา วิทยาวุฑฒิกุล. (2562). มาตรฐานด้านทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy). สืบค้นจาก https://km.li.mahidol.ac.th/digital-literacy/
[7] สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2562). จำนวนบุคลากรภาครัฐ ปีการศึกษา 2562. สืบค้นจาก http://techno.vec.go.th/บริการข้อมูล/ข้อมูลสถิติด้านการศึกษา/ข้อมูลบุคลากร.aspx
[8] Gorsuch, R. L. (1983). Factor analysis. 2nd ed. Hilldale, N.J. : Lawrence Erlbaum Associates.
[9] Kim, K. K., et al. (1991). “Development and evaluation of the osteoporosis health belief scale.” Research in Nursing and Health. 14 : 155-163.
[10] Hair, J. F. (1995). Multivariate data analysis with readings. 4th ed. New Jersey : Hall.
[11] Tashakkori, A. & Teddlie C. (2003). Handbook of mixed methods in social and behavioral research. Thousand Oaks, CA : Sage.
[12] Hair, J. F. et al. (2010). [online]. Multivariate Data Analysis: A Global Perspective. [cited 15 July, 2020]. Available from http://staffweb.hkbu.edu.hk/ vwschow/lectures/ism3620/rule.pdf
[13] กัลยา วานิชย์บัญชา. (2557). การวิเคราะห์สมการโครงสร้าง (SME) ด้วย AMOS. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : 3 Lada Limited Partnership.
[14] Cronbach, L. J. (1974). Essentials of Psychological Testing. 3rd ed. New York : Harper & Row Publisher.
[15] บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2550) ระเบียบวิธีวิจัย: แนวทางปฏิบัติสู่ความสำเร็จ. กรุงเทพมหานคร : ยูแอด์ไอ อินเตอร์ มีเดีย.
[16] สำนักรับรองมาตรฐานคุณวุฒิ (องค์การมหาชน). (2562). คู่มือแนะนำมาตรฐานความสามารถด้านการใช้ดิจิทัล (Digital Literacy). สืบค้นจาก http://newweb.mnre.go.th/hrdi/th/news/detail/34660
[17] สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2563). IC3 Digital Literacy Certification. สืบค้นจาก https://www.ocsc.go.th/DLProject/ic3
[18] สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2563). Digital Literacy คืออะไร. สืบค้นจาก https://www.ocsc.go.th/DLProject/mean-dlp
[19] ยุทธ ไกยวรรณ์. (2556). การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างด้วย AMOS. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[20] Jöreskog, K. G. (1967). “Some contributions to maximum likelihood factor analysis.” Psychometrika. 32, 443–482.
[21] อุทุมพร (ทองอุไทย) จามรมาน. (2532). วิธีวิเคราะห์ตัวประกอบ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[22] สุชาติ ปริสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2551). เทคนิคการวิเคราะห์ตัวแปรหลายตัวสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัด สามลดา.